30 พ.ย. 2021 เวลา 13:44 • ธุรกิจ
ผูุ้ทำบัญชี ของกิจการเหตุผลและประโยชน์ในการจัดทำบัญชีเพื่อกิจการ/บุคคลธรรมดา ที่จดทะเบียนนิติบุคคล รวมไปถึงบุคคลธรรมดา ที่ประกอบกิจการ ร้านค้าออนไลน์ ฟรีแลนซ์ ให้บริการรับปรึกษา สอนพิเศษ พูดง่ายๆ ก็คือกิจการหรือบุคคลที่มีรายได้และต้องยื่นเสียภาษีต่อกรมสรรพากรทุกสิ้นปี เพราเหตุผลอะไรและประโยชน์ที่ได้ในการจัดทำบัญชี เพื่อกิจการ และเพื่อส่วนตัวคืออะไร
เนื่องจาก พ.ร.บ. การบัญชีปี 2543 กำหนดให้กิจการต้องมีการทำบัญชี และจัดทำงบการเงินส่งต่อกรมพัฒฯ ภายในระยะเวลา 5เดือน นับจากวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี
“ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี” หมายความว่า ผู้มีหน้าที่จัดให้มีการทำบัญชีตามพระราชบัญญัตินี้
“ผู้ทำบัญชี” หมายความว่า ผู้รับผิดชอบในการทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ไม่ว่าจะได้กระทำในฐานะเป็นลูกจ้าง ของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือไม่ก็ตาม (ข้อมูลเพิ่มเติม กรมพัฒนาธุรกิจการค้า)
เนื่องจากประมวลรัษฎากรโดยกรมสรรพากรกำหนดให้ต้องยื่นเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลภายในระยะเวลา 150วัน นับจากวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี
วัตถุประสงค์ของการจัดทำบัญชีตามหลักการทั่วไป
1.เพื่อเป็นการบันทึกเหตุการณ์ทางการค้า
2.เพื่อให้เจ้าของกิจการได้ทราบว่าช่วงเวลานั้น ๆ มีสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของ อยู่เป็นจำนวนเท่าใดและอย่างไร
3.เพื่อเป็นปัจจัยหนึ่งประกอบการตัดสินใจในการลงทุนของนักธุรกิจและประกอบการตัดสินใจในการบริหารของกิจการ
4.เพื่อเป็นการป้องกันการทุจริตและการสูญหายของสินทรัพย์
5.เพื่อให้เป็นไปตามข้อบังคับของกฎหมาย
6.เพื่อเป็นเครื่องมือนำมาใช้ในการคำนวณภาษีที่จะต้องจ่ายแก่รัฐ
ผู้ทำบัญชี -ความสำคัญของระบบบัญชีในการจัดทำบัญชี ของกิจการ และบุคคลธรรมดา
1. เก็บบันทึกข้อมูลทั้งหมดของธุรกิจและธุรกรรมทางการเงินอย่างเป็นระบบ ติดตามธุรกรรมทางธุรกิจได้ดีและสามารถวิเคราะห์ได้ใน อนาคตสำหรับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับภาษีการรายงานทางการเงิน
2. ระบบบัญชีและการจัดทำบัญชี ที่มีประสิทธิภาพสะท้อนถึงฐานะทางการเงินของธุรกิจ มีรายละเอียดให้กิจการตรวจสอบถึงฐานะทางการเงินที่แท้จริงของตนเองได้จากการจัดทำบัญชีให้ถูกต้องทันเวลา และสอดคล้องกับหลักเกณฑ์และกฎหมายของหน่วยงาน เช่นกรมสรรพากร
3. เพื่อให้กิจการปรับตัว ปรับปรุงคุณภาพ ตรวจสอบความถูกต้องของธุรกิจได้ทันเวลาจากการจัดทำบัญชีที่ถูกต้อง ทันต่อเวลา ทันต่อการใช้งานข้อมูลต่างๆ ที่มี
จำนวนชั่วโมง CPD ที่ผู้ทำบัญชี นักบัญชีต้องการอบรม
ผู้ทำบัญชี
ผู้ทำบัญชีต้องเก็บชั่วโมง CPD 12 ชั่วโมงต่อปี เป็นวิชาเกี่ยวกับการบัญชีไม่น้อยกว่าครึ่งและต้องยื่นหลักฐานจำนวนชั่วโมง CPD ภายในวันที่ 30 มกราคม ของทุกปี
หลักปฏิบัติเกี่ยวกับ CPD ของผู้ทำบัญชี
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 ผู้ทำบัญชีต้องมีจำนวนชั่วโมง CPD ไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมงต่อปีปฏิทิน เว้นแต่ผู้ทำบัญชีที่แจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีสำหรับปีแรกและมีระยะเวลาที่เหลือหลังการแจ้งในปีนั้นน้อยกว่าหกเดือนให้เริ่มพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพในปีถัดไป โดยจำนวนชั่วโมง CPD ต้องมีเนื้อหาเกี่ยวกับการบัญชี ไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งและเนื้อหาด้านอื่น
ผู้ทำบัญชีสามารถแจ้งจำนวนชั่วโมง CPD ได้ที่ระบบออนไลน์ของสภาวิชาชีพบัญชี www.fap.or.th โดยแจ้งได้จนถึงวันที่ 30 มกราคมของปีถัดไป
คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้ทำบัญชี
คุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี หากเจ้าของกิจการมีคุณสมบัติตามนี้สามารถขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีของกิจการตนเองได้
คุณสมบัติของผู้ทำบัญชี
1.มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร
2.มีความรู้ภาษาไทยเพียงพอ
3.ไม่มีลักษณะต้องห้ามที่จะเป็นผู้ทำบัญชีตามกฎหมาย
4.ไม่เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุก เนื่องจากความผิดตามฐานความผิดหรือกฎหมายที่กำหนดในมาตรา 39 (3)
5.มีคุณวุฒิการศึกษา ดังต่อไปนี้
ก.วุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญาหรือ ปวส.ทางการบัญชีหรือเทียบเท่า สามารถเป็นผู้ทำบัญชีของกิจการดังนี้ได้ :
– ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
– บริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่ง ณ วันปิดบัญชีในรอบปีบัญชีที่ผ่านมามีทุนจดทะเบียนไม่เกินห้าล้านบาท มีสินทรัพย์รวมและรายได้รวมไม่เกินสามสิบล้านบาท
ข.วุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชีหรือเทียบเท่า สามารถเป็นผู้ทำบัญชีของกิจการดังนี้ได้ :
– ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่ง ณ วันปิดบัญชีในรอบปีบัญชีที่ผ่านมามีทุนจดทะเบียนไม่เกินห้าล้านบาท มีสินทรัพย์รวมและรายได้รวมไม่เกินสามสิบล้านบาท
– บริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
– นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
– กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
ค.กรณีที่เป็นการเริ่มทำบัญชีรอบปีบัญชีแรกของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี วุฒิการศึกษาของผู้ทำบัญชีให้พิจารณาโดยใช้เกณฑ์ทุนจดทะเบียนตามข้อ (ก.) และ (ข.) แล้วแต่กรณี
โฆษณา