5 ธ.ค. 2021 เวลา 09:39 • ประวัติศาสตร์
"Heterotopia in Animation
เข้าใจเรื่องพื้นที่ทับซ้อนและ Utopia ผ่าน Howl’s moving castle"
(2004)-Hayao Miyazaki (director)
#NDOGibliseries
Howl’s moving Castle การ์ตูน Romantic Fantasy ของค่าย Dtudio Gibli
ที่แฝงแนวคิดวัฒนธรรมทางสายตาไว้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของดินแดนในอุดมคติ พื้นที่ทับซ้อน โดยพื้นที่นี้เปรียบเสมือนเมืองที่เราอยากมี แต่ไม่สามารถมีได้ จึงเกิดเป็นการซ้อนทับภาพของพื้นที่ในอุดมคติ ซ้อนกับเมืองในจินตนาการที่เป็นไปได้ว่ามีแรงบันดาลใจจากบ้านเมืองตะวันตก
Cr. Netflix
เรื่องราวคร่าวๆ
เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในดินแดนหนึ่งซึ่งกำลังมีภัยสงคราม มีตัวละครเอก คือ Sophie เด็กสาวที่ประกอบอาชีพช่างทำหมวก และ Howl พ่อมดที่ได้ช่วยเหลือเธอจากการถูกทหารลวนลาม Sophie ถูกแม่มดจากทุ่งร้างสาปให้เป็นหญิงชรา และได้เดินทางไปยังปราสาทเวทย์มนต์ของ Howl ซึ่งมีความพิเศษคือสามารถ เคลื่อนที่ไปยังพื้นที่ต่างๆได้ การที่จะเข้าไปภายในปราสาท ต้องได้รับการอนุญาติจาก Calcifer ปีศาจไฟที่ทำหน้าที่ในการขับเคลื่อน จากนั้น Sophie ก็ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ต่างๆของเรื่อง จนถึงเปลี่ยนความคิดของ Howl ที่ยึดติดอยู่กับความงามของรูปลักษณ์ คล้ายกับลักษณะของผู้ที่ยึดติดในอุดมคติ มาเป็นผู้เห็นคุณค่าที่แท้จริงของมนุษย์ และเสียสละ ใช้อำนาจของตนในการสงบศึกสงคราม
แนวคิดที่เราจะนำเสนอในเรื่องนี้
- ว่าด้วยเรื่อง "พื้นที่ทับซ้อน" (Heterotopia) คือการอยู่ร่วมกันของสองแนวความคิดที่ต่างกันมาทับซ้อนอยู่ในพื้นที่หนึ่ง โดยสื่อผ่านองค์ประกอบ สัญลักษณ์ และวัตถุทางวัฒนธรรมต่างๆ ว่าเป็นของคน หรือแนวคิดในอีกพื้นที่
ในภาพยนต์ พื้นที่ในเรื่อง คือการทับซ้อนที่ชัดเจนระหว่างมนุษย์ธรรมดากับพ่อมด/แม่มด อาจหมายถึงการอยู่ร่วมกันของคนที่มีอำนาจและคนทั่วไป แสดงถึงความเหลื่อมล้ำในสังคม ที่ไม่อาจเป็นUtopia ได้ และในปราสาทของ Howl ที่เดินทางข้ามเมืองต่างๆ ทับซ้อนกับเมืองที่ Sophie อาศัยอยู่และเมืองหลักของเรื่อง ผู้ที่อาศัยอยู่ในปราสาทสามารถออกไปไหนก็ได้ โดยมีกลไกอยู่ที่แผ่นสีข้างประตู ทว่าต้องมี "เงื่อนไข" บางอย่างถึงจะเข้ามาอยู่ได้ ดูจากปมของตัวละครในเรื่อง และ "ปีศาจไฟ " (Calcifer) จะเป็นผู้อนุมัติ และเป็นเหมือนเชื้อเพลิงที่ทำให้ Balloon ลอยได้ ปราสาทแห่งนี้จึงคล้ายกับการเดินทางของ Balloon ที่เดินทางท่ามกลางเมืองในอุดมคติของพ่อมดแม่มด
และอีกแนวคิดคือ
- "พื้นที่ในอุดมคติ หรือ Utopia"
Utopia คือ สังคมในอุดมคติ ที่สามารถแก้ปัญหาสังคมที่มีอยู่ให้เป็นเมืองที่มีความสมบูรณ์แบบ หรือชีวิตที่มีทางเลือกมากมายในพื้นที่นั้น
โดยในเนื้อเรื่อง แสดงถึงความเป็นเมืองในอุดมคติ หรือเมืองที่ผู้สร้างจินตนการขึ้นมาเป็นเมืองที่ได้แรงบันดาลใจมาจากชาติตะวันตก เป็นไปได้จากการแต่งกาย ในฉากการเฉลิมฉลองในภาพที่ 2 ยังแสดงถึงการเต้นรำในแบบตะวันตก ซึ่งเป็นการเต้นแบบ Ballroom ไม่พบในวัฒนธรรมดั้งเดิมของญี่ปุ่น ว่าเฉลิมฉลองโดยการเต้นรำเช่นนี้ หรือความเป็นตะวันตกในรายละเอียดของเรื่อง อย่างการทานอาหาร การสวมหมวกปีกของสตรี หรือภาพของการมีตัวหนังสือภาษาอังกฤษ
อาจเป็นการแสดงทัศนะที่แฝงในเรื่อง ว่าด้วยความเป็นอุดมคติ เป็นแนวคิดของชาติตะวันตก การสร้างดินแดนในภาพยนต์เรื่องโดยให้มี Theme ของความเป็นตะวันตก ในช่วงคริสตร์ศตวรรรษที่ 19 ซึ่งตรงกับช่วงที่ตะวันตกเข้ามาล่าอาณานิคมในประเทศญี่ปุ่นและประเทศอื่นๆในทวีปเอเชีย และแนวคิดเรื่องพื้นที่ที่มีขึ้นมาในช่วงเวลานี้
โดยประเด็นนี้ เรามีความเห็นว่า ผู้สร้างภาพยนต์ คือ Hayao Miyazaki สร้าง Utopia โดยใช้ animation เป็นเครื่องมือในการบอกเล่า เป็นสื่อที่สามารถแสดงถึงสิ่งที่อยู่ในจินตนาการของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี ก่อนที่ภาพยนต์จะมีการทำ Computer Graphic เมืองในจินตนาการของความสมบูรณ์แบบ และยังบอกเล่าถึงปัญหาที่ยับยั้งความสมบูรณ์แบบของเมือง และอาจแฝงแนวคิดเรื่องการไม่มีอยู่จริงของดินแดนในอุดมคติ
ลองมาเชื่อมโยงของทฤษฎีในเรื่องกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน
ความเป็นอุดมคตินั้นจำเป็นต่อชีวิตจริงหรือ? ผู้ที่กำหนดคุณสมบัติของความเป็นอุดมคติแน่ใจหรือว่ามีอยู่จริงและสามารถใช้ได้กับการปกครองบ้านเมือง จากการเชื่อมโยงเนื้อเรื่อง Howl’s moving castle กับความเป็นมนุษย์ หรือ Anthropocene (ตรงนี้สามารถอ่านทฤษฏีนี้ จากบทความก่อนหน้าได้นะฮะ)
ความเป็นอุดมคติอย่างที่ชาติมหาอำนาจนิยมนั้น ทำให้เราหลงลืมความเป็นมนุษย์ ลืมภาพจำธรรมชาติของมนุษย์ที่Bias ความต้องการอิสรภาพ เพียงแต่ควรมีกฎหมายในการการควบคุมจัดระเบียบสังคมเท่านั้น หรืออาจเพราะความเป็นอุดมคตินั้น ง่ายต่อการควบคุมและจัดระเบียบสังคมของผู้นำนั่นเอง
การทับซ้อนทางวัฒนธรรมในญี่ปุ่น
อย่างในภาพยนต์เรื่องนี้ ผู้ศึกษามองว่าเป็นการเข้ามาของชาติตะวันตกในญี่ปุ่น ในคริสตศตวรรษที่ 19 ที่เห็นได้ในปัจจุบันที่เมืองโกเบ เมืองท่าสำคัญ ที่มีการสร้างสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกมากมาย เป็นผลจากการเข้ามาของชาติมหาอำนาจ ประกอบกับความเป็นพื้นที่ทับซ้อนทั้งทางประวัติศาสตร์เรื่องของ Colonial ที่สะท้อนผ่านหลักฐานที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า อย่างบ้านเรือนที่สร้างแบบ Westernization และสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมอย่างบ้านชาวต่างชาติในเมืองโกเบ ที่เป็นทั้งพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ ทับซ้อนกับการเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพื้นที่เชิงพาณิชย์ของเมืองท่า
สุดท้ายแล้วจ้า
กลับมาที่เนื้อเรื่องของเรา
ในตอนท้ายเรื่อง ราชินีแม่มดที่ปรึกษาของพระราชา ยังคงอยู่ สั่งให้จบสงคราม อาจหมายถึงคนที่เป็น Dystopia ยังคงอยู่ เป็นนัยน์ว่า Utopia นั้นไม่มีจริง เช่นเดียวกันกับแม่มดแห่งทุ่งร้าง มีคาแรคเตอร์ที่เป็นคนยึดติดในสิ่งต่างๆ ทำให้เหมือนคนไม่มีความสุข คล้ายกับผู้สร้างจะบอกผู้ชมว่า หากมนุษย์ในสังคมยึดติดกับความเป็นอุดมคติก็คงไม่มีความสุข และความสุขก็เป็นหนึ่งในคุณสมบัติของดินแดนในอุดมคตินี้ และหากตัวละครเอกอย่างSophie มีนิสัยเช่นนี้ คงไม่สามารถนำพาเรื่องให้จบแบบสุขนาฏกรรมได้ ส่วน Howl เมื่อได้พบกับ Sophie เขามีความคิดที่จะทำเพื่อผู้อื่นมากกว่าที่จะยึดติดอยู่แต่ความงามและตัวเอง เขาต้องการที่จะสงบศึก เสียสละใช้ร่างปีศาจในการต่อสู้กับยุทโธปกรณ์ เปรียบเหมือนการใช้อำนาจของตนในทางที่ถูกต้อง อาจเป็นหนึ่งใน Utopia ที่ผู้กำกับของเรื่องแฝงเอาไว้ในภาพยนต์
และสุดท้าย ปราสาทของ Howl เหมือนกับการอุปลักษณ์วิมานลอย ในภาพยนต์เรื่อง Gone With The Wind ของ ‎David O. Selznick ว่าคล้ายกับการยึดติดในอุดมคติ ความสุข สมบูรณ์เปรียบเสมือนวิมานที่วันหนึ่งได้เลือนหายไป หากยึดติดไม่ปล่อยวางผลลัพธ์ที่ได้มีแต่จะพังทลาย ในขณะที่ Sophie ในตอนท้ายยอมสละปราสาทโดยไม่ยึดติดถึงความสุข สมบูรณ์แบบที่ Howl ตั้งใจมอบให้ แต่กลับเสียสละเพื่อต้องการรักษาชีวิตของ Howl และคนอื่นๆที่อาศัยอยู่ร่วมกัน คล้ายกับจะบอกว่า การเสียสละ จะนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่ดีเสมอ และหากยึดติดกับอุดมคติ ผลลัพธ์ที่ได้ออกมา อาจตรงกันข้ามกับตอนจบของภาพยนต์
โฆษณา