26 พ.ย. 2021 เวลา 17:17 • ท่องเที่ยว
สิมสองร้อยปี วัดบ้านนาควาย ฝีมือช่างพื้นถิ่นอีสานในพุทธศตวรรษที่ ๒๔
วัดนาควาย ตำบลในเมือง อำเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี ตั้งอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานีราว 5 กิโลเมตร
ประวัติวัดบ้านนาควาย สร้างต้นพุทธศตวรรษที่ 24 ตามตำนานพื้นถิ่นเล่าในสมัยของพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (คำผง) ได้สร้างเมืองอุบลราชธานีในปีพุทธศักราช 2329 หลังจากนั้นชาวบ้านจำนวนหนึ่งได้ออกไปจับจองพื้นที่บริเวณรอบบึงบึงนอกมาอุบลราชธานี เพื่อประกอบอาชีพกสิกรรมทำนาและเลี้ยงควาย เมื่อตั้งหมู่บ้านเสร็จแล้วจึงเรียกว่าบ้านนาควาย ตามจำนวนควายที่มีปริมาณมากตามพื้นที่สร้างวัดนาควายขึ้น
เจ้าอาวาสองค์แรกคือหลวงปู่แดง
ภายในวัดมีโบราณสถาณสำคัญคือ สิม ที่สร้างสมัยยญาคูทา เจ้าอาวาสลำดับที่ 2 ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นสิมทรฝพื้นถิ่นอีสานขนาดเล็ก ก่ออิฐถือปูนตั้งบนฐานเอวขันในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า สร้างหันหน้าอาคารไปทางทิศตะวันออก ขนาด 4 ห้อง
1
หน้าห้องเป็นโถง มีบันไดทางขึ้นที่ตอนกลาง โครงสร้างอาคารใช้เสาไม้กรมและผนังรับน้ำหนัก หลังคาทรงจั่วที่ต่อกับหลังคาในลักษณะเป็นเพิงด้านหน้า เพือคลุม บันไดทางขึ้น หลังคามุงกระเบื้องเคลือบและหลังคาที่เป็นเพิงมุงสังกะสี ประดับโหง่ว ใบระกาและหางหงส์
หน้าบันตีไม้เป็นแนวตั้ง ตกแต่งด้วยไม้ระแนงที่ตีทะแยงเป็นสองเส้น และตรงกลางหนึ่งเส้น มีประตูทางเข้าด้านหน้าหนึ่งช่อง และหน้าต่างด้านละหนึ่งช่องในตอนกลางของผนัง ด้านหลังก่อทึบ คันทวยไม้รูปเสาแบบบัวตัดให้ เห็นโครงสร้างเพียงครึ่งเดียว ตีขึ้นจากฐานเอวขันจนถึงโครงสร้าง หลังคาจั่ว
อาคาร โดดเด่นด้วยการตกแต่งภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างพื้นถิ่นอีสาน เป็นภาพพุทธประวัติ ผนังด้านนอกเฉพาะด้านทิศตะวันออกเขียนภาพตอนพระพุทธเจ้าผจญมาร
1
ผนังด้านนายทั้งสี่เขียนภาพตอนประสูติและปรินิพพาน
และภาพชาดกเรื่องปาจิตต์กุมารชาดกและมหาเวสสันดรชาดก ใช้สีแดงและเขียวตัดเส้นด้วยสีดำบนพื้นขาว ลักษณะเช่นเดียวกับจิตรกรรม ที่หอพระพุทธบาทวัดทุ่งศรีเมืองจังหวัดอุบลราชธานี
1
ฮูบแต้มโบราณหลายส่วนคำบรรยายกำกับด้วยภาษาอีสานอักษรไทน้อย
เอกลักษณ์ของจิตรกรรมวัดบ้านนาควาย คือมีภาพจิตรกรรมในสิม ที่สะท้อนคตินิยม วัฒนธรรมและฝีมือช่างพื้นถิ่นอีสาน ในพุทธศตวรรษที่ 24 นอกจากจะปรากฏภาพของชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอีสานแล้ว ยังมีภาพของชาวต่างชาติทั้งจีนฝรั่งและแขกที่มีบทบาท ในอีสานในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย
อุโบสถหลังใหม่ด้านประตูทางเข้าวัด
ผู้เขียนอยากให้ชาวไทยชาวต่างชาติที่มีโอกาสแวะเวียนผ่านไปจังหวัดอุบลราชธานีไปเยี่ยมเยียนสิมโบราณแห่งนี้ เพื่อชื่อชมความงดงามอันทรงคุณค่าทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทย เพื่อจะช่วยกันธำรงรักษาไว้คู่ชาติบ้านเมืองเรา
หมายเหตุ: ภาพถ่ายฮูบแต้มมีจำนวนมากแต่ผู้เขียนตั้งใจแชร์เพียงเท่านี้ด้วยเหตุผลบางประการ
ความเห็นส่วนตัว: พระพุทธรูปที่จัดประดิษฐานและเครื่องบูชาควรดูแลให้มีจำเพาะ เพื่อรักษาความงามของพุทธศิลป์และบรรยากาศของสิมโบราณในยุคพุทธศตวรรษที่ 24 จริง ทั้งนี้ หลีกเลี่ยงความขัดแย้งในภาพปรากฎของศิลปะระหว่างสองยุคสมัย
โฆษณา