21 พ.ย. 2021 เวลา 15:23
📚จิตวิทยา
1
อย่าเป็นคนเก่งที่คุยไม่เป็น
超一流の雑談力
อย่าเป็นคนเก่งที่คุยไม่เป็น
“ คนที่สามารถทำให้คนอื่นคิดว่า “คนคนนี้น่าจะไว้วางใจได้” จะไม่มีวันถูกทอดทิ้งครับ “
10
🍀🍀🍀
1
“ การคุยเล่นเปรียบเสมือนประตูสู่ความสัมพันธ์ต่าง ๆ มันเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้อีกฝ่ายยอมรับในตัวเรา และได้สานสัมพันธ์ให้แนบแน่นขึ้น อีกทั้งเป็นด่านสำคัญที่กำหนดทิศทางของความสัมพันธ์กับคนอื่น “
3
“ คุณต้องตั้งใจสื่อสารเพื่อกระชับความสัมพันธ์ให้ลึกซึ้งและแข็งแกร่ง ไม่ใช่ความสัมพันธ์ที่ตื้นเขินและเบาบาง หากคุณสามารถสื่อสารแบบนั้นได้ ชีวิตก็จะสมบูรณ์มั่งคั่งอย่างแน่นอน “
1
“ ถ้าเราสื่อสารโดยที่สามารถทำให้อีกฝ่ายคิดว่า เราเข้าใจความรู้สึกของเขาและเข้าใจเรื่องที่เขาพูด อีกทั้งทำให้เขาไว้วางใจในตัวเราได้ ความสัมพันธ์ก็จะแน่นแฟ้นขึ้น “
3
“ ในชีวิตของคนเรามักจะประสบกับเรื่องร้ายอยู่เรื่อย ๆ ในเวลาแบบนั้นคุณจะเชื่อว่า “ต้องมีเรื่องดี ๆ รออยู่แน่” แล้วก้าวไปข้างหน้า หรือจะถอดใจกับความทุกข์ที่อยู่ตรงหน้า ความคิดของคุณจะเป็นตัวติดสินชะตาชีวิตของคุณเองครับ “
2
เป็นหนังสือจิตวิทยาในด้านการสื่อสาร เริ่มจากการคุยเล่น จะทำให้เราเป็นคนที่คุยเก่งได้อย่างไร
ในหนังสือเล่มนี้ มีรายละเอียดที่เกี่ยวกับการพูดที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย ตามชื่อของหนังสือ ที่ไม่ว่าจะเราประกอบอาชีพอะไร เมื่อถึงจุดหนึ่งนั้นจะ “บางสิ่ง” ที่แซงความรู้ความสามารถที่เต็มเปี่ยม หากขาดไป ก็จะประสบความสำเร็จแบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ นั่นก็คือ “ทักษะการคุยเล่น” นั่นเอง
แต่ละส่วนประกอบไปด้วยบทนำ, 8 บทหลัก และบทส่งท้าย ในแต่ละบทก็ประกอบไปด้วยบทย่อยอีกหลายบท โดยจะสรุป(เรียกว่าสรุปไหมนะ555)สิ่งที่คิดว่าน่าสนใจจากการอ่านมาย่อยให้อ่านกัน เริ่มที่...
• ในส่วนของบทนำ เริ่มต้นด้วยการเปลี่ยนการคุยเล่นแบบไร้สาระให้กลายเป็นการคุยเล่นแบบคนชั้นแนวหน้าได้อย่างไร
ยกตัวอย่างคนดัง บิล เกตส์ ผู้คนจะติดภาพจำว่าเป็นคนที่พูดอย่างมีความมั่นใจ ทั้ง ๆ ที่ความจริงเขาเป็นคนค่อนข้างเก็บตัว แต่ด้วยการขัดเกลาตัวเองในการพูดเลยสามารถพูดได้อย่างฉะฉาน นั่นก็เป็นผลลัพธ์มากจากการที่พวกเขาคิดว่าจะต้อง “เปลี่ยนแปลงตัวเอง” ซึ่งก็คือการเริ่มลงมือจากตัวเอง คิดว่าอะไรจะต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อไปสู่ระดับที่ใหญ่ขึ้น
1
• บทที่ 1 วิธีเริ่มต้น “คุยเล่นแบบคนชั้นแนวหน้า”
- นำเสนอตัวเองให้คู่สนทนารู้สึกชื่นชอบและไว้วางใจในตัวเรา เพราะอีกฝ่ายจะตัดสินเราตั้งแต่นาทีแรกที่เริ่มสนทนา ซึ่งไม่เกิน 4 นาที
- เล่าเรื่องเกี่ยวกับตัวเราให้พูดสรุปแบบสั้น ๆ ภายใน 30 วินาทีถึง 1 นาที การนำเสนอตัวเองคือทำให้อีกฝ่ายรู้จักเราและคลายความระแวง
- ใช้คำเลียนเสียง เช่น “ฝนตกหนัก” เป็น “ฝนตกโครมลงมา” จะทำให้มีเสน่ห์มากขึ้น
- คนพูดไม่เก่งมักจะพูดเยิ่นเย้อ ต้องกำหนดเป้าหมายในการพูด การถามก็เช่นกัน ถ้าถามแบบไม่มีเป้าหมาย จึงรับมือกับคำตอบของอีกฝ่ายได้ไม่ดี
- พูดในระดับเสียง “ฟา” และ “ซอล” ผู้เขียนเล่าถ้าว่าพูดในระดับนี้จะทำให้ดูเป็นคนชอบเข้าสังคม ดูไม่กดดันและไม่หม่นหมอง
4
• บทที่ 2 ต้องใช้หัวข้อสนทนาแบบไหน การคุยเล่นจึงจะสนุกสนาน
- เริ่มการคุยด้วยการเลือกใช้หัวข้อสนทนาเบา ๆ ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อผู้อื่น และไม่ได้เจาะจงใครเป็นพิเศษ ส่วนหัวข้อต้องห้าม อย่าง การเมือง ศาสนา หัวข้อที่ sensitive เหล่านี้อาจนำไปสู่การถกเถียงได้เมื่อคุยไปเรื่อย ๆ และจะไม่เป็นการคุยเล่น
- หัวข้อสนทนาที่ “น่าสนใจ (Interesting)” ไม่จำเป็นต้องฝืนเล่าเรื่องตลก (Funny) แค่พูดเรื่องที่อีกฝ่ายมีปฏิกิริยาตอบกลับในทำนองว่า “เอ๊ะ จริงเหรอ” “อยากรู้ให้มากกว่านี้”
- เรื่องเหล่านี้จะติดตรึงในความทรงจำมากว่าเรื่องตลกขบขัน
- สิ่งที่ช่วยให้พูดจับใจคนได้ ไม่ใช่ “ความรู้เบ็ดเตล็ด” แต่เป็น “ความรู้ที่นำไปใช้งานได้”
- หาข้อมูลจากหนังสือพิมพ์บ้าง ไม่ใช่จากแค่ข่าวในอินเทอร์เน็ต
1
• บทที่ 3 วิธีฟังที่ทำให้คู่สนทนาเปิดใจให้โดยไม่รู้ตัว
- การพูดว่า “อย่างนี้นี่เอง” “นั่นสินะ” เป็นการแสดงออกว่า “ไม่ได้ฟังคำพูดของอีกฝ่าย”
- กำหนดปริมาณการพูดของตัวเองและคู่สนทนาให้อยู่ที่ 2:8 เพราะ “การฟัง” มีความสำคัญมากกว่าการพูด
- มองคู่สนทนาอย่างอ่อนโยนและพูดตอบรับเป็นช่วง ๆ เราต้องพิจารณาว่าใครพูดเร็ว พูดช้า จะได้พยักหน้าตามอย่างถี่ ๆ หรือนาน ๆ ทีพยักหน้าครั้ง สิ่งที่ห้ามทำคือการพยักหน้าในขณะที่ผู้พูดกำลังพูด มองตาผู้พูดไปด้วย แต่ถ้าไม่กล้ามองตาตรง ๆ ให้มองที่หว่างคิ้วหรือระดับเนคไท
- “คุณทำอะไรเป็นพิเศษบ้างหรือเปล่า” เป็นการถามที่ทำให้อีกฝ่ายอยากคุยด้วย หรือจะเป็นคำถามที่สามารถพูดถึงภูมิหลังหรือความทรงจำบางอย่างของอีกฝ่าย
- “ทำไมล่ะ” ถือเป็นคำถามสิ้นคิด และการแกล้งทำเป็นเข้าใจหรือทำเป็นรู้ จะถูกมองว่าไม่จริงใจ
- จดโน้ตข้อมูลบางอย่างเพื่อใช้ในการสนทนาครั้งต่อ ๆ ไป
1
• บทที่ 4 วิธีที่ช่วยให้สามารถลดระยะห่างได้ทันทีที่เจอกัน
- ในระหว่างสนทนา วิธีพูด อากัปกิริยาจะส่งผลต่อภาพลักษณ์เรา เพราะคนเราจะถูกประเมินหรือเราประเมินเขาตั้งแต่ครั้งแรกที่เจอ first impression นั้นสำคัญ
- แสดงสีหน้าที่เป็นมิตรเสมอ ไม่แผ่รังสีที่คนจะไม่ชอบเรา
- เล่าเกินจริง ดึงดูดความสนใจของผู้ฟัง
- อย่าขัดแย้งกับคนอื่นโดยพูดว่าไม่เห็นด้วย ควรตอบว่า “ไม่ทันให้คิดให้รอบคอบ” “ศึกษามาไม่ละเอียด”
- การพูดว่า “ขอเป็นแฟนคลับได้ไหม” เพื่อความประทับใจในตอนท้ายเหมือนสร้างความประทับใจในตอนแรก เป็นการสะท้อนความรู้สึกดี ๆ เพราะมนุษย์มี “กฎการตอบแทน”
1
• บทที่ 5 วิธีคุยเล่นในการเจอกันครั้งถัดไปที่ช่วยให้ความสัมพันธ์ดียิ่งขึ้น
- บอกเล่าฟีดแบคจากคำแนะนำที่ได้รับว่า นำไปทำอะไรต่อ หรือรู้สึกอย่างไร เมื่อมาเจอกันครั้งถัดไป
- มอบของฝากเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่แพงจนเกินไป ถ้ามากไปอาจถูกมองว่าเป็นสินบนที่พ่วงมาด้วยสถานะ
- พูดถึงอีกฝ่ายที่ไม่อยู่ด้วยความสุภาพ จะถูกมองว่าฉลาดและช่ำชอง
- โทร.หาอีกฝ่าย ด้วยความรู้สึกคิดถึง
1
• บทที่ 6 เปลี่ยนหัวข้อสนทนาและวิธีพูดตามหัวข้อสนทนา
- พึงระลึกว่าบางคนก็ไม่ควรคุยเล่นด้วย เพราะการสื่อสารไม่มีรูปแบบตายตัว จึงต้องปรับวิธีเข้าหาคู่สนทนาให้เข้ากับเวลาและสถานการณ์
- มีคน 4 ประเภท คือ
- คนประเภทเจ้านาย วิธีโต้ตอบ ต้องเอ่ยชมคนเหล่านี้ที่มีความภูมิใจในตัวเองสูง แทนที่จะพูดเล่นเพื่อลดระยะห่าง ควรพูดถึงเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่ออีกฝ่าย
- คนที่อ่อนโยนคุยด้วยง่ายอันตรายกว่าที่คิด! ด้วยความที่ตัดสินใจไม่เก่งไม่พูดเข้าประเด็นง่าย ๆ วิธีโต้ตอบ คือต้องพูดโดยสร้างบรรยากาศเป็นกันเองไม่กดดัน
- คนชอบเข้าสังคมชอบเรื่องสนุก ด้วยความที่เป็นคนสดใสร่าเริง ชอบคุยเล่นมาก วิธีโต้ตอบ จึงต้องตั้งใจแสดงปฏิกิริยาตอบรับด้วยอารมณ์แง่บวก
- คนเรียบร้อย มักพูดแบบเนิบ ๆ วิธีโต้ตอบ ให้ตัดสินใจด้วยวิธีการของเขาเอง ต้องปรับตัวให้เข้ากับเขา
2
• บทที่ 7 วิธีพูดเข้าประเด็นสำคัญต่อจากการคุยเล่น
- หลักสำคัญในการพูดเข้าประเด็นสำคัญคือต้องพูดในขณะที่ยังอยู่ในบรรยากาศการคุยเล่นและรักษาบรรยากาศดี ๆ ด้วย ไม่พูด “ว่าแต่วันนี้” “จะว่าไปวันนี้” บทสนทนาจะขาดความต่อเนื่อง ให้พูด ต้องพูดอย่างเป็นธรรมชาติ เช่น “จากที่คุยกันเมื่อกี้ทำให้ผมนึกเรื่องหนึ่งขึ้นมาได้…” “เท่าที่ฟังคุณพูดมา ผมคิดว่าพอจะช่วยคุณได้นะครับ…” “จริง ๆ แล้วผมคิดแบบเดียวกันครับ…”
- เชื่อมโยงสิ่งนั้นกับที่อีกฝ่ายพูด โดยพยายามนึกถึงคำสำคัญที่อีกฝ่ายได้พูดไป
- บอกประเด็นสำคัญที่จะพูดว่ามีกี่ข้อ คนฟังจะได้ตามทัน ที่สำคัญคือจะเข้าใจภาพรวมเนื้อหาและไม่พูดนอกเรื่อง
- พูดด้วยสีหน้าอ่อนโยนและเลี่ยงความเงียบ แสดงสีหน้าที่ทำให้อีกฝ่ายรู้วางใจ
1
• บทที่ 8 เริ่มฝึกคุยเล่นตั้งแต่วันนี้ โดยผู้เขียนแบ่งเป็นระดับตั้งแต่ง่ายสุดไปยากสุด ลองฝึกดูนะคะ
1
- Level 1 เวลาอยู่ในลิฟต์ให้ถามว่า “จะไปชั้นไหน” แล้วกดปุ่มลิฟต์ให้เขาครับ
- Level 2 พูดคุยสั้น ๆ กับพนักงานร้านตอนจ่ายเงิน โดยเอ่ยคำพูดสั้น ๆ ให้พนักงานร้านรู้สึกดีใจ
- Level 3 เรียกพนักงานในร้านเหล้าที่มีคนแน่นร้านอย่างชาญฉลาด
- Level 4 เข้าร่วมงานเลี้ยงสังสรรค์ที่ไม่มีคนรู้จัก
- Level 5 คุยเล่นเล็ก ๆ น้อย ๆ กับเพื่อนร่วมงานที่เราไม่ชอบหน้าหรือรู้สึกว่ารับมือยาก
- Level 6 เล่าเรื่องที่ตัวเองเรียนรู้มาให้เพื่อนร่วมงานฟัง และคิดบทสุนทรพจน์ที่โดนใจเพื่อนร่วมงาน
- Level 7 ฝึก “ทายปริศนา”
- Level 8 กล่าวคำพูดที่น่าสนใจตอนชนแก้วในงานที่เป็นทางการ
• บทส่งท้าย การคุยเล่นเปลี่ยนแปลงการทำงานและความสัมพันธ์กับผู้คน
ขอสรุปแบบกระชับ ๆ คือ การคุยเล่นตามที่ผู้เขียนบอกคือเป็นจุดที่เชื่อมผู้คนกับผู้คนเข้าด้วยกัน ก่อให้เกิดความรู้สึกร่วมที่จะกลายไปเป็นความสัมพันธ์ที่ไว้วางใจกันในภายหลัง และถ้ายิ่งเราสามารถพูดคุยสื่อสารโดยที่เข้าใจเขาทั้งเรื่องที่พูดและความรู้สึก ความสัมพันธ์ก็ยิ่งจะแน่นแฟ้นขึ้น ถึงคนเราจะมีฐานะทางสังคมที่แตกต่างกันแค่ไหน และสุดท้ายคือ ถ้าตั้งใจสื่อสารเพื่อกระชับความสัมพันธ์ให้ลึกซึ้งและแข็งแกร่ง ไม่ใช่ความสัมพันธ์ที่ตื้นเขินและเบาบาง เป็นแบบนี้ได้ชีวิตก็จะสมบูรณ์มั่งคั่งแน่นอน
1
ผู้เขียน : ยาซุดะ ทาดาชิ
ผู้แปล : ช่อลดา เจียมวิจักษณ์
สำนักพิมพ์ : วีเลิร์น (WE LEARN)
โฆษณา