4 ธ.ค. 2021 เวลา 05:09 • ไลฟ์สไตล์
ความลับของความสุขตามแนวคิดของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
วันนี้ผู้เขียนได้อ่านบทความภาษาอังกฤษ “This is the Secret of Happiness, According to Eienstein” (ตามอ้างอิง 1) เห็นว่าน่าสนใจ จึงอยากมาเล่าสู่กันฟังค่ะ
เครดิตภาพ: Pexels
แนวคิดหรือทฤษฎี เรื่องความสุข มีหลายแบบ สำหรับความสุขในทัศนะของพุทธศาสนามีอยู่ 3 ระดับที่สำคัญ คือ 1. กามสุข สุขเนื่องด้วยกาม 2. ฌานสุข สุขเนื่องด้วยฌาน และ 3. นิพพานสุข สุขเนื่องด้วยนิพพาน
นิพพานเป็นความสุขที่สมบูรณ์ เพราะเป็นความสุขตลอดเวลา ไม่ขึ้นกับเวลาเหมือนฌานสุข ไม่ต้องอาศัยวัตถุเหมือนกามสุข
ส่วนปุถุชนคนธรรมดาอย่างพวกเรา ความสุข ส่วนใหญ่จะหมายถึง กามสุข คือ สุขทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
2
อย่างไรก็ตาม ในทัศนะของพระพุทธศาสนาให้ความหมายของคำว่า “ความสุข” ในระดับพื้นฐานนี้คือ “ความสบาย ความสำราญ ความฉ่ำชื่นรื่นกายรื่นใจ” หรือการได้สนองความต้องการ หรือความสมอยากสมปรารถนา”
ส่วนความหมายของความสุขที่ครอบคลุม ความสุขทั้งหมด คือ ความสบายกาย ความสบายใจ และความสงบ หรือสงบระงับด้วยวิธีทางจิตและ ทางปัญญา ให้ไม่ต้องสนองความต้องการที่ไม่ดี
ความสงบนั้นก็เป็นความสุข และความสุขก็คือความสงบ สันติเป็น สุข สุขเป็นสันติ คือสันติสุข (ตามอ้างอิง 2)
เรามาดูความลับความสุขของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กันบ้าง
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เป็นนักฟิสิกส์ผู้ยิ่งใหญ่ ที่มีชื่อเสียงในด้านการค้นพบทฤษฎีสัมพัทธภาพ แต่เขายังสนใจกฎของสภาพจิตใจภายในด้วย
ตามที่ Psychology Today ได้กล่าวไว้ว่า ในปี 2474 ไอน์สไตน์ พูดถึงการค้นหาความสุขเป็นประจำ "มันเป็นความสุขที่เรากำลังตามหา" เขาบอกผู้สัมภาษณ์ที่ถามเขาว่ามนุษย์ต้องการอะไรมากที่สุด
 
การประชุมสัมมนาในปีเดียวกันนั้น เขาพูดว่า "นักศึกษาประวัติศาสตร์คนใดจะเห็นด้วยหรือไม่ว่า โดยทั่วไปแล้วชาวเมืองในอเมริกามีความสุขมากกว่าชาวกรีกหรือ เมืองบาบิโลนในอดีต?"
เห็นได้ชัดว่าอัจฉริยะผู้ยิ่งใหญ่รู้สึกที่คล้ายกับพวกเราที่มีคำถามว่า อะไรคือชีวิตที่มีความสุขอย่างแท้จริง เขาพบสมการที่ไขปริศนานิรันดร์นี้ได้หรือไม่? ได้ และเขายังได้เขียนความหมายของมันออกมาโดยใช้คำเพียง 17 คำ เท่านั้น
17 คำนี้มีค่าถึง 1.5 ล้านเหรียญอเมริกา
ในปี พ.ศ. 2465 หนึ่งปีหลังจากที่เขาได้รับรางวัลโนเบล ไอน์สไตน์ได้เดินทางไปญี่ปุ่นเพื่อฟังบรรยาย และพบว่าตัวเองถูกห้อมล้อมไปด้วยผู้ที่ชื่นชมเขา เห็นได้ชัดว่า เมื่อย้อนกลับไปในตอนนั้น เขาก็ยังตั้งคำถามเรื่องความสุขในใจ เพราะวันหนึ่งเมื่อพนักงานยกกระเป๋ามาส่งของที่ห้องพักในโรงแรม ไอน์สไตน์ยื่นกระดาษโน้ตพร้อมลายเซ็นคู่หนึ่งให้เขาแทนที่จะให้ทิป
หนึ่งในนั้นเป็นภาษาเยอรมันแปลว่า : "A calm and modest life brings more happiness than the pursuit of success combined with constant restlessness (ชีวิตที่สงบและเรียบง่ายนำมาซึ่งความสุขมากกว่าการแสวงหาความสำเร็จร่วมกับความกระวนกระวายที่เกิดขึ้นตลอดเวลา)"
ในปี 2560 กระดาษโน้ตพร้อมลายเซ็นนี้ ซึ่งปัจจุบันลูกหลานของเบลล์บอยคนหนึ่งได้เป็นเจ้าของ ขายได้ในราคา 1.56 ล้านดอลลาร์ในการประมูล ใครจะรู้ว่าวันหนึ่งลายเซ็นของเขาจะมีค่ามากกว่าทิปอย่างมหาศาล
แนวคิดของไอน์สไตน์ในเรื่องความสุขถูกต้องหรือไม่?
คำแนะนำหรือแนวคิดของไอน์สไตน์ จากข้อความของเขาในโน้ตที่สนับสนุนความพึงพอใจมากกว่าการดิ้นรนอย่างไม่สิ้นสุด
ไม่น่าแปลกใจเลย ในศตวรรษที่ผ่านมา ได้มีความเข้าใจบางสิ่งเกี่ยวกับวิถีแห่งความสุขอย่างแท้จริง ก่อนที่นักวิจัยทางจิตวิทยาสมัยใหม่จะยืนยันสิ่งเหล่านี้
ประการแรก คือ แนวคิดเรื่องความสุขไม่ได้กำหนดตัวเองเลย แดเนียล คาห์เนมาน ผู้ได้รับรางวัลโนเบลอีกคนหนึ่งได้ชี้ให้เห็นว่า บางครั้งเมื่อมีคนพูดถึงความสุข พวกเขา หมายถึงความสุขชั่วขณะ เช่น การกินเค้กช็อคโกแลตสักชิ้น หรือการกอดลูกสุนัข บางครั้งอาจหมายถึงความพอใจในชีวิต หรือความพอใจที่คุณได้รับจากการรู้สึกว่าคุณได้บรรลุสิ่งสำคัญหรือดำเนินชีวิตตามแนวทางของเรา
ความสุขสองอย่างที่มักจะขัดแย้งกัน คือการไล่ตามความฝันอันยิ่งใหญ่ และการเผชิญหน้ากับการขัดแย้งด้านจริยธรรม
นอกจากนี้ ยังมีความสุขอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมาจาก การมีประสบการณ์ที่มากมาย และหลากหลาย เช่น ความสุขเมื่อคุณได้เห็น และได้สัมผัสกับสิ่งที่โลกอันกว้างใหญ่และน่าอัศจรรย์นี้มอบให้
จะเห็นได้ว่า คำจำกัดความของความสุขมีหลายแบบ และเราแต่ละคนต้องตัดสินใจว่าเรากำลังไล่ตามแต่ละแบบมากน้อยเพียงใด ไอน์สไตน์เข้าใจสิ่งนี้อย่างชัดเจน เมื่อเขายอมรับสองเส้นทางที่เป็นไปได้ - สู่ความพึงพอใจหรือความสำเร็จ - ในบันทึกของเขา
ไอน์สไตน์กับลู่วิ่งไฟฟ้า
ไอน์สไตน์มองเห็นทางเลือกที่เราทุกคนต้องทำได้อย่างถูกต้อง การตัดสินใจที่ถูกต้องนั้น อาจขึ้นอยู่กับลักษณะของแต่ละคน เช่น Elon Musk ที่พบความสุขมากมายในขณะที่เขาใช้เวลาไปกับ "ชีวิตที่สงบและเรียบง่าย"
ความลับแห่งความสุขของไอน์สไตน์นั้นค่อนข้างใกล้เคียงกับแนวคิดทางจิตวิทยาสมัยใหม่ของลู่วิ่งไฟฟ้า คือ
"เราทำงานอย่างหนักเพื่อบรรลุเป้าหมายโดยคาดการณ์ถึงความสุขที่จะเกิดขึ้น น่าเสียดายที่เมื่อใกล้จะถึงจุดหมาย เราก็เลื่อนกลับไปทีจุดเริ่มต้นของเราอย่างรวดเร็วสู่วิถีชีวิตปกติ และเริ่มไล่ตามสิ่งต่อไปที่เราเชื่อว่าสุดท้ายจะทำให้เรามีความสุข” นักจิตวิทยา แฟรงค์ ที. แมคอันเดร ได้อธิบายไว้
หากคุณกำลังตั้งเป้าไปที่เครื่องหมายแห่งความสำเร็จภายนอกทั้ง ไอน์สไตน์และจิตวิทยาสมัยใหม่ ต่างเห็นพ้องกันว่า คุณจะไม่มีวันไปถึงจุดหมายไม่ว่าคุณจะวิ่งอย่างเมามันแค่ไหน ท้ายที่สุด ไอน์สไตน์ได้มาถึงจุดสูงสุดของความสำเร็จทางวิทยาศาสตร์ภายนอกอย่างชัดเจน ดังนั้นเขาน่าจะรู้และเข้าใจความจริงจากประสบการณ์ของเขา
17 คำไม่พอ แต่เป็นการเริ่มต้นที่ดี
ความสุขเป็นการกระทำที่สมดุล การดิ้นรนมากเกินไปอาจทำให้คุณรู้สึกโดดเดี่ยว และลำบากใจ ไม่เพียงแต่เท่านั้น อาจจะทำให้คุณเสียใจ และขึ้นอยู่กับว่าคุณได้ตั้งเป้าไว้อย่างไร เช่น ความเชี่ยวชาญ หรือ ความรุ่งโรจน์และเงิน
 
แม้แต่ไอน์สไตน์ก็ไม่สามารถสรุปทุกสิ่งที่ทุกคนจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับความสุขได้เพียง 17 คำ
แต่ "ทฤษฎีความสุข" ของเขายังคงกระทบกับบางสิ่งที่สำคัญ ที่เราทุกคนสามารถได้รับประโยชน์จากการคำนึงถึงความสุข ไม่ใช่แนวคิดง่ายๆ
เราแต่ละคนจำเป็นต้องกำหนดเป็นรายบุคคลสำหรับตัวเราเอง (และคำจำกัดความเหล่านั้นอาจเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา) แต่คำจำกัดความใดก็ตามที่คุณเลือก ให้ระวังเรื่องการกระวนกระวายหรือการดิ้นรนอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
บ่อยครั้ง การไล่ตามความสำเร็จภายนอกทำให้เราทำงานอย่างน่าสังเวช ไม่เข้าใกล้ความพอใจ
ในฐานะนักวิทยาศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก ไอน์สไตน์ รู้ดีว่านั่นเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในปี 1922 ซึ่งปัจจุบันก็ยังเป็นความจริงไม่แพ้กัน สำหรับพวกเราทุกคนที่ไม่ใช่อัจฉริยะ
ทั้งหมดเป็นความลับของความสุขตามแนวคิดของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
จะเห็นได้ว่า ไอน์สไตน์มีมุมมองความสุขแนวเดียวกับพระพุทธศาสนา คือ ความสงบและเรียบง่ายนำมาซึ่งความสุข
1
เช่นเดียวกับที่พระพุทธศาสนาให้ดำเนินชีวิต เดินทางสายกลาง หรือ มัชฌิมาปฏิปทา หมายถึง ความสมดุล ความเหมาะสม ความเสมอ ความพอดี นั่นเอง
1
อ้างอิง:
2. file:///C:/Users/User/Downloads/187406-ไฟล์บทความ-546794-1-10-20190504%20(3).pdf

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา