20 พ.ย. 2021 เวลา 07:38 • ธุรกิจ
จาก TA มาสู่ True ก่อนควบรวม Dtac
เตรียมขึ้นเบอร์ 1 ธุรกิจมือถือของกลุ่ม CP
กับกลยุทธ์ 'รุก' เมื่อคนอื่น 'ถอย'
3
ผมได้มีโอกาสสัมภาษณ์ 'ศุภชัย เจียรวนนท์' เมื่อเดือน ก.ย.2564 ผ่านระบบ True V Room ส่วนใหญ่คุยกันในประเด็นการพัฒนาที่ยั่งยืนที่กลุ่ม CP กำลังผลักดัน และมีคำถามปิดท้ายที่มีโต๊ะไอทีของกรุงเทพธุรกิจฝากมา คือ "มีข่าวว่า True จะซื้อ Dtac เป็นความจริงไหม"
3
วันนั้น 'ศุภชัย' ไม่ตอบรับหรือไม่ปฏิเสธกับคำถามนี้ และตอบเพียงสั้นๆว่า "คำถามนี้มีมาทุกปี"
4
คำตอบมาเฉลยช่วงบ่ายวันศุกร์ที่ 19 พ.ย.2564 ตามที่กรุงเทพธุรกิจรายงานว่า 'เทเลนอร์ กรุ๊ป' บริษัทแม่ของ Dtac ชี้แจงตลาดหลักทรัพย์ กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ กรณีที่ True และ Dtac จะดำเนินกิจการร่วมกันในรูปแบบ "พันธมิตรทางธุรกิจที่เท่าเทียมกัน" หรือ Equal Partnerships และจะแถลงความชัดเจนวันจันทร์ที่ 22 พ.ย.2564
3
True ที่กำลังเจรจาควบรวมกิจการกับ Dtac เพื่อขึ้นมาเป็นเบอร์ 1 ในด้านจำนวนลูกค้าในธุรกิจโทรศัพท์มือถือ
ในขณะที่สำนักข่าวรอยเตอร์รายงาน เทเลนอร์ กำลังหารือกับ CP ควบรวมกิจการโทรคมนาคมในไทยมูลค่า 7,500 ล้านดอลลาร์
หากดีลนี้ได้ข้อสรุปจะเป็นการฉลองครบรอบ 31 ปี ให้กับกลุ่ม True หรือเดิมชื่อ บริษัท ซี.พี.เทเลคอมมิวนิเคชั่น จำกัด ที่ก่อตั้งในปี 2533 ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทเทเลคอมเอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ที่รู้จักในชื่อ TA
1
TA ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อรุกเข้าสู่ธุรกิจโทรคมนาคมของกลุ่ม CP ท่ามกลางข้อกังขาของการเป็นเจ้าธุรกิจอาหารแล้วก้าวสู่ธุรกิจโทรศัพท์ แต่ถ้าย้อนดูแนวคิดของ 'ธนินท์ เจียรวนนท์' จะเห็นว่าเป็นผู้ที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี โดยในช่วงที่เริ่มต้นเลี้ยงไก่เมื่อ 50-60 ปี ที่ผ่านมา ได้นำเทคโนโลยีฟาร์มจากสหรัฐมาใช้จนประสบความสำเร็จ
5
จึงไม่น่าแปลกใจที่เมื่อ CP ส่ง TA เข้าประมูลโทรศัพท์พื้นฐานในกรุงเทพฯ และปริมณฑลจนได้สัมปทานรวม 2.6 ล้านเลขหมาย จากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) ในปี 2534 ในยุคที่นายนุกูล ประจวบเหมาะ เป็น รมว.คมนาคม ซึ่งสมัยนั้น ทศท.ขึ้นกับกระทรวงคมนาคม
2
จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของ TA อยู่ที่การร่วมลงทุนกับ Orange จากอังกฤษเพื่อเข้าสู่ธุรกิจโทรศัพท์มือถือ โดยตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาชื่อ "บริษัททีเอ ออเรนจ์ จำกัด" ขึ้นมาดำเนินการ และได้รับสัมปทานโทรศัพท์มือถือระบบ GSM 1800 ถึงปี 2556 และภายหลังได้รับก่อสัมปทานในขณะที่มีลูกค้าประมาณ 20 ล้านเลขหมาย
3
ปี 2545 จึงเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามค่ายมือถือที่มีผู้เข้ามาอยู่ในตลาดมากขึ้น
ระหว่าง AIS , Dtac และ TA Orange ที่ผู้บริโภคได้ประโยชน์จากค่าบริการที่ถูกลงจากเดิมที่มีการคิดค่าบริการหรือที่เรียกว่าค่ารับสายเดือนละ 500 บาท ไม่รวมกับค่าโทร ที่คิดตามระยะทางใกล้-ไกลเหมือนโทรศัพท์บ้าน
5
TA Orange เจอปัญหาเรื่องสัญญาณโทรศัพท์ทำให้เสียเปรียบคู่แข่งและนำมาสู่ภาวะขาดทุนจากทำให้ Orange ถอนตัวขายหุ้นคืนให้กับ TA ที่เปลี่ยนชื่อมาเป็น True
1
ต่อมาเดือน ก.พ.2549 ได้มีการรีแบรนด์ TA Orange เป็น True Move หลังจากที่ร่วมทำการตลาดกับ Orange มาได้เพียง 4 ปี แน่นอนว่าสิ่งสำคัญที่ TA หรือ True ได้จาก Orange คือประสบการณ์ที่ทำให้ได้เข้าสู่ธุรกิจโทรคมนาคมครบวงจรทั้งโทรศัพท์บ้าน โทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เน็ต
2
'ศุภชัย' ที่กุมบังเหียน True ในขณะนั้นเชื่อมั่นว่า จะมีความพร้อมทั้งทุนและเทคโนโลยีในการเปลี่ยนผ่านจาก 2G เข้าสู่ 3G พร้อมกับการทำการตลาดในต่างจังหวัดมากขึ้นจากเดิมที่แบรนด์ TA Orange รู้จักกันในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เป็นส่วนใหญ่
3
กรุงเทพธุรกิจรายงานว่า ปัจจุบัน True มีลูกค้าโทรศัพท์เคลื่อนที่ 31.7 ล้านราย Dtac มีลูกค้า 19.3 ล้านราย หาก True และ Dtac รวมกันจะอยู่ที่ 51 ล้านราย แซงหน้า AIS ที่อยู่อันดับ 1 มีลูกค้า 43.7 ล้านราย
4
กลยุทธ์สำคัญของกลุ่ม CP คือ "การรุกเมื่อคนอื่นถอย" หากมองในประเด็นนี้เห็นได้จากการที่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการถือหุ้นใน "อินทัช" ที่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน AIS
2
จากเดิมที่ Singtel คือผู้ถือหุ้นใหญ่ใน "อินทัช" ได้เปลี่ยนมาเป็น "กัลฟ์" ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ของประเทศไทย เข้ามาถือหุ้นใหญ่ในสัดส่วน 42% แซงหน้ากลุ่ม Singtel
"อินทัช" คือผู้ถือหุ้นใหญ่ใน AIS ในสัดส่วน 40% ทำให้ "กัลฟ์" เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นทางอ้อมใน AIS
1
ถึงแม้ Singtel จะออกมายืนยันก่อนหน้านี้ว่ามีนโยบายถือหุ้นระยะยาวใน "อินทัช" แต่การถอยร่นให้กับกลุ่ม "กัลฟ์" ย่อมเป็นสัญญาณสำคัญถึงการเปลี่ยนแปลงตัวผู้เล่นในธุรกิจโทรคมนาคมหลังจากนี้
4
ในปี 2565 ที่สถานการณ์โควิด-19 มีแนวโน้มคลี่คลายมากขึ้น น่าจะเป็นสมรภูมิสำคัญของธุรกิจโทรคมนาคมที่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญทั้งฝั่ง True - Dtac และฝั่ง AIS
1
....
ทินกร เชาวน์ชื่น
20 พ.ย.2564
2
โฆษณา