21 พ.ย. 2021 เวลา 11:33 • สุขภาพ
ภาษีเป็นเรื่องใกล้ตัว..แต่โควิดใกล้ตัวยิ่งกว่า >//<
แน่นอนว่ากฎหมายภาษีย่อมออกมารองรับตามสถานการณ์
ทั้งในส่วนของนิติบุคคล และบุคคลธรรมดา
วันนี้เราจึงอยากสรุปให้เข้าใจง่ายๆ ว่าค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันหรือรักษา Covid-19 ที่บริษัทจ่ายให้พนักงานนั้น ทางภาษี ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทได้หรือไม่ แล้วถือเป็นรายได้ของพนักงานเองหรือเปล่า
หลายคนที่อาจจะไม่ได้อยู่ในวงการบัญชี หรือภาษีอาจจะสงสัยว่าบริษัทจ่ายค่าใช้จ่ายให้เราซึ่งเป็นพนักงานแล้ว เกี่ยวกับรายได้ของเราตรงไหน ทางภาษีบางกรณีก็จะมองว่าเราได้ประโยชน์เพิ่มประมาณนั้น เรามาดูภาษีที่เกี่ยวข้องกับโควิดกันดีกว่า
1. บริษัทซื้อ ATK มาตรวจให้พนักงาน มีหลักฐานการจ่ายถูกต้อง เป็นรายจ่ายของบริษัทได้ แถม พระราชกฤษฏีกา ฉบับที่ 733 ระบุให้ ATK ที่ซื้อระหว่าง 14/9/2564 - 31/3/2565 สามารถนำมาเป็นรายจ่ายเพิ่มได้อีก 50%
  • ความหมายคือ ถ้าเราซื้อ ATK มา 100 บาท สามารถนำมาหักเพิ่มได้อีก 50 บาท (เป็น 150 บาท) ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้ แต่อย่าลืมนะว่า ATK ที่ซื้อมานั้นต้องนำมาตรวจให้พนักงานนะคะ ถ้านำมาขายไม่ได้สิทธินี้น้า
  • แล้วทำไมถึงไม่ถือเป็นเงินได้หรือรายได้ของพนักงานล่ะ เพราะการตรวจนั้นส่งผลประโยชน์กับบริษัท ให้พนักงานสามารถมาทำงานให้บริษัทได้ (แม้พนักงานจะได้ประโยชน์จากการรู้ผลตรวจโควิดด้วยก็ตาม)
2. ค่ารักษาพยาบาลที่บริษัทออกให้พนักงาน กรณีพนักงานติดเชื้อ Covid-19 ถือเป็นรายจ่ายของบริษัทได้ และถือเป็นเงินได้ของพนักงาน แต่ค่ารักษาพยาบาลที่นายจ้างออกให้พนักงานได้รับยกเว้น ดังนั้นจึงไม่ถือเป็นเงินได้ของพนักงานนะ
3. วัคซีนที่บริษัทจัดหาให้พนักงานเป็นรายจ่ายได้ตามปกติ แต่ก็ถือเป็นเงินได้ของพนักงาน ไม่ได้รับยกเว้นนะ เพราะการฉีดวัคซีนถือเป็น การป้องกันไม่ใช่การรักษา เช่นเดียวกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ก็เช่นกัน
4. บริษัททำประกันให้พนักงานถือเป็นรายจ่ายบริษัทได้ และไม่ถือเป็นเงินได้ของพนักงาน หากมีการทำระเบียบไว้ชัดเจนไม่เลือกปฏิบัติ ทำให้พนักงานทุกคนในจำนวนเงินที่เหมาะสมตามสมควร
ภาษีอากรเกี่ยวกับ Covid-19
สรุปสั้นๆ เข้าใจง่ายตามภาพเลยจ้า แล้วพบกันใหม่กับอะไรดี ๆ ที่อยากมาแบ่งปัน หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคนนะคะ
โฆษณา