25 พ.ย. 2021 เวลา 05:05 • ธุรกิจ
ทำไมคุณถึงจะถูกตำหนิว่าไม่ซื่อสัตย์ต่อบริษัท เพียงเพราะคุณไม่กล้าที่จะให้ Feedback แก่เพื่อนร่วมงานและเจ้านายของคุณ ??
1
▪︎แน่นอนว่าหากเป็นที่อื่นเราอาจจะกล้าที่จะโต้แย้งหรือให้ Feedback แก่เพื่อนร่วมงาน แต่ถ้าเป็นหัวหน้างานหรือเป็น CEO เราคงจะนิ่งเงียบและไม่กล้าที่จะเถียงอะไรแน่ๆ
▪︎แต่หนึ่งในวัฒนธรรมองค์กรของ Netflix ที่ไม่เหมือนที่ไหนเลยคือ พนักงานทุกคนจะสามารถให้ Feedback แก่กันได้หากว่าคุณรู้สึกว่าไม่เห็นด้วยกับงานหรือวาระในที่ประชุมของคนคนนั้น ไม่ว่าคนคนนั้นจะเป็นคนในตำแหน่งที่ต่ำกว่า เป็นเพื่อนร่วมงาน หรือกระทั้ง CEO ของบริษัท
2
▪︎แต่หากคุณเลือกที่จะเงียบและปล่อยผ่านไปทั้งๆที่คุณมองว่าเรื่องนั้นดูไม่ปกติ คุณจะถูกตำหนิว่าไม่ซื่อสัตย์ต่อบริษัททันที
1
■ โดยการให้ Feedback นั้นจะต้องเป็นไปในหลัก 4A ก็คือ
1
  • Aim To Assist มุ่งช่วยเหลือ : ต้องให้ Feedback ด้วยเจตนาดี อธิบายให้ชัดว่าควรปรับตรงไหนถึงจะเป็นผลดีต่อคนคนนั้นหรือบริษัท
2
  • Actionable ปฎิบัติได้จริง : Feedback ที่ให้ไปต้องเน้นให้ผู้รับสามารถนำไปปฎิบัติและปรับปรุงให้ดีกว่าเดิมได้ เพราะ Fleedback แบบผิดๆอาจจะจบได้แค่คำวิจารณ์
3
  • Apprecitate สำนึกขอบคุณ : คนที่โดน Feedback ก็จะต้องเปิดใจพิจารณาเนื้้อหาโดยไม่ด่วนโมโหไปซะก่อน
2
  • Accept or discard เก็บไว้หรือทิ้งไป : ถ้าทำงานที่ Netflix เป็นเรื่องปกติที่คุณจะได้รับ Feedback ที่มากมาย แน่นอนว่าก็อยู่ที่ตัวคุณเองว่าจะเก็บเนื้อหานั้นมาคิดหรือบางทีก็เลือกที่จะปล่อยมันไป
2
■ คุณ รีด เฮสติงส์ ผู้ร่วมก่อตั้งและ CEO ของ Netflix ได้บอกเหตุผลว่าทำไมถึงต้องการให้พนักงานทุกคนให้ Fleedback แก่กันได้อย่างตรงไปตรงมา
1
▪︎เหตุผลหลักๆเลยคือ การวิจารณ์กันต่อหน้าจะช่วยให้คนมีความสามารถมากขึ้น เพราะคนเราเมื่อได้รับคำวิจารณ์หากพวกเขาอยากพัฒนาตัวเอง พวกเขาจะนำคำวิจารณ์เหล่านั้นไปปรับปรุงตัวเอง
2
▪︎บรรยากาศการวิจารณ์กันต่อหน้าจะทำให้เจ้านายไม่ใช่ตัวหลักที่คอยแก้ปัญหาอีกต่อไป เพราะทุกคนสามารถบอกกล่าวกันตรงๆได้
1
▪︎และคุณรีด ยังบอกอีกว่าแม้เขาจะนั่งเป็น CEO แต่เขาก็เป็นหนึ่งในคนที่ได้รับคำวิจารณ์มากที่สุดในบริษัทเช่นกัน
2
ขอบคุณข้อมูลจาก
หนังสือ : NETFLIX กฎที่นี่คือไม่มีกฎ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา