4 ธ.ค. 2021 เวลา 10:14 • ประวัติศาสตร์
สาเหตุที่ “อารยธรรมเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia)” เป็นดั่ง “แหล่งกำเนิดอารยธรรม”
ในสมัย “เมโสโปเตเมีย (Mesopotamia)” มีหลายปัจจัยที่ทำให้การเกษตร สถาปัตยกรรม และบริบทต่างๆ ทางสังคม ปรากฎโฉมในประวัติศาสตร์
2
ในขณะที่อารยธรรมมนุษย์ปรากฎขึ้นในหลายๆ แห่งทั่วโลก หากแต่อารยธรรมแรกๆ ก็ปรากฎขึ้นในตะวันออกกลางเมื่อหลายพันปีก่อน
ทั้งเมืองแห่งแรกๆ การเขียน และเทคโนโลยีในยุคแรกๆ ก็ล้วนแต่กำเนิดมาจากเมโสโปเตเมีย
สำหรับชื่อ “เมโสโปเตเมีย (Mesopotamia)” ก็มาจากศัพท์ภาษากรีกโบราณ แปลว่า “ดินแดนที่ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำ” ซึ่งก็คือดินแดนที่ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำไทกริสและยูเฟรตีส ซึ่งเป็นแม่น้ำที่อยู่บริเวณชายแดนของดินแดนที่ปัจจุบันคืออิรัก รวมทั้งบางส่วนของซีเรีย ตุรกี และอิหร่าน
5
แม่น้ำที่สำคัญนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เมโสโปเตเมียกลายเป็นดินแดนที่รุ่งเรือง มีการพัฒนาจนกลายเป็นสังคม และมีความเจริญก้าวหน้าต่างๆ ทั้งการเขียน การพัฒนาทางด้านสถาปัตยกรรม ระบอบการปกครอง
2
แม่น้ำไทกริสและยูเฟรตีส ช่วยทำให้ผืนดินรอบๆ อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเพาะปลูก และเป็นบริเวณที่เหมาะสำหรับการปฏิวัติเกษตรกรรม (Agricultural Revolution) ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อกว่า 12,000 ปีก่อน
และเมื่อมนุษย์เริ่มที่จะรู้จักการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ทำให้เริ่มมีการรวมกลุ่ม เกิดเป็นหมู่บ้าน เป็นสังคม ก่อนจะค่อยๆ ขยายเป็นเมือง และเกิดการพัฒนาของอารยธรรมในด้านต่างๆ เช่น สถาปัตยกรรม การสื่อสาร และการปกครอง
แต่นอกเหนือจากปัจจัยที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ การกำเนิดและพัฒนาของอารยธรรมยังมีปัจจัยอื่นๆ อีก เช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและธรรมชาติ ทำให้ผู้คนรู้จักวางแผนและปรับตัว
1
อารยธรรมในเมโสโปเตเมีย ไม่ได้พัฒนาไปในทิศทางเดียวกันทั้งดินแดน โดยจากการศึกษาค้นคว้า พบว่าอารยธรรมนั้น มีการพัฒนาไปอย่างก้าวหน้าในบริเวณที่ต่ำของเมโสโปเตเมีย ซึ่งปัจจุบันคือภาคใต้ของอิรัก และบริเวณที่สูงของเมโสโปเตเมีย ซึ่งปัจจุบันคือภาคเหนือของอิรัก และดินแดนบางส่วนในภาคตะวันตกของซีเรีย
1
หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้อารยธรรมในดินแดนทั้งสองขยายตัวอย่างรวดเร็ว ส่วนหนึ่งก็มาจากสภาพอากาศ ซึ่งเมื่อ 6,000-7,000 ปีก่อน มีฝนตกชุกกว่าปัจจุบัน
ดินแดนทางตอนใต้ของเมโสโปเตเมียในยุคแรกๆ เป็นที่ลุ่มขนาดใหญ่ มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นผืนน้ำที่เชื่อมต่อสู่ทะเลทางอ่าวเปอร์เซีย ทำให้ผู้คนจากทางใต้สามารถพัฒนาเส้นทางการค้า
1
ในบริเวณที่สูงของเมโสโปเตเมีย ปริมาณน้ำฝนนั้นมีมากพอที่ทำให้ชาวนาไม่ต้องทำชลประทานมาก อีกทั้งยังมีเส้นทางสู่ภูเขาและป่าไม้ ทำให้มีแหล่งสำหรับล่าสัตว์และตัดฟืน
พืชที่ชาวนาเมโสโปเตเมียในยุคแรกๆ เพาะปลูก ก็ได้แก่ข้าวบาร์เลย์และข้าวสาลี และยังมีผักต่างๆ เช่น ถั่ว แตงกวา กระเทียม และผลไม้อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นองุ่น แอ๊ปเปิ้ล หรือเมล่อน เป็นต้น
3
นอกจากนั้น ยังมีการเลี้ยงวัวและแพะเพื่อเอานมมาทำเป็นเนย และเก็บเนื้อเป็นเสบียงอีกด้วย
อาจจะเรียกได้ว่า การปฏิวัติอุตสาหกรรมในเมโสโปเตเมีย นำไปสู่ลำดับขั้นต่อไป นั่นคือการปฏิวัติเมือง (Urban Revolution)
เมื่อ 5,000-6,000 ปีก่อน หมู่บ้านในซูเมอร์ได้พัฒนา กลายเป็นเมือง
หนึ่งในเมืองที่เก่าแก่และโดดเด่นที่สุด ก็คืออูรุก (Uruk) ซึ่งเป็นเมืองที่มีประชากรราว 40,000-50,000 คน
อูรุก (Uruk)
เป็นไปได้ว่าระบบการเขียน ศิลปะ สถาปัตยกรรม และระบบการบริหารของรัฐบาลของชาวสุเมเรียน อาจจะเป็นระบบแรกๆ ของโลก อีกทั้งชาวสุเมเรียนยังมีวิวัฒนาการในด้านอื่นๆ ทั้งการเพาะปลูก และการปั้นเครื่องปั้นต่างๆ
คงจะไม่เกินจริงนัก หากจะกล่าวว่าเมโสโปเตเมีย เป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมแห่งแรกๆ ของมนุษย์
โฆษณา