16 ธ.ค. 2021 เวลา 06:21 • ไอที & แก็ดเจ็ต
EP1: What is SAP?
สวัสดีค่ะ หัวข้อเริ่มต้นคงหนีไม่พ้นกับการทำความรู้จักว่า SAP คืออะไร ??
(ก่อนหน้านี้ได้เขียนบทความและ Publish ไปแล้วช่วงเวลานึง แต่ก็คิดทบทวนอยู่หลายครั้งว่า มีความมึนงงและเกร็งในการเขียนมากไป เลยอยากจะแก้ไขบทความใหม่นะคะ ต้องขออภัยผู้อ่านก่อนหน้าด้วยนะคะ)
บทความนี้จะเน้นแบบเข้าใจง่าย และภาษาที่กันเอง เหมือนเวลาเล่าให้คนรู้จักฟังว่าสิ่งที่เราทำอยู่นั้นคืออะไรนะคะ ร่ายยาวแล้ว ขอเริ่มเลยแล้วกันค่ะ
1. SAP คืออะไร ?
เป็น Software สำเร็จรูปที่ใช้สำหรับการจัดการข้อมูลในการทำธุรกิจต่างๆ โดยมีชื่อเต็มว่า "System Analysis Program Development" หรือเรียกสั้นๆ ว่า 'SAP' (อ่านว่า S-A-P) หรือที่หลายคนในวงการเรียกกันติดปากว่า แส้บ,เเซ้บ 555
ขอขยายความเพื่อความเข้าใจที่มากขึ้นนะคะ SAP เนี่ยสามารถจัดการข้อมูลได้ตั้งเเต่ต้นเลย ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรบุคคล (Human Resource), การขายและจำหน่าย (Sale and Distribution), การวางแผนการผลิต (Production Planning), การจัดการวัตถุดิบ (Material Management) ไปจนจบกระบวนการทางด้านการเงิน (Financial) ซึ่งแต่ละส่วนงานที่กล่าวไป ก็สามารถแยกย่อยลงได้อีกตามความละเอียดของบริษัทนั้นๆ
2. การทำงานในแต่ละส่วนงาน
คำนิยามในเเต่ละส่วนงานเราจะเรียกกันว่า Module ขอหยิบยกสถานการณ์เพื่อประกอบการอธิบายให้เห็นภาพในแต่ละโมดูลมีหน้าที่และการทำงานอย่างไร
ขอให้ผู้อ่านนึกภาพตามว่า เราไปซื้อเตียงนอนที่โฮมโปร* และให้จัดส่งที่บ้าน
( *ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทโฮมโปรนะคะ ขอหยิบยกสถานที่เพื่อประกอบการอธิบายเท่านั้น)
2.1 ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (Human Resource - HR)
เราจะสังเกตว่าพนักงานจะมีป้ายเพื่อบ่งบอกชื่อ-นามสกุล, เลขรหัสพนักงาน
ซึ่งข้อมูลต่างๆของพนักงานจะถูกจัดเก็บในระบบโดยแยกตามเลขรหัสพนักงาน เพื่อง่ายต่อการค้นหา ไม่ว่าจะเป็นชื่อ, ที่อยู่, เบอร์โทรศัพท์, ที่อยู่อาศัย เป็นต้น
สามารถเเยกย่อยลงได้คือ ระบบการจ่ายเงินเดือน (Payroll) เป็นต้น
2.2 การขายสินค้า (Sales Distribution - SD)
เมื่อเราตกลงใจว่าจะซื้อเตียงประเภทนี้ พนักงานขายก็จะทำการเปิดใบสั่งขายสินค้าให้กับเราและมีการสอบถามข้อมูลต่างๆ (ชื่อ, เบอร์โทรศัพท์, ที่อยู่, เลขรหัสสมาชิก, วันจัดส่งและการชำระเงิน)
กรณีที่ลูกค้าเป็นสมาชิก
- ระบบสามารถดึงข้อมูลต่างๆได้จากเลขสมาชิก หรือข้อมูลบางส่วน เพื่อความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพในการขายได้ในเวลาอันรวดเร็ว
กรณีที่ลูกค้าไม่ได้เป็นสมาชิก
- โดยส่วนใหญ่เท่าที่คลุกคลีกับการเป็นผู้บริโภค พนักงานจะเชียร์ให้ทำสมาชิก โดยอาจจะมีการดึงดูดด้วย โปรโมชั่น ต่างๆ ซึ่งในส่วนนี้ก็ง่ายเช่นเดียวกันค่ะ ใช้เเค่บัตรประชาชนเพียงใบเดียวและใช้เวลาไม่ถึงห้านาที (ในส่วนนี้จะใช้เทคโนโลยีอื่นๆเพิ่มด้วย เพื่อการดึงข้อมูลในบัตรมาเก็บข้อมูลใน SAP)
กรณีที่สินค้าไม่มีใน Stock
พนักงานจะสามารถเช็คข้อมูลได้จากฝ่าย MM, PP (ซึ่งจะกล่าวในหัวข้อถัดๆไปค่ะ ) และแจ้งกับทางลูกค้าว่าสามารถจัดส่งสินค้าให้ได้เมื่อไหร่
กล่าวสรุปในหัวข้อนี้คือ ซอฟแวร์จะเกี่ยวข้องกับการขายทั้งหมด ตั้งเเต่รับออเดอร์ไปจนส่งของให้ลูกค้า (เก็บข้อมูลลูกค้า, ใบการขาย เป็นต้น)
2.3. การจัดการสินค้า (Material Management - MM)
เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการจัดการสินค้าคงคลังตามการวางแผน ซึ่งครอบคลุมงานทั้งหมดของ Supply Chain จากตัวอย่าง ในส่วนนี้จะทำการซื้อสินค้าหรือส่วนประกอบกับทาง Vendor ที่ได้มาจากการคำนวนของฝั่ง PP เพื่อให้มีสินค้าพร้อมขาย หรือสามารถระบุวันที่มีสินค้าได้นั่นเอง
2.4 การวางแผนการผลิต (Production Planning - PP)
มีหน้าที่ในการคำนวนและวางเเผนผลิตสินค้า โดยส่วนใหญ่จะมีโมดูลที่ควบคู่กัน คือ Costing (CO) เพื่อคำนวน Plan ที่ต้องใช้และ Actual ที่เกิดขึ้นจริง
2.5 บัญชีและการเงิน (Financial Account - FI)
จากขั้นตอนที่ 2.2 พนักงานจะนำทางเรามาที่ counter เพื่อชำระเงินและเราก็ได้ใบเสร็จเพื่อยืนยันว่าชำระเงินเรียบร้อยแล้ว ในส่วนนี้จะมีการบันทึกข้อมูลรายรับ - รายจ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมดของบริษัทสำหรับให้ภายนอกตรวจสอบ เช่น รายงานส่งสรรพากร เป็นต้น รวมถึงรูปแบบข้อมูลต่างๆในการออกใบเสร็จ
สามารถเเยกย่อยในโมดูลได้อีกคือ Account Receivable (AR), Account Payable (AP) เป็นต้น
หลักๆแล้วในมุมของผู้บริโภคจะมีการ interactive ในส่วนของพนักงานขาย (2.2) และพนักงานแคชเชียร์ (2.5) เเค่นั้นเองค่ะ
3. ตำแหน่งงานและหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับ SAP
3.1 BASIS
การจัดการเกี่ยวกับระบบหลังบ้าน ตั้งเเต่การติดตั้ง Software, set up เครื่องให้พร้อมใช้งาน, กำหนดสิทธิ์และ user สำหรับการใช้งาน เป็นต้น
3.2 Functional
การเก็บ Business Requirement จากผู้ใช้งาน (User) เพื่อให้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่สามารถใช้งานได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ และประสานงานกับ Programmer ในการ Implement ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเเยกตามความถนัดของแต่สาย Business เช่น HR, SD, FI, CO, MM เป็นต้น
3.3 Programmer
ส่วนใหญ่ในวงการจะรู้จักกันในนาม ABAPer ซึ่งมาจาก Programmer ที่เขียนด้วยภาษา ABAP นั้นเองง งง ( และเเน่นอนผู้เขียนทำงานอยู่ใน Role นี้นั่นเองค่ะ ซึ่งในบทความถัดๆไป จะเน้นไปในรายละเอียดของ Role นี้เป็นส่วนใหญ่นะคะ)
  • บทสรุปส่งท้าย
SAP เป็น Software สำเร็จรูปที่ใช้ในการจัดการข้อมูลในการทำธุรกิจ ก่อตั้งในปี 1972 โดยชาวเยอรมัน เนื่องจากเป็นซอฟแวร์สำเร็จรูปที่มีพื้นฐานฟังก์ชั่นการทำงานที่สามารถใช้ได้กับทุกบริษัท และแน่นอนค่ะ ทุกบริษัทย่อมมีนโยบายและวิธีการทำงานที่แตกต่างกัน จึงทำให้มีอาชีพของหัวข้อที่ 3 เพื่อเข้ามาพัฒนาในจุดที่ Software อนุญาตให้ทำได้ ในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของบริษัทนั้นๆ อย่างตรงเป้าหมายนั่นเองค่ะ
หวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยให้กับผู้อ่านทุกท่านนะคะ
หากผิดพลาดในส่วนไหนหรือสนใจในสายงานนี้ สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้นะคะ
ขอบคุณค่ะ
โปรแกรมเมอร์ตัวน้อย
#SAPThailand #SAP #ABAP
What is SAP
โฆษณา