23 พ.ย. 2021 เวลา 08:31 • ธุรกิจ
เข้าสู่ยุคของการ “ควบรวมกิจการ”
โตเดี่ยวมันยาก ธุรกิจอิ่มตัว สู้ร่วมกันทำได้กำไรเพิ่ม
ลดจำนวนคู่แข่ง เพิ่มอำนาจต่อรอง แชร์ตลาดร่วมกัน
ในโลกธุรกิจที่กำลังดำเนินกิจการไปท่ามกลางการแข่งขันในทุกๆ ด้าน ผู้ที่ตัวใหญ่กว่า แข็งแรงกว่า ทุนหนากว่า และตลาดกว้างกว่า มักเป็นผู้ชนะในสมรภูมิการค้าที่ไม่มีข้ออ้างว่าใครรังแกใคร เพราะทุกฝ่ายต่างต้องแย่งชิงการเป็นที่หนึ่งในตลาดนั้นๆ เพื่อความได้เปรียบ
ช่วงระยะเวลา 5 - 10 ปีมานี้มีข่าวคราวการ “ควบรวมกิจการ” ของบริษัทยักษ์ใหญ่มากมายทั่วโลก จนกลายเป็นเทรนด์ของโลกธุรกิจที่คงจะมองเห็นทิศทางได้คร่าวๆ แล้วว่า การเดินดุ่มๆ ลุยไปเพียงผู้เดียวอาจจะไม่ราบรื่น หรือไม่สามารถแข่งขันต่อได้ เมื่อแข่งขันด้วยตัวเองทำได้ลำบาก สิ่งที่บริษัทต่างๆ เลือกที่จะทำคือ การไปแต่งงานเกี่ยวดองเป็นทองแผ่นเดียวกันกับบริษัทไหนอีกสักแห่ง เพื่อลงสนามในฐานะทีมผสม ช่วยกันต่อสู้ช่วงชิงความได้เปรียบกับคู่แข่งในตลาดที่เหลืออยู่
2
🔵 ทำไมหลายบริษัทถึงควบรวบกิจการ
"การควบรวมและเข้าซื้อกิจการ" หรือ "Mergers and acquisitions (M&As)" เป็นการรวมบริษัทหรือสินทรัพย์เข้าด้วยกัน โดยมุ่งไปที่การกระตุ้นการเติบโต การได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน เพิ่มส่วนแบ่งการตลาด หรือมีอิทธิพลต่อห่วงโซ่อุปทาน
ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ไม่ว่าจะเป็นบริษัทมหาชนขนาดใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ ที่จู่ๆ วันดีคืนดีเคยแข่งกันแทบเป็นแทบตาย สุดท้ายกลับมาควบรวมกิจการกันเสียดื้อๆ หรือบริษัทขนาดใหญ่กับขนาดกลาง บริษัทขนาดเล็กกับขนาดเล็กด้วยกัน และบริษัทขนาดเล็กกับขนาดใหญ่ ต่างก็สามารถควบรวมกิจการได้ทั้งสิ้น
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การควบกิจการ “ไม่เท่ากับ” "การซื้อกิจการ" เพราะการซื้อกิจการคือ การที่บริษัทหนึ่งเข้าซื้อบริษัทหนึ่งแบบ 100% หรือที่เราเรียกกันติดปากว่าการ 'Take Over' ซึ่งผู้ซื้อจะดำรงการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุด และมีสัดส่วนการถือครองในกิจการนั้นๆ เกือบทั้งหมด โดยที่ผู้ที่เข้าไป Take Over สามารถลบภาพของธุรกิจเดิมที่ซื้อมาให้กลายเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของหน่วยธุรกิจก็ได้ หรือจะคงรักษาชื่อเดิมเอาไว้ก็ได้ แต่อำนาจการบริหารและการตัดสินใจเป็นของผู้ซื้อกิจการ เหมือนที่ Facebook ซื้อ Instagram หรือ WhatsApp มาเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยธุรกิจ
แต่การควบรวมกิจการนั้น ทั้งสองฝั่งยังคงมีอำนาจในการกำหนดทิศทางและนโยบาย ยังสามารถดำเนินธุรกิจในชื่อเดิมได้ เพราะผู้ที่รับการควบรวมกิจการอาจจะเข้าไปถือหุ้นที่มีสัดส่วนเกือบเท่าๆ กันกับผู้ถือหุ้นใหญ่เดิม ดังนั้นจะไม่มีใครที่มีอำนาจมากเกินกว่าใครจนเกินไป ทั้งคู่ยังคงกำหนดทิศทางและนโยบายของบริษัทร่วมกันได้ ภายใต้ผลประโยชน์ที่ทั้งสองฝ่ายจะได้รับ
ส่วนอนาคตอาจขยับจากแค่การควบรวมกิจการ แต่ถึงขั้น Take Over เลยได้หรือไม่ ก็มีโอกาสเป็นไปได้แน่นอน หากบริษัทที่ถือหุ้นร่วมกันอยากขายหุ้นทั้งหมดให้ผู้ถือหุ้นที่เหลือ ซึ่งก็เกิดขึ้นได้ภายใต้เงื่อนไขของกฎหมายทางการค้า และหากบริษัทนั้นอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ก็ต้องแจ้งต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ กลต. เพื่อให้รู้ว่าการดำเนินการดังกล่าวถูกต้อง โปร่งใส เป็นที่รับรู้โดยทั่วกันของผู้ถือหุ้นและสาธารณะชนนั่นเอง
นี่คือการอธิบายแบบง่ายๆ คร่าวๆ ซึ่งจริงๆ แล้วมันมีรายละเอียดในการูปแบบของการดำเนินธุรกิจอีกมากมาย ซึ่งจะต้องไปค้นขว้าเพิ่มเติม
🔵 ลดต้นทุน เพิ่มอำนาจการแข่งขัน ตัดขาคู่แข่ง
มีหลายสาเหตุที่มีการควบรวมกิจการกันทั้งในเชิงกลยุทธ์และการเพิ่มทุน เพราะโดยปกติแล้วการควบรวมกิจการมักเกิดกับบริษัทที่ดำเนินกิจการคล้ายกัน อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน แต่บริษัทหนึ่งจะมีความโดดเด่นในบางเรื่อง และมีจุดอ่อนในบางจุดที่ไม่สามารถจะลบจุดอ่อนนั้นด้วยตัวเองได้ จึงมองหาบริษัทที่มีจุดแข็งที่ตัวเองไม่มี แต่มีจุดอ่อนที่สามารถเข้าไปเสริมกันได้
ดังนั้นถ้าการเจรจาตกลงทางธุรกิจลงตัว ก็มักจะมีการควบรวมกิจการ เพื่อให้สามารถเสริมจุดเด่นและลบจุดอ่อนได้ พร้อมกับเดินหน้าลุยตลาดในขนาดธุรกิจร่วมที่ใหญ่ขึ้น ได้เปรียบขึ้น มีอำนาจต่อรองมากขึ้น และมีนวัตกรรมที่หลากหลายขึ้นนั่นเอง
เมื่อรวมกิจกรรมทางธุรกิจเข้าด้วยกัน ประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและต้นทุนโดยรวมมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากแต่ละบริษัทใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของบริษัทอื่น การควบรวมกิจการสามารถให้โอกาสแก่บริษัทที่ซื้อกิจการในการขยายส่วนแบ่งการตลาดโดยไม่ต้องทำอะไรมาก เพียงซื้อธุรกิจของคู่แข่งด้วยราคาที่แน่นอน ซึ่งมักจะเรียกว่าการควบรวมกิจการในแนวนอน ตัวอย่างเช่น บริษัทเบียร์อาจเลือกซื้อโรงเบียร์ที่มีขนาดเล็กกว่าของคู่แข่ง ทำให้ธุรกิจที่มีขนาดเล็กสามารถผลิตเบียร์ได้มากขึ้น และเพิ่มยอดขายให้กับลูกค้าที่ภักดีต่อแบรนด์
เพิ่มอำนาจการกำหนดราคาซัพพลายเชน ซึ่งการซื้อซัพพลายเออร์หรือผู้จัดจำหน่ายรายใดรายหนึ่ง ทำให้ธุรกิจสามารถลดต้นทุนทั้งหมดได้ โดยเฉพาะการซื้อซัพพลายเออร์ซึ่งเรียกว่า การควบรวมกิจการในแนวดิ่ง ช่วยให้บริษัทสามารถประหยัดส่วนต่างที่ต้อางจ่ายให้ซัพพลายเออร์ได้ ลดส่วนของต้นทุนก่อนหน้านี้ลงไป และด้วยการซื้อผู้จัดจำหน่ายมานี้ บริษัทมักจะได้รับประโยชน์จากความสามารถในการจัดส่งผลิตภัณฑ์ด้วยต้นทุนที่ต่ำลงเป็นของแถม
อีกทั้งข้อตกลง M&A ช่วยให้ผู้ซื้อสามารถขจัดการแข่งขันในอนาคตและได้รับส่วนแบ่งการตลาดที่ใหญ่ขึ้น แต่ก็มีข้อเสียคือ มักจะต้องใช้เบี้ยประกันจำนวนมากเพื่อโน้มน้าวให้ผู้ถือหุ้นของบริษัทเป้าหมายยอมรับข้อเสนอ และไม่ใช่เรื่องแปลกที่ผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ซื้อกิจการจะขายหุ้นและดันราคาให้ต่ำลง เพื่อตอบสนองบริษัทที่จ่ายเงินมากเกินไปสำหรับบริษัทเป้าหมายนั่นเอง
อย่างที่เพิ่งเกิดดีลควบรวมกิจการล่าสุดระหว่าง TRUE และ DTAC ซึ่งเป็นข่าวร้อนแรงไปเมื่อวานนี้ และทางด้าน นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานกลุ่มซีพี ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ TRUE ก็พูดชัดเจนถึงการจับมือกับ Telenor ว่า
"เราทั้งคู่มีข้อจำกัดที่ไม่สามารถเพิ่มมูลค่าให้แก่ธุรกิจและลูกค้าต่อไปได้ จึงเป็นแนวคิดที่เรามาร่วมพันธมิตรกัน"
🔵 บริษัทใหญ่ๆ ของโลกต่างผ่านการควบรวมกิจการ
เมื่อปี 2009 'Volkswagen AG' ค่ายรถยนต์สัญชาติเยอรมนี ได้ทยอยเข้าควบรวมกิจการของ 'Porsche SE' โดยทาง Porsche ทำการขายหุ้น 42% ใน 'Porsche AG' ซึ่งเป็นธุรกิจรถสปอร์ต Volkswagen ในราคา 3,300 ล้านยูโรซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงในการรวมทั้งสองบริษัท
ซึ่งการควบรวมกิจการ เป็นหนึ่งในแผนการเพิ่มทุนของ Volkswagen ซึ่งจะช่วยให้บริษัทรักษาอันดับความน่าเชื่อถือได้
ขณะที่ Porsche ก็สามารถลดต้นทุนของบริษัทได้ภายใน 4 - 5 ปี ทำให้สถานะทางการเงินของ Porsche กลับมาสู่ฐานที่มั่นคง
นอกจากนี้ทั้งสองยังสามารถแลกเปลี่ยนนวัตกรรมร่วมกันในการพัฒนาเครื่องยนต์ และรถยนต์ เพื่อเสริมสมรรถนะจากเดิมโดยใช้จุดแข็งที่แต่ละแบรนด์เคยสร้างเอาไว้ และไม่ใช่แค่ Volkswagen กับ Porsche ที่จับมือเป็นครอบครัวเดียวกัน ยังมี Audi และ Bentley ที่ก็ควบรวมกิจการกับ Volkswagen ด้วย
╔═══════════╗
ไม่พลาดบทความสาระดีๆ ที่ Reporter Journey ตั้งใจสร้างสรรเพื่อผู้ติดตามทุกท่าน อย่าลืมกดติดตามเพจ ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
╚═══════════╝
.
ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
โฆษณา