1 ธ.ค. 2021 เวลา 10:27 • สุขภาพ
## ผู้ป่วยโควิดอาการหนักแค่ไหน น้ำลายบอกได้ ##
ทุกวันนี้วิธีการหลักที่ใช้ในการเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งเพื่อตรวจหาเชื้อโควิด-19 คือวิธี "แยงจมูก" คือการเก็บตัวอย่างหลังโพรงจมูก ซึ่งสร้างความหวาดเสียวให้ใครหลายๆ คนและจำเป็นมากที่ผู้เก็บตัวอย่างต้องทำให้ถูกต้อง แต่เราก็ทราบกันว่ายังมีการ #ตรวจจากน้ำลาย ซึ่งง่ายกว่าด้วย เพียงแต่ยังไม่แพร่หลายเท่า
อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยเบื้องต้นจากมหาวิทยาลัยเยล (Yale University) ที่บ่งชี้ว่า ไม่เพียงการเก็บตัวอย่างจากน้ำลายจะทำได้ง่ายและสะดวกกว่าเท่านั้น แต่ความเข้มข้นของไวรัสในน้ำลายช่วยบอกอาการโควิดได้ดีกว่าความเข้มข้นของไวรัสหลังโพรงจมูก และช่วยบอกการติดเชื้อในปอดได้ดีกว่า โดยที่การตรวจตัวอย่างจากน้ำลายให้ผลที่สัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของโรคและแนวโน้มที่จะเสียชีวิตด้วย
ซึ่งนักวิจัยก็ได้เสนอว่าคณะแพทย์ผู้รักษาผู้ป่วยโควิดอาจใช้ผลการหาเชื้อจากวิธีนี้ประกอบการประเมินวิธีการรักษาและจัดลำดับความเร่งด่วนในการรักษาผู้ป่วยได้
╔═══════════╗
ZERO COVID THAILAND เพจสำหรับแชร์ข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อช่วยยุติการแพร่กระจายของโควิด-19ในไทย
#กดไลค์และติดตามเพจ Zero C Thailand รวมพลังไทยลดยอดติดเชื้อ ให้เหลือ “0” เพื่อรับแนวทางป้องกันโควิด-19 อย่างทันท่วงที งานวิจัย และ ข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์แบบเข้มข้น
╚═══════════╝
คณะนักวิจัย นำโดย ศ.ดร.อกิโกะ อีวาซากิ (Akiko Iwasaki) ภาควิชาภูมิคุ้มกันวิทยาและภาควิชาโมเลกุลเซลล์และชีววิทยาการพัฒนา คณะแพทยศาสตร์ มหาลิทยาลัยเยล (โครงการ ซาไลวาไดเร็ค: SalivaDirect) ได้ศึกษาผู้ป่วยจำนวน 154 คนที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล Yale-New Haven ในช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน 2563 และคนไม่ป่วย 109 คน แบ่งผู้ป่วยออกเป็นกลุ่มที่มีความเข้มข้นของไวรัสต่ำ ปานกลาง และสูง โดยเก็บตัวอย่างทั้งน้ำลายและหลังโพรงจมูก (NP: nasopharyngeal) จากผู้ป่วยแต่ละคนเอามาเทียบกันตรงๆ
ผลการศึกษาซึ่งดูทั้งความเข้มข้นของไวรัสด้วยวิธี RT-qPCR และเปรียบเทียบกับระดับภูมิคุ้มกัน (ไคโตโซน์ คีโมไคน์ และแอนติบอดี) พบว่า ความเข้มข้นของไวรัสที่พบจากตัวอย่างที่เก็บจากน้ำลายมีความผันแปรโดยตรงกับอาการของโรค ความรุนแรง และอัตราการเสียชีวิต ตามระยะเวลาที่ผ่านไป ในขณะที่การเก็บตัวอย่างจากหลังโพรงจมูกไม่สามารถบอกได้
ทั้งนี้ ในการศึกษา ได้ใช้ความเข้มข้นของไวรัสจากน้ำลาย เทียบความเข้มข้นของไวรัสจากหลังโพรงจมูก
กับปัจจัยเสี่ยง อายุ เพศ ของผู้ป่วย ผู้ที่มีอาการหนักและเสียชีวิต
สิ่งที่พบคือผู้ป่วยมีความเข้มข้นของไวรัสจากน้ำลายเพิ่มขึ้นตามระยะเวลา และจะลดลงถ้าคนป่วยหายและรอดชีวิต แต่ผู้ป่วยที่อาการหนัก และที่เสียชีวิต ความเข้มข้นของไวรัสจากน้ำลายจะยังสูงอยู่ตลอด
ความเข้มข้นของไวรัสจากน้ำลาย มีความสัมพันธ์กับระดับภูมิคุ้มกันสูง (ไซโตไคน์และคีโมไคน์) และผู้ป่วยที่มีความเข้มข้นของไวรัสในน้ำลายสูง มีแอนติบอดีไวรัสช้ากว่าผู้ป่วยที่มีความเข้มข้นของไวรัสในน้ำลายต่ำ
นอกจากการวิจัยข้างต้นที่ระบุถึงข้อมูลที่การเก็บตัวอย่างจากน้ำลายบอกได้มากกว่าวิธีแยงจมูกแล้ว คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเยลอีกชุดหนึ่ง นำโดย Anne L. Wyllie ยังสนับสนุนการตรวจที่ใช้ตัวอย่างจากน้ำลาย โดยระบุถึงความผันแปรของผลที่ได้จากการเก็บตัวอย่างจากหลังโพรงจมูกในผู้เข้ารับการตรวจคนเดียวกันเมื่อตรวจซ้ำๆ ด้วย อ้างอิงจากการตรวจบุคลากรทางการแพทย์ทั้งที่มีอาการและไม่มีอาการโควิด นอกจากนี้ยังเสริมว่า หากใช้การเก็บตัวอย่างจากน้ำลายจะช่วยลดความเสี่ยงที่บุคลากรทางการแพทย์ต้องเจอเพราะต้องทำการแยงจมูกเก็บตัวอย่างให้ผู้ที่มาเข้ารับการตรวจได้
ข้อเสนอนี้ตรงกับคำแนะนำของคณะวิจัยกลุ่มอื่น รวมถึงนักวิจัยทางคลินิกของ Beth Israel Deaconess Medical Center ที่มีผลงานตีพิมพ์เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ยืนยันว่าการตรวจโดยเก็บตัวอย่างจากน้ำลายให้ผลที่น่าเชื่อถือทัดเทียมกับการแยงจมูกเลย
ติดตามเราได้ที่
Saliva viral load is a dynamic unifying correlate of COVID-19 severity and mortality
Saliva could hold clues to how sick you will get from COVID-19
Compared with nasal swabs, saliva tests may better reflect infection deep in the lungs
Saliva or Nasopharyngeal Swab Specimens for Detection of SARS-CoV-2
Saliva is an easy and reliable way to detect viral load in patients.
Kinetics of antibody responses dictate COVID-19 outcome
Saliva is comparable to Nasopharyngeal Swabs for Molecular Detection of SARS-CoV-2
โฆษณา