1 ธ.ค. 2021 เวลา 09:19 • ประวัติศาสตร์
ได้เสียกันแล้วให้ถือว่าเป็นผัวเมียกัน
ยังไม่ได้เสียกันก็ให้ถือว่าเป็นผัวเมียกัน ได้เสียกันแล้วบางทีก็ยังไม่ถือว่าเป็นผัวเมียกัน..😳
เรื่องยุ่ง ๆ ของการตีความ ความเป็นผัวเมียในอดีต
ตามความเข้าใจโดยสามัญของคนทั่วไปในยุคนี้ หากจะบอกว่าใครกับใครได้กลายเป็นผัวเมียกันแล้ว ส่วนมากเราก็ให้ถือว่าเมื่อเกิดการได้เสียซึ่งกันและกัน เมื่อนั้นถือว่าทั้งคู่ได้เป็นผัว เป็นเมียกันแล้ว
🚩(ตรงนี้ห้ามใครเล่นมุกหญิงชายเล่นการพนันให้ถือว่าได้เสียกันใน comment นะครับ ถือว่าฟาล์ว)
8
การตีความการได้เป็นผัวเมีย ท่านให้ถือทางพฤตินัยเป็นสำคัญ แต่ก็ให้ถือในทางนิตินัย(กฎหมาย)เป็นหลักบังคับควบคุม
2
แต่หากย้อนไปในอดีตสมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลาง การตีความว่าใครได้เป็นผัวเมียกับใคร ไม่ได้ตีความแบบที่ว่ามาข้างต้น
เหตุเพราะกฎหมายลักษณะผัวเมีย (ผ.ม.)ในอดีต ได้ให้ความหมายของการเป็นผัวเมียไว้หลายนัยยะ
1
  • บางครั้งหญิงชายได้เสียกัน ท่านก็ให้ถือว่าเป็นผัวเมียกัน
  • บางครั้งหญิงชาย ยังไม่ได้มีใครได้ ใครเสีย ท่านก็ให้ถือว่าเป็นผัวเมียกัน
  • บางครั้งหญิงชายได้เสียกันแล้วหลายครั้ง ท่านก็ยังถือว่าสองคนนี้ ยังไม่ถือเป็นผัวเมียกัน
1
โอย!!!อ่านแล้วงง😖ตกลงจะให้เป็นผัวเมียกันตอนไหน?
4
สาเหตุที่นิยามความเป็นผัวเมียช่างชวนให้เวียนหัวก็เป็นเพราะ บทบัญญัติตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย(ผ.ม.)ในอดีต ได้ให้นิยามความเป็นผัวเมียไว้หลายทาง
เช่น "เมื่อชายใด ชอบพอหญิงคนหนึ่ง แล้วให้ผู้ใหญ่ไปสู่ขอถูกต้อง จนผู้ปกครองหญิงนั้นยินยอมยกให้ แม้ชายหญิงนั้นยังมิได้ร่วมประเวณี ด้วยเหตุชายมีกิจการงานต้องเดินทางไกล เมื่อชายนั้นกลับมาก็ให้ถือว่าสองคนได้เป็นผัวเมียกันก่อนแล้ว"(สรุปย่อ ผ.ม.119)
1
หรือ "หากชายใดมาลักลอบได้เสียกับหญิง โดยที่ผู้ปกครองฝ่ายหญิงมิได้รับรู้และยินยอม ให้ถือว่าชายนั้นมีความผิดฐานละเมิด ทั้งคู่มิใช่ผัวเมียกันตามกฎหมาย"(สรุปย่อ ผ.ม. 81,82,126,135)
หรือ"หากชายหญิงตกลงปลงใจใช้ชีวิตร่วมกันและแสดงตนต่อคนทั่วไปให้รับรู้เป็นเวลานานอย่างสุจริต เปิดเผย รวมทั้งอาจมีลูกหรือไม่มีก็ได้ แต่ต้องมิให้ธารกำนัลเข้าใจว่าหญิงนั้นเป็นเพียงผู้อาศัย
ก็ให้ถือว่า ทั้งสองเป็นผัวเมียกันแล้วเช่นกัน"
(สรุปย่อ ม.ผ.119,33,85)
1
และสุดท้าย "หากหญิงชายได้ร่วมประเวณีและตกลงอยู่กินกันโดยเปิดเผยจนคนทั่วไปรับรู้
ถึงแม้ผู้ปกครองฝ่ายหญิงจะมิได้อนุญาต แต่ก็ไม่ได้คัดค้านฟ้องร้อง ท่านให้ถือว่า หญิงชายสองคนได้เป็นผัวเมียกันถูกต้องตามกฎหมายแล้ว"
(สรุปย่อ ม.ผ.102)
เห็นไหมครับ การจะได้เป็นผัวเมียกันในอดีตมิใช่เรื่องง่ายที่แค่ได้ ๆ เสีย ๆ แล้วจะกลายเป็นผัวเมียกันได้
1
หลักใหญ่ที่สำคัญก็คือส่วนมากจำต้องได้รับการเห็นพ้องจากผู้ปกครองฝ่ายหญิงเสียก่อน จึงจะถือว่าชายหญิงคู่นั้นได้เป็นผัวเมียกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
1
ขอบคุณภาพประกอบจากละครบุพเพสันนิวาส
References;
ละครบุพเพสันนิวาส ช่อง 3 HD
ติดตามอ่านบทความได้ที่
โฆษณา