27 พ.ย. 2021 เวลา 10:24 • ประวัติศาสตร์
“พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great)”
1
“พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great)” นามนี้หลายคนที่ชื่นชอบในประวัติศาสตร์ล้วนต้องรู้จักเป็นอย่างดี
พระองค์เป็นหนึ่งในพระประมุขที่โดดเด่นที่สุดองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์ และผมก็เคยเขียนเรื่องราวของพระองค์เป็นซีรีส์
แต่สำหรับบทความนี้ จะเป็นการเล่าเรื่องของพระองค์แบบย่อๆ สรุปจบในบทความเดียวครับ
“พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great)” ประสูติเมื่อ 365 ปีก่อนคริสตกาล โดยเป็นพระราชโอรสใน “พระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งมาซีดอน (Philip II of Macedon)” กับ “ราชินีโอลิมเพียสแห่งเอพิรุส (Olympias)”
พระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งมาซีดอน (Philip II of Macedon)
ราชินีโอลิมเพียสแห่งเอพิรุส (Olympias)
ตามตำนานนั้น ว่ากันว่าพระราชบิดาที่แท้จริงของพระองค์คือ “เทพเจ้าซุส (Zeus)”
เทพเจ้าซุส (Zeus)
พระเจ้าฟิลิปที่ 2 ทรงเป็นพระประมุขที่มีพระปรีชา
พระองค์ทรงเป็นนักการทหารที่เก่งกาจ และยังเชี่ยวชาญการเมือง โดยพระองค์ทรงใช้กำลังทหารและอุบายทางการเมือง เปลี่ยนแปลงอาณาจักรมาซิโดเนีย ให้กลายเป็นอาณาจักรที่ทรงอำนาจ
และความฝันของพระองค์ก็คือ ต้องการให้พระราชโอรส นั่นก็คือ “เจ้าชายอเล็กซานเดอร์” หรือก็คือ “พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great)” ในภายหลัง ให้มีอำนาจและกำลังพลมากพอที่จะบุกจักรวรรดิเปอร์เซีย (Persian Empire)
ในเวลานั้น จักรวรรดิเปอร์เซียเป็นจักรวรรดิที่มีกองกำลังทหารเกรียงไกร และตั้งใจที่จะพิชิตดินแดนกรีก ดังนั้น การจะพิชิตเปอร์เซีย ก็คงไม่ใช่เรื่องง่าย
1
เมื่อมีพระชนมายุ 13 พรรษา เจ้าชายอเล็กซานเดอร์ก็ได้รับการถวายพระอักษรจาก “อริสโตเติล (Aristotle)” ให้มีความรู้ในศาสตร์ต่างๆ
อริสโตเติล เป็นนักปรัชญาชาวกรีกที่มีความปราดเปรื่อง และก็เป็นผู้ที่เหมาะสมในการถวายพระอักษรให้แก่เจ้าชายอเล็กซานเดอร์ รวมทั้งศาสตร์ต่างๆ
อริสโตเติล (Aristotle)
ต่อมา เมื่อ 340 ปีก่อนคริสตกาล พระเจ้าฟิลิปที่ 2 ได้นำทัพ มุ่งไปทำสงครามยังอาณาจักรไบแซนเทียม (Byzantium) และเจ้าชายอเล็กซานเดอร์ก็ได้รับมอบหมายให้ดูแลเมืองแทนพระราชบิดา
นี่เป็นโอกาสดีที่เจ้าชายอเล็กซานเดอร์จะได้แสดงความสามารถ และพิสูจน์ว่าพระองค์เป็นผู้นำที่มีความสามารถ โดยกองทัพของพระองค์สามารถพิชิตกองทัพเมดิ (Maedi) ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในตะวันออกเฉียงใต้ของบอลติก
พระเจ้าฟิลิปที่ 2 เสด็จกลับในอีกสองปีต่อมา เจ้าชายอเล็กซานเดอร์ก็ทรงมีพระประสงค์จะรวบรวมดินแดนกรีซให้เป็นปึกแผ่น และได้นำทัพพิชิตกองทัพหลายกองทัพ และชื่อเสียงของพระองค์ก็ได้กระจายไปทั่วมาซิโดเนีย
ต่อมา เมื่อพระเจ้าฟิลิปที่ 2 ถูกลอบปลงพระชนม์และสวรรคต เจ้าชายอเล็กซานเดอร์ ซึ่งมีพระชนมายุเพียง 20 พรรษา ก็ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์แทนที่พระราชบิดา เป็น “พระเจ้าอเล็กซานเดอร์”
พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ได้รับการสนับสนุนและไว้ใจจากกองทัพ โดยภายหลังจากขึ้นนั่งบัลลังก์และปราบปรามกบฏทางเหนือ เป้าหมายต่อไปของพระองค์ ก็คือเดินตามรอยพระราชบิดา
เมื่อเทียบกันแล้ว กรีซเป็นเพียงดินแดนเล็กๆ เมื่อเทียบกับจักรวรรดิเปอร์เซีย แต่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ก็ทรงมั่นใจว่ากองทัพของพระองค์นั้นเข้มแข็ง และยิ่งใหญ่กว่ากองทัพศัตรู
พระองค์ทรงมั่นใจว่ากองทัพของพระองค์ จะสามารถพิชิตกองทัพเปอร์เซีย ซึ่งนำทัพโดย “พระเจ้าดาเรียสที่ 3 แห่งเปอร์เซีย (Darius III)” ได้
พระเจ้าดาเรียสที่ 3 แห่งเปอร์เซีย (Darius III)
ใน “ยุทธการที่อิสซัส (Battle of Issus)” เมื่อ 333 ปีก่อนคริสตกาล พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ทรงนำทัพ เผชิญหน้ากับกองทัพเปอร์เซีย ซึ่งกองทัพเปอร์เซียก็ถูกกองทัพของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์บดขยี้
พระเจ้าดาเรียสที่ 3 ต้องเสด็จหนีไปพร้อมกับกองทัพบางส่วน ทิ้งครอบครัวไว้ข้างหลัง
ชัยชนะของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ ทำให้ชื่อเสียงของพระองค์กระจายไปทั่ว โดยถึงแม้พระองค์จะยังทรงมีพระชนมายุน้อย หรือก็คือยังหนุ่ม แต่พระองค์ก็ยังไม่เคยพ่ายศึกมาก่อน
1
จากนั้น พระองค์ทรงนำทัพบุกต่อไปยังอียิปต์ ซึ่งภายหลังจากที่พระองค์ทรงพิชิตอียิปต์ได้แล้ว พระองค์ก็ได้ทรงพบกับกองทัพของพระเจ้าดาเรียสที่ 3 อีกครั้งที่กอกามีลา เมื่อ 331 ปีก่อนคริสตกาล
ศึกนี้จบลงด้วยการที่พระเจ้าดาเรียสที่ 3 ต้องเสด็จหนีอีกครั้ง และจบลงด้วยการที่พระองค์ทรงถูกทหารของพระองค์เองปลงพระชนม์
เมื่อสิ้นพระเจ้าดาเรียสที่ 3 ไปแล้ว พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ก็สามารถที่จะสถาปนาพระองค์เองขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ หากแต่ชายอีกผู้หนึ่ง นั่นคือ “เบสซัส (Bessus)” ได้ยึดบัลลังก์ซะก่อน
2
แต่ทหารของเบสซัสก็ไม่ได้ภักดี และได้จับเบสซัสถวายให้พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ ซึ่งก็จบลงด้วยการที่เบสซัสถูกฆ่า และพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ก็ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งเปอร์เซีย
ในที่สุด จักรวรรดิเปอร์เซียก็ตกเป็นของกรีก
ภายหลังจากยึดเปอร์เซียได้แล้ว พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ก็ไม่ได้กดขี่ผู้คน พระองค์ทรงให้เสรีภาพพอสมควร
พระองค์ทรงให้จักรวรรดิปกครองกันเอง เพียงแต่ต้องจงรักภักดีต่อพระองค์ อีกทั้งพระองค์ยังทรงอนุญาตให้ประชาชนแต่งกายและทำตามธรรมเนียมของตนได้อย่างเสรี
พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ทรงต่างจากพระประมุของค์อื่นๆ เนื่องจากพระองค์ไม่ทรงบังคับให้ประชาชนต้องเปลี่ยนศาสนาหรือประเพณี ซึ่งความพระทัยกว้างนี้เอง ก็ทำให้ชาวเปอร์เซียชื่นชอบพระองค์
หากแต่กับทหารมาซิโดเนียของพระองค์ ต่างไม่พอใจนัก
328 ปีก่อนคริสตกาล “ไคลตุส (Cleitus)” ซึ่งเป็นหนึ่งในแม่ทัพและคนสนิทของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ ได้ทรงพูดดูถูกพระเจ้าอเล็กซานเดอร์เนื่องจากไม่พอใจในพฤติกรรมของพระองค์
พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ได้เสวยสุราเข้าไปเป็นจำนวนมาก พระองค์จึงเมาและขาดพระสติ และได้ทรงสังหารไคลตุสด้วยหอก
จากเหตุการณ์นี้ ทำให้พระองค์กับเหล่าทหารและชาวมาซิโดเนีย เริ่มจะขัดแย้งกันมากขึ้น
จากนั้น พระองค์ก็ทรงนำทัพมุ่งสู่อินเดีย
327 ปีก่อนคริสตกาล พระองค์ทรงนำทัพมาถึงปัญจาบ อินเดีย โดยชนเผ่าหลายแห่งก็ยอมแพ้ต่อพระองค์แต่โดยดี
แต่เมื่อ 326 ปีก่อนคริสตกาล พระองค์ก็ต้องเผชิญหน้ากับ “พระเจ้าโปรส (Porus)” พระประมุขแห่งเปารพ ดินแดนแห่งหนึ่งในอินเดีย
กองทัพของพระเจ้าโปรสทรงอ่อนประสบการณ์กว่ากองทัพของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ หากแต่มีอาวุธร้ายที่กองทัพอื่นไม่มี
นั่นคือ “ช้างสงคราม”
แต่สุดท้าย กองทัพของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ก็สามารถเอาชัยได้
แต่ถึงจะชนะ แต่กองทัพของพระองค์ก็เหนื่อยอ่อน และไม่ยอมเดินทัพต่อตามแผนที่จะยึดอินเดียทั้งหมด และเหล่าทหารก็ทูลขอให้พระองค์เสด็จกลับเปอร์เซีย และดำเนินตามจุดประสงค์หลัก นั่นคือการรวบรวมเปอร์เซียและมาซิโดเนียให้เป็นปึกแผ่น
324 ปีก่อนคริสตกาล พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ทรงบังคับให้ทหารชาวกรีกของพระองค์ ใ้ห้แต่งงานกับเจ้าหญิงเปอร์เซีย โดยหวังว่าทหารของพระองค์จะมีลูกกับเจ้าหญิงเปอร์เซีย และลูกๆ ของพวกเขาก็จะต้องจงรักภักดีต่อพระองค์
แต่ผลที่ได้ก็คือ ทั้งทหารและขุนนางกรีกต่างไม่พอใจ และขู่ว่าจะก่อกบฏ ทำให้พระองค์ต้องนำทหารเปอร์เซียเข้ามาแทนที่ หากแต่ภายหลังพระองค์ก็ทรงคืนยศให้เหล่าทหารดังเดิม
1
ถึงแม้อาณาจักรของพระองค์จะยิ่งใหญ่ แต่ความสำเร็จของพระองค์ก็อยู่ได้เพียงไม่นาน
พระเจ้าอเล็กซานเดอร์สวรรคตขณะมีพระชนมายุ 32 พรรษา ทำให้พระองค์เป็นหนึ่งในพระประมุขที่มีพระชนมายุสั้นพระองค์หนึ่ง
หลายคนเชื่อว่าพระองค์ทรงถูกลอบปลงพระชนม์ด้วยยาพิษ แต่หลายคนก็เชื่อว่าพระองค์สวรรคตจากมาลาเรีย ซึ่งพระองค์ทรงติดมาจากอินเดีย
แต่ไม่ว่าสาเหตุการสวรรคตของพระองค์มาจากอะไร แต่ภายหลังจากพระองค์สวรรคต อาณาจักรของพระองค์ก็เริ่มสั่นคลอน แสดงให้เห็นว่าอาณาจักรของพระองค์นั้นอยู่รอดมาได้เพราะพระองค์ เมื่อสิ้นพระองค์ อาณาจักรของพระองค์ก็แทบไม่รอด
และจนถึงทุกวันนี้ พระนามของพระองค์ก็ยังถูกจารึกในประวัติศาสตร์ ในฐานะของหนึ่งในพระประมุขที่ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่ง
โฆษณา