6 ธ.ค. 2021 เวลา 05:33 • สุขภาพ
## แค่เช็ดลูกบิดประตู ราวบันได ยังไม่พอ จะหยุดเชื้อโควิดในโรงเรียน ต้องใส่ใจการระบายอากาศ ##
2
ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา หลังจากเด็กๆ ได้กลับเข้าไปเรียนที่โรงเรียน เราได้ยินข่าวว่ามีเด็กหรือคุณครูติดโควิดและหลายโรงเรียนต้องประกาศปิดอีกครั้ง
เรามาลองดูข้อแนะนำของศูนย์ควบคุมโรคติดต่อของสหรัฐ (Centers for Disease Control and Prevention: CDC) สำหรับการระบายอากาศในโรงเรียนและสถานที่ดูแลเด็กที่ใช้มาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2564 จะเห็นได้ว่า ให้ความสำคัญกับเรื่องการระบายอากาศเป็นอย่างมาก เพราะเราทราบกันชัดๆ แล้วว่า #โควิดแพร่ทางอากาศเป็นหลัก
CDC อธิบายว่า การระบายอากาศ เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพ และเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญประการหนึ่งในการป้องกันโควิด-19 ในโรงเรียนและสถานดูแลเด็ก การสวมหน้ากากจะช่วยปกป้องผู้สวมใส่จากการสูดหายใจเอาไวรัสเข้าไป แต่การระบายอากาศที่ดีเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่ช่วยลดละอองไวรัสในอากาศ เมื่อรวมกับมาตรการอื่นๆ แล้ว การจัดการระบายอากาศให้ดีจะช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่ของเชื้อ
╔═══════════╗
ZERO COVID THAILAND เพจสำหรับแชร์ข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อช่วยยุติการแพร่กระจายของโควิด-19ในไทย
 
#กดไลค์และติดตามเพจ Zero C Thailand รวมพลังไทยลดยอดติดเชื้อ ให้เหลือ “0” เพื่อรับแนวทางป้องกันโควิด-19 อย่างทันท่วงที งานวิจัย และ ข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์แบบเข้มข้น
╚═══════════╝
คำแนะนำดังต่อไปนี้ เป็นข้อแนะนำที่ใช้ได้ทั้งในโรงเรียน อาคารขนาดใหญ่ และที่บ้าน
อย่าลืมมาตรการอื่นๆ เช่นการรักษาระยะห่าง และที่สำคัญคือการสวมหน้ากากให้มิดชิด
 
เด็กๆ อายุ 2 ขวบขึ้นไปควรสวมหน้ากากตลอดเวลา มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบไม่ควรสวมหน้ากาก
ควรใช้เวลาในที่โล่งแจ้งนอกอาคารให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
หากปลอดภัยมากพอ ควรเปิดหน้าต่างและประตู หรือแง้มไว้ก็ยังดีเพื่อช่วยให้มีอากาศไหลเข้าออกเปลี่ยนอากาศในห้อง ซึ่งจะลดโอกาสการแพร่และลดความเข้มข้นของไวรัสในห้องหรืออาคาร แต่อย่าเปิดหากอันตรายเกินไป เช่น เสี่ยงที่เด็กจะตกจากอาการ เจออากาศร้อนจัดหรือหนาวจัด หรือเกิดอาการภูมิแพ้จากอากาศภายนอก
💡 ใช้พัดลม
ใช้พัดลมช่วยระบายอากาศ จัดวางให้ช่วยพัดอากาศเก่าในห้องออกไปและดูดอากาศใหม่จากข้างนอกเข้ามา แต่อย่าลืมใช้ที่ครอบหรือหน้ากากของพัดลมป้องกันเด็กเอานิ้วแหย่
💡 ระบบเครื่องทำความร้อน การระบายอากาศ และการปรับอากาศที่เหมาะสม (Heating, Ventilation, and Air Conditioning: HVAC)
ทำความสะอาดและบำรุงรักษาระบบการระบายอากาศให้มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานเสมอ ซึ่งอากาศภายในอาคารจะต้องมีคุณภาพตามที่ The American Society of Heating, Refrigerating and Air-Conditioning Engineers (ASHARE) กำหนดในแต่ละพื้นที่ การดูแลเด็กที่บ้านก็ควรได้มาตรฐานตามที่หน่วยงานรัฐทั้งส่วนกลางและท้องถิ่นกำหนด ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
ตั้งระบบ HVAC ให้ดึงอากาศข้างนอกเข้ามาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้และปลอดภัย แทนที่จะใช้อากาศหมุนเวียน แต่หากต้องใช้อากาศเก่าที่หมุนเวียนต้องตั้งระบบให้ผ่านตัวกรองให้บ่อยขึ้น
เพื่อให้อากาศใหม่เข้ามาอย่างสม่ำเสมอ ให้ปิดระบบ Demand-controlled ventilation (DCV) ซึ่งจะลดปริมาณอากาศและปรับอุณหภูมิตามจำนวนผู้ที่อยู่ในห้อง
 
หากระบบ HVAC ใช้เทอร์โทสตัท อย่าปรับระดับลมเป็น Auto แต่ให้เลือก “On” อยู่เสมอ เพื่อให้มีอากาศใหม่ผ่านตัวกรองและเข้ามากระจายในห้องอย่างสม่ำเสมอ
ในแต่ละวัน ก่อนการใช้ห้อง ให้เปิดระบบ HVAC ทิ้งไว้ล่วงหน้าอย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อนจะมีคนเข้ามาใช้ห้องและเปิดต่อไปอีก 2 ชั่วโมงเมื่อออกจากห้องกันไปแล้ว เพื่อให้มีอากาศใหม่เข้ามาและเอาอากาศ ซึ่งอาจมีเชื้อโรคตกค้างอยู่ออกไป
 
💡 การระบายอากาศสำหรับที่รับประทานอาหาร
การระบายอากาศยิ่งมีความสำคัญยิ่งขึ้นเมื่อนักเรียนไม่สามารถสวมหน้ากากได้ เช่น เวลารับประทานอาหาร หากเป็นไปได้ การรับประทานอาหารในที่โล่งนอกอาคารดีที่สุด แต่หากต้องให้รับประทานในโรงอาหารให้ใช้มาตรการต่างๆ เช่นเปิดหน้าต่าง ใช้ระดับการกรองอากาศแบบสูงสุดและใช้เครื่องกรองอากาศประสิทธิภาพสูง (HEPA) แบบเคลื่อนที่มาช่วยเสริม
การกรองและทำความสะอาดอากาศในโรงเรียนและการดูแลเด็ก
1
เพิ่มการกรองอากาศให้มากที่สุดตราบเท่าที่ไม่ลดการไหลเวียนของอากาศมากจนเกินไป
 
ใช้และบำรุงรักษาอุปกรณ์กรองอากาศตามคำแนะนำของผู้ผลิต
 
หากทำได้ให้ใช้เครื่องกรองประสิทธิภาพสูง (HEPA) แบบเคลื่อนที่ได้มาเสริม โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงมากขึ้น เช่น ห้องพยาบาล หรือบริเวณแยกตัวผู้ป่วย
พิจารณาใช้แสงยูวีฆ่าเชื้อ (ultraviolet germicidal irradiation (UVGI) เพิ่ม โดยเฉพาะเมื่อการระบายอากาศและกรองอากาศในพื้นที่นั้นๆ ทำได้จำกัด ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
💡 รถโรงเรียน
ให้เปิดหรือแง้มหน้าต่างรถโรงเรียนให้เกิดการไหลเข้าออกของอากาศ แต่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของเด็กด้วย ใช้คู่กับมาตรการอื่นๆ อยู่เสมอ เช่น การใส่หน้ากากสำหรับเด็กอายุ 2 ปีขึ้ไป และการเว้นระยะห่าง
 
💡 ห้องน้ำ ห้องครัว
ดูแลรักษาระบบระบายอากาศเสีย/ควัน ในห้องน้ำและห้องครัวให้ดีอยู่เสมอ และเปิดต่อไปอีก 2 ชั่วโมงหลังโรงเรียนเลิก
 
เป็นอย่างไรบ้างคะ เป็นข้อแนะนำที่ดีและน่าจะนำมาปรับใช้ในโรงเรียนในประเทศไทยเป็นอย่างยิ่งเลยใช่ไหมคะ และเราอาจจะทำได้ง่ายกว่าด้วยเพราะไม่ต้องเจออากาศหนาวหรือร้อนจัดสุดขั้ว
 
เราหวังว่าโรงเรียนต่างๆ ในประเทศไทยจะให้ความสำคัญกับเรื่องการระบายอากาศเป็นอย่างยิ่งนะคะ เพราะเราทราบกันดีแล้วว่า #โควิดแพร่ทางอากาศเป็นหลัก และการทำความสะอาดเพียงพื้นผิวต่างๆ ยังไม่เพียงพอที่จะป้องกันการแพร่ระบาดของเจ้าไวรัสตัวร้ายนี้ค่ะ
ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เชื้อจะกลายพันธุ์ไปอย่างไร สิ่งที่ทุกคนทำได้เพื่อหยุดการระบาดของโควิดคือการปกป้องตัวเองอย่างดีที่สุด ยกการ์ดให้สูง สวมหน้ากากป้องกันละอองลอย เช่น หน้ากาก N95 KF94 หรือหน้ากากที่มีคุณภาพที่ดีกว่าให้มิดชิด เว้นระยะห่างทางสังคมและอยู่ในที่ที่มีการระบายอากาศที่ดี รวมถึงใช้ชุดตรวจโควิดแบบเร็ว (ATK) ตรวจหาเชื้ออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
แล้วเราจะผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปด้วยกันนะคะ
ติดตามเราได้ที่:
 
 
อ้างอิง:
Ventilation in Schools and Childcare Programs
โฆษณา