25 พ.ย. 2021 เวลา 04:15 • สุขภาพ
ผักเชียงดา ผู้มาปราบโรคเบาหวาน
2
ผักเชียงดาในตลาดยามเช้า
พระอาจารย์ของ หมอชีวกโกมารภัทร แพทย์ประจำตัวพระพุทธเจ้าและพระเจ้าพิมพิสารแห่งแคว้นมคธ ก่อนที่จะปล่อยลูกศิษย์ออกมาเป็นหมอรักษาคนไข้ได้ท่านได้ทำการทดสอบลูกศิษย์ของท่านโดยให้ ลูกศิษย์ออกไปหาพืชพันธุ์ที่ไม่สามารถเอามาทำยาได้มาให้ หมอชีวกหายไปสามวันกลับมาหาอาจารย์มือเปล่าบอกว่าหาจนทั่วแล้วก็ไม่สามารถหาพรรณพืชที่ไม่สามารถเอามาทำยาได้เลยสักชนิด ซึ่งนั่นเป็นคำตอบที่ถูกต้องทำให้หมอชีวกสอบผ่านออกมาเป็นแพทย์ได้ แสดงให้เห็นว่าถ้าเรามีความรู้ เราสามารถเลือกทานพืชพรรณธัญญาหารที่อยู่รอบๆตัวเราได้แทบทุกชนิด และ ทุกชนิดนั้นเป็นประโยชน์ต่อร่างกายเราไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง วันนี้จะมาแนะนำผักพื้นๆบ้านๆ ของเราชนิดหนึ่งให้ได้รู้จัก ถึงแม้จะเป็นแค่ผักพื้นๆบ้านๆ ไม่หรูหราไฮโซ แต่คุณค่าและสรรคุณทางยามีมายมายล้นเหลือ แถมยังมีรสชาดอร่อยทานนำไปปรุงอาหารได้หลายชนิดที่ทานได้แบบไม่ต้อง ฝื่นลิ้นแต่อย่างใด
ควรค่าเอาไว้คู่ครัว
ผักที่จะแนะนำในวันนี้ก็คือ ผักเชียงดา ( Gymnema ) คือ พืชไม้เถาเลื้อย เป็นผักพื้นบ้านที่พบทั่วไปในภาคเหนือที่มีอากาศเย็น แต่เมื่อนำมาปลูกที่เวลเนสฟาร์มก็เติบโตได้ดี ส่วนรากและใบของผักเชียงดามี Gymnemic acid ช่วยสกัดกั้นสารน้ำตาลตัวจริงที่เข้ามาสู่ร่างกายได้ และยังสามารถช่วยควบคุมสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานทั้งชนิดที่พึ่งอินซูลินและชนิดไม่พึ่งอินซูลิน มีสารสำคัญที่ได้ ได้แก่ สาร Vioflavonoid สารในกลุ่ม Carotenoid มี Flavonoid,คาเทชิน,โปรแอนโทไซนานิดิน ( Proanthocyanidin ),มีสารต้านอนุมูลอิสระ คือ Curcumin Furmericไกลเบนคลาไมด์ ( glibenclamide ),เบต้าแคโรทีน,มีวิตามินซี,สารกลูต้าไธโอน,วิตามินอี,มี Gymnemic acid
1
จึงนับได้ว่า ผักเชียงดา เป็นสมุนไพรที่มากคุณค่าชนิดหนึ่ง หมอพื้นบ้าน ได้ใช้ผักเชียงดาเป็นส่วนประกอบอยู่ในตำรายาหมอพื้นบ้าน ใช้ตำพอกกระหม่อม รักษาไข้หวัด ไอ ขับเสมหะ บรรเทาภูมิแพ้ หืดหอบ หลอดลมอักเสบ ปวดแสบปวดร้อน อักเสบ บิด ขับปัสสาวะ ช่วยระบบขับถ่าย ขับระดู แก้กามโรค ตำพอกฝี แก้งูสวัด เริม ถอนพิษ ดับพิษร้อน พิษกาฬ ไข้เซื่องซึม โรคชักกระตุก หมอไทยใช้เป็นส่วนผสมเป็นยาครอบจักรวาล หรือยาตำราหลวง หรือยาแก้หลวง มานานนับร้อยๆปี ถ้าคิดไม่ออกก็บอกผักเชียงดา เช่น แก้เบาหวาน เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ตัวร้อน แก้ไข้สันนิบาต (ชักกระตุก) แก้หวัด ภูมิแพ้ หอบหืด แก้แพ้ยา แพ้อาหาร ปวดข้อ เป็นยาระบาย ช่วยระงับประสาท หรือเมื่อมีอาการคิดมากหรือจิตฟั่นเฟือน ฯลฯ ส่วนการนำมาใช้เป็นยาก็ให้นำผักเชียงดามาสับแล้วนำไปตากแห้งบดเป็นผง ใช้ชงเป็นชาดื่ม หรือจะนำมาบรรจุลงในแคปซูลก็ได้
1
ส่วนในทางการแพทย์แผนปัจจุบันก็ทราบดีว่า ผักเชียงดา ไม่ว่าจะเป็นส่วนใบ ยอด เถา ต้น หัว ราก ทุกส่วนเป็นยา ต้านอนุมูลอิสระ สาเหตุมะเร็งร้าย มะเร็งกระเพาะ มะเร็งตับ เส้นเลือดหัวใจอุดตัน โรคต้อกระจก ป้องกันเม็ดเลือดแดงแตก รักษาข้ออักเสบ รูมาตอยด์ โรคเกาต์ เบาหวาน ปรับระดับอินซูลิน ช่วยลดน้ำหนัก บำรุงสายตาแก้ตาฝ้าฟางเคืองตา หูดับ ฟื้นฟูตับอ่อน และคงเป็นบทพิสูจน์ทางการแพทย์แผนปัจจุบันแล้วว่า เป็นพืชที่มีตัวยาสำคัญมากมาย จนญี่ปุ่น และอเมริกา หาซื้อไปทำผลิตภัณฑ์อาหารเสริม และยารักษาโรค จากการศึกษาพบว่า การรับประทานผงผักเชียงดาก่อนอาหารประมาณวันละ 8-12 กรัม (แบ่งการรับประทานเป็น 3 มื้อ มื้อละ 4 กรัม) จะสามารถควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานให้เป็นปกติได้ หรือจะรับประทานเป็นผักสดอย่างน้อยวันละประมาณ 50-100 กรัม หรือ 1 ขีด ก็สามารถช่วยป้องกันและบำบัดโรคเบาหวานได้เช่นกัน
ส่วนรูปแบบและขนาดการใช้ทางการแพทย์แผนปัจจุบันระบุว่า การศึกษาในคนพบว่าใช้สารออกฤทธิ์ประมาณ ๔๐๐-๖๐๐ มิลลิกรัมต่อวัน หรือประมาณ 8-12 กรัมของผงแห้งต่อวันโดยกินครั้ง 4 กรัม วันละ 2-3 ครั้งก่อนอาหารให้ผลในการควบคุมและรักษาโรคเบาหวานได้ดี ส่วนที่ประเทศสหรัฐอเมริกาแคปซูลผักเชียงดา ในรูปแบบผงแห้งที่มีการควบคุมมาตรฐานของกรดไกนีมิก (gynemic acid) ต้องมีไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25 หรือ 1 แคปซูลใหญ่จะต้องมีผงยาของเชียงดาอยู่ 500 มิลลิกรัมมีการศึกษาวิจัยพบว่าผักเชียงดามี Gymnemic acid (สกัดมาจากส่วนรากและใบของผักเชียงดา) โดยสารชนิดนี้มีลักษณะโครงสร้างเหมือนน้ำตาลกลูโคส จึงเข้าไปจับกับตัวรับที่ลำไส้แทนโมเลกุลของกลูโคส และช่วยสกัดกั้นสารน้ำตาลตัวจริงที่เข้ามาสู่ร่างกายได้ และยังสามารถช่วยควบคุมสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานทั้งชนิดที่พึ่งอินซูลินและชนิดไม่พึ่งอินซูลิน
1
วิธีใช้และปริมาณที่ใช้
๑.ทานเป็นอาหารลดเบาหวาน ในการใช้ผักเชียงดาตามตำรายาพื้นบ้าน คือ ใช้รักษาเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ให้รับประทานเป็นผักสดอย่างน้อยวันละประมาณ 50-100 กรัม หรือ 1 ขีด สามารถช่วยป้องกันและบำบัดโรคเบาหวานได้มีการศึกษาผลของผักเชียงดาในผู้ป่วยโรคเบาหวานพบว่า ผักเชียงดาสามารถลดการใช้ยารักษาเบาหวานแผนปัจจุบัน และบางรายสามารถเลิกใช้ยาแผนปัจจุบันโดยใช้แต่ผักเชียงดาอย่างเดียวสำหรับการคุมระดับน้ำตาลในเลือด จากการศึกษานี้ ยังพบว่าปริมาณของระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (hemoglobin A1c) ลดลง (ปริมาณสารตัวนี้แสดงให้เห็นว่าการกินผักเชียงดาทำให้ระดับของน้ำตาลในเลือดในช่วง 2-4 เดือนที่ผ่านมามีความสม่ำเสมอ ถ้าลดลงแสดงว่าคุมระดับน้ำตาลได้ดี ซึ่งเป็นการลดโอกาสที่จะเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด จากการป่วยเป็นโรคเบาหวาน)
และปริมาณอินซูลินเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับการรักษาเบาหวาน นอกจากปริมาณอินซูลินจะไม่เพิ่มขึ้นแล้วปริมาณของระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมยังเพิ่มขึ้นอีกด้วยมีการวิจัยในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานที่ใช้อินซูลิน 27 ราย โดยให้กินสารสกัดที่ทำให้บริสุทธิ์ขึ้น 400 มิลลิกรัมต่อวัน พบว่าปริมาณความต้องการอินซูลินในผู้ป่วยเบาหวานลดลง และในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่ได้ใช้อินซูลิน 22 ราย เมื่อให้สารสกัด 400 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นระยะเวลา 18-20 เดือน ร่วมกับยารักษาเบาหวาน พบว่าปริมาณการใช้ยารักษาเบาหวานลดลง โดยมีผู้ป่วยจำนวน 5 ราย ใน 22 ราย ที่สามารถหยุดให้ยาเบาหวานโดยใช้แต่สารสกัด Gymnema เพียงอย่างเดียว
๒. นำใบมาตำให้ละเอียดใช้พอกบนกระหม่อมรักษาไข้หวัด แก้ไอ ขับเสมหะได้
๓.ใช้ใบแก่ของผักเชียงดามาเคี้ยวกินสามารถรักษาอาการท้องผูกได้
1
๔.ใบสดใช้ตำพอกฝีหรือพอกบริเวณที่เป็นเริม งูสวัดแก้ปวดแสบ ปวดร้อน
เมนูแนะนำ
ผักเชียงดาผัดไข่
“ผักเชียงดาผัดไข่” เมนูง่ายๆใครๆก็ทำได้ ขั้นตอนและส่วนประกอบเครื่องปรุงน้อย แต่ประโยชน์เยอะ
๑.นำใบเชียงดา ล้างน้ำสะบัดให้สะเด็ดน้ำ เลือกใบอ่อน หรือใบที่ยังไม่แก่มาก จะเหนียวและเส้นใยเยอะไม่อร่อย นำใบเชียงดามาลวกร้อนน้ำก่อนพอสะดุ้งน้ำ จะเพิ่มรสชาติให้ผักเชียงดาอร่อยมากขึ้น แล้วใส่กระชอนพักไว้ให้สะเด็ดน้ำ
๒.กระทะตั้งไฟใส่น้ำมัน ใส่กระเทียมลงผัดพอหอม ตอกไข่ลงคนให้ไข่กระจาย พอไข่ด้านล่างสุก
๓. ใส่ผักลงผัดใส่ผักลงในกระทะ ปรุงรสด้วยซ๊อสปรุงรสน้ำมันหอย ชิมรสตามชอบ ผัดด้วยไฟแรง ผัดเร็วๆแป๊บเดียวพอ
ตักใส่จาน แค่นี้ก็อร่อย!!!
หมายเหตุ ผักเชียงดาเป็นผักพื้นเมือง ไม่สามารถหาซื้อได้ในท้องตลาดทั่วไป แต่ด้วยสรรพคุณอันทรงคุณค่าของผักเชียงดา เวลเนสฟาร์มเราจึงเตรียมปลูกแปลงขนาดใหญ่ไว้ ให้ท่านได้บริโภคผักเชียงดาสดๆ ตรงจากฟาร์มที่ได้มาตรฐาน ท่านสามารถสั่งซื้อได้โดยตรงที่ เวลเนสฟาร์ม หรือ ร้านเวลเนสกรีนช๊อปทุกสา่ขา
โฆษณา