26 พ.ย. 2021 เวลา 04:00 • ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ของนิยาม 'Fast Fashion' ใครเป็นคนริเริ่ม
อย่างที่ทราบกันว่า Fast Fashion คือการมาไวไปไวของเสื้อผ้าที่ผ่านการใช้งานมาแล้วและยังไม่ได้จำหน่ายออกไป จากยุคเทคโนโลยีที่คนเข้าถึงการชอปปิงได้ง่ายขึ้นบนโลกออนไลน์ การซื้อเสื้อผ้าจึงไม่จำเป็นต้องออกไปเดินเลือกบนห้างหรือตลาดเหมือนดังเก่า ทำให้เสื้อผ้าเต็มตู้เสื้อผ้าไปหมด แต่เมื่อหมดใจ มันก็จะถูกทิ้งออกไปและก่อให้เกิดขยะเสื้อผ้าจำนวนมหาศาล ที่เราเรียกมันว่า "Fast Fashion"
2
คำว่า Fast Fashion ใช้ครั้งแรกเมื่อไหร่ อันนี้ยังไม่ชัดเจนเหมือนกัน แต่เท่าที่สืบค้นและข้อมูลจากเว็บไซต์แฟชั่นส่วนใหญ่กล่าวไปในแนวทางกันว่า มันเริ่มมาจากผู้ก่อตั้งแบรนด์ ZARA นักธุรกิจออกแบบเสื้อผ้าชาวสเปน Amancio Ortega ที่เขาได้เปิดร้านของเขาขึ้นทางตอนเหนือของสเปนเป็นที่แรกในปี 1975
เขาเดินทางไปยังนิวยอร์กในปี 1990 เพื่อโปรโมทร้านค้าของเขากับนิตยสารชื่อดัง อย่าง New York Times ซึ่งทางนิตยสารได้นิยามภารกิจของร้านด้วยคำว่า “Fast Fashion” คำนี้ผุดขึ้นมาครั้งแรกต่อสาธารณะเพราะภารกิจของร้าน Zara ตอนนั้นคือ เขาจะทำการผลิตเสื้อผ้าเซ็ตหนึ่ง ทั้งขั้นตอนการออกแบบและการผลิตจำหน่ายสู่ชั้นวางขายให้ได้ภายใน 15 วันเท่านั้น
1
การโปรโมทนี้เมื่อแพร่กระจายออกไปทำให้เกิดเสียงฮือฮาในวงการแฟชั่นและประชาชนชาวอเมริกันอย่างมาก บวกกับในตอนนั้นคนอเมริกันกำลังมองหาเสื้อผ้าอินเทรนด์และราคาจับต้องได้บนห้าง และกระแสวัยรุ่นอย่าง Wet Seal, Express และAmerica Eagle ที่เริ่มแพร่กระจายเป็นวงกว้างทำใหเกิดความต้องการในตลาดเสื้อผ้ามากขึ้น การประกาศของร้านZara แบบนี้จึงถูกมองว่าเป็นผู้บุกเบิกอาณาจักร Fast Fashion ของอเมริกานั่นเอง
Amancio Ortega
Fashion Evalution
ย้อนกลับไปในปีค.ศ.1800 แฟชั่นสมัยนั้นเป็นอะไรที่เชื่องช้ามากๆ ผู้คนจะแต่งตัวเหมือนกันๆ สีสันของเสื้อผ้าส่วนใหญ่ที่ดูเหมือนแฟชั่นของยุคมักจะไปตกอยู่ที่พวกขุนนางชนชั้นสูง ที่จะมีมือตัดเสื้อผ้าให้อยู่แล้วในบ้านของพวกเขาเอง และราคาก็สูงมาก การผลิตเสื้อผ้าสักชุดนึง ผู้คนจะต้องหาวัตถุดิบเอง เช่น ขนแกะ ฝ้ายหรือเครื่องหนัง และขนหาบพวกมันไปให้คนตัดเย็บเสื้อผ้าผลิตชุดให้หรือตัดเย็บเอง ซึ่งส่วนใหญ่กระบวนการจะถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นในหมู่ผู้หญิงมากที่สุด
ต่อมาในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม มีการผลิตเทคโนโลยีเพื่อลดแรงในการตัดเย็บเสื้อผ้าเอง อย่าง เครื่องจักรเย็บผ้าขึ้นเป็นครั้งแรก ที่จะสามารถผลิตเสื้อผ้าได้เร็วขึ้น สะดวกขึ้น ลดราคาต้นทุนและทำให้เสื้อผ้าตัวนั้นๆมีราคาถูกลง ดังนั้นร้านตัดเย็บเสื้อผ้าจึงผุดขึ้นมาเพื่อรองรับลูกค้าชนชั้นกลางที่สามารถเข้าถึงราคาเสื้อผ้าของพวกเขาได้ เพราะราคามันก็ไม่ได้ถูกขนาดที่จะทำให้แรงงานเข้าออกร้านเสื้อผ้าเหมือนร้านอาหารขนาดนั้น
แน่นอนว่าการเกิดขึ้นของร้านตัดเย็บเสื้อผ้ามากมายต้องตามมาด้วยการจ้างแรงงาน ทั้งคนงานตัดเย็บและคนงานทำความสะอาด ด้วยวัสดุที่นำมาใช้ทำเสื้อผ้านั้นเปราะบางและติดไฟง่าย ร้านตัดเย็บส่วนใหญ่มักจะเกิดปัญหาด้านความปลอดภัย เหตุการณ์ครั้งสำคัญของโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าคือ การเกิดเหตุเพลิงไหม้ที่โรงงาน Triangle Shirtwaist ในนิวยอร์กวันที่ 25 กันยายน ปีค.ศ.1911 ที่ได้คร่าชีวิตคนงานตัดเย็บไปกว่า 146 คนและส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงที่หนีออกมาไม่ทัน อีกเหตุการณ์หนึ่งที่ร้ายแรงเช่นกันคือ กรณีเพลิงไหม้ปี 2013 ในโรงงานเสื้อผ้าบังคลาเทศ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 114 คน บาดเจ็บอีก 800 รายเลยทีเดียว
เหตุเพลิงไหม้ที่โรงงาน Triangle Shirtwaist ในนิวยอร์ก ปีค.ศ.1911
ในปี 1960-1970 เด็กวัยรุ่นเริ่มออกแบบสไตล์การแต่งตัวของตนเองมากขึ้นและเสื้อผ้ายุคนั้นกลายเป็นลักษณะที่บ่งบอกตัวตนของผู้สวมใส่ แต่ก็ยังมีความแตกต่างระหว่างแฟชั่นชั้นสูงกับแฟชั่นไฮสตรีทอยู่
ในปี 1990-2000 เสื้อผ้าแฟชั่นราคาเริ่มถูกลง เทคโนโลยีการชอปปิงออนไลน์เริ่มเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวัน แต่ตอนนั้นการชอปปิงเสื้อผ้ายังไม่เยอะมาก ส่วนใหญ่เป็นของที่ต้องโทรสั่งมากกว่า แต่ด้วยพลังของอินเตอร์เน็ต ทำให้ผู้คนรู้จักสิ่งของที่หลากหลายมากขึ้นโดยเฉพาะนวัตกรรมใหม่ๆจากต่างประเทศ
1
ร้านเสื้อผ้าแฟชั่นอย่าง H&M, ZARA และแบรนด์ดังๆหลายแห่งเริ่มเข้าสู่วงการแฟชั่นไฮสตรีทมากขึ้น แบรนด์เหล่านี้เริ่มมองหาองค์ประกอบการดีไซน์จากแฟชั่นบ้านๆและนำรูปแบบมาผลิตอย่างรวดเร็วและราคาถูกลง นอกจากนี้ยังโปรโมทอีกว่าทุกคนไม่ว่าใครก็ตาม ไม่ว่าจะชนชั้นไหนมีรายได้เท่าไหร่ก็มีสิทธิเข้าถึงเสื้อผ้าที่พวกเขาออกแบบได้ง่ายขึ้น
โฆษณา