6 ธ.ค. 2021 เวลา 16:24 • คริปโทเคอร์เรนซี
Binance Earn คืออะไร เหมาะกับมือใหม่ LV1
1
หากใครที่ชอบคริปโตเคอร์เรนซี่ โดยเฉพาะสาย Holder ที่ต้องการสร้างรายได้แบบ Passive Income ที่เน้นการเก็บออมแล้วได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าธนาคารโดยให้คริปโตเคอร์เรนซี่ที่เราครอบครองมาสร้างรายได้ให้เราแทนที่จะถือไว้เฉยๆ ด้วยผลิตภัณฑ์ Binance Earn ที่สามารถวางแผนการลงทุน เลือกระดับความเสี่ยง ระยะเวลา และผลตอบแทนได้ แต่ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นเพียงแค่นักเทรดแบบ Holder เท่านั้นที่จะเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์นี้ ถ้าคุณเป็นผู้ที่ชื่นชอบในการบริหารความเสี่ยงของคุณ ผลิตภัณฑ์ Binance Earn ก็อาจจะเป็นหนึ่งทางเลือกหนึ่งของคุณที่น่าสนใจมากกว่าการเทรด Bitcoin หรือคริปโตเคอร์เรนซี่ เพียงอย่างเดียว
3
Binance Earn แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่คือ 1)Flexible Term 2)Fixed Term 3) High-risk Product
1.Flexible Term (ระยะเวลายืดหยุ่น)
การออมเงินแบบ Flexible เป็นการออมเงินที่มีความยืดหยุ่นในเรื่องของเวลา โดยเราสามารถที่จะถอนเงินออกมาหรือที่เรียกว่า redeem ได้ทุกเมื่อที่เราต้องการ (ยกเว้นช่วงเวลา 06:50AM – 07:10 น. ตามเวลาในประเทศไทยที่จะงดฝากหรือถอน) โดยการคำนวณการจ่ายปันผลจะเกิดขึ้นในวันถัดไปจากวันที่ฝาก (ไม่ใช่ในวันที่ทำการฝาก) ในเวลา 07:00 น. ตามเวลาประเทศไทย
1
การออมเงินแบบ Flexible Term มีผลิตภัณฑ์ ให้เลือกใช้โดยแบ่งออกเป็น
1
1.1 Flexible Saving (การออมแบบยืดหยุ่น)
Flexible Saving การออมเงินชนิดนี้เป็นการฝากคริปโตเคอร์เรนซีตามรายการที่ Binance กำหนดในผลิตภัณฑ์ Flexible โดยจะมีความยืดหยุ่นในเรื่องของเวลาในการฝากซึ่งแต่ละผลิตภัณฑ์หรือแต่ละเหรียญที่เปิดให้ฝากได้นั้นให้ผลตอบแทน (APY) ที่แตกต่างกัน โดย Flexible Saving มีลักษณ์คล้ายคลึงกับการฝากเงินเข้าธนาคารแบบออมทรัพย์แล้วได้ดอกเบี้ยมา ดังตัวอย่างด้านล่างจะเห็นได้ว่า APY (Annual Percentage Yield ) จะแตกต่างกันเช่น APY ในการฝาก BUSD เท่ากับ 1.6% ส่วน BTC จะอยู่ที่ 3% ต่อปี
1
1.2 Launchpool
ผลิตภัณฑ์ Binance launchpool เป็นการที่นำเหรียญคริปโตเคอร์เรนซีไปผูกหรือ Stake เพื่อที่จะ Farm ได้รับเหรียญใหม่ โดยเหรียญที่จะทำใน Lauchpool จะเป็นเหรียญที่จะทำการ Listing หรือกำลังเปิดให้เทรดได้ใน Binance จำนวนเหรียญที่ได้รับมาจะในแต่ละวันจะเป็นการแบ่งสัดส่วนรายวันจากเหรียญที่คุณได้ไป Stake ไว้โดยจะเปรียบเทียบกับเหรียญใน pool ทั้งหมดที่มีคนไป Stake จำนวนเหรียญที่จะได้รับแต่ละเหรียญจะไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับรายละเอียดข้อตกลงที่ได้ประกาศลงใน Binance เกี่ยวกับกับเหรียญนั้นๆ การทำ Staking โดยปกติแล้วจะมีระยะเวลาในการทำ Farm 30 วัน และจะปล่อยให้ Farm ก่อน 7 วันที่เหรียญจะทำการลิสต์บน Binance เหรียญที่ได้รับมาสามารถที่จะถอนได้ตลอด อีกทั้งเหรียญคริปโตเคอร์เรนซีที่ได้ทำการ Stake สามารถที่จะถอนหรือ redeem ได้ทุกเวลาที่ต้องการ
1.3 BNB Vault
ผลิตภัณฑ์ BNB Vault เป็นการรวบรวมเหรียญ BNB เพื่อนำไปเพิ่มสภาพคล่องของตลาดโดยการฝาก BNB ไว้กับ BNB Vault ระบบจะทำการนำเอา BNB ของเราเข้าไปฝากใน Launchpool, ออมเงิน (Saving), Defi Staking และผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้เราในเวลาเดียวกันและได้รางวัลตอบแทนเป็นเหรียญอื่นขึ้นอยู่กับช่วงเวลานั่นๆ โดยรางวัลเหล่านั้นจะมาจากการรวบรวมกำไร จากผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยการออมกับ BNB Vault นั้นเราจะได้รางวัลในวันถัดไปนับจากวันที่ออม ข้อดีของ BNB Vault คือเราไม่ต้องนำเอา BNB ไปบริหารจัดการเองในแต่ละผลิตภัณฑ์อีกทั้งเรายังสามารถที่จะถอนออกมาได้ทุกเวลาที่ต้องการ
2. Fixed Term (ล็อคสินทรัพย์เพื่อที่จะได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น)
Fixed Term เป็นการนำคริปโตเคอร์เรนซีที่ได้ทำการ Listing เข้ามาในผลิตภัณฑ์นี้มาทำการล็อคในช่วงเวลาระยะหนึ่งเพื่อที่ได้ผลตอบแทนที่มากกว่าการทำ Flexible Term แต่เมื่อทำการ ถอนหรือ redeem ก่อนเวลาที่กำหนดจะสูญเสียกำไรที่ได้จากการออมไป โดยผลิตภัณฑ์ นี้ได้แยกออกดังนี้
2.1 Fixed Saving หรือ Locked Saving
Fixed Saving เป็นการออมคริปโตเคอร์เรนซีที่จะต้องล็อคเหรียญในระยะเวลาหนึ่งตามที่กำหนด โดยผลิตภัณฑ์ประเภทนี้มักจะมีเปิดให้ฝากเป็นระยะเวลา คือ 7 วัน 14 วัน 30 วัน และ 90 วัน ขึ้นอยู่กับแต่ละเหรียญ ซึ่งระยะเวลาที่ต่างกันก็จะได้ ซึ่งเหรียญแต่ละประเภทและระยะเวลาที่ต่างกันจะได้รับกำไรที่ไม่เท่ากัน เราสามารถเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์นี้เหมือนกับการฝากประจำกับธนาคาร
1
2.2 Locked Staking
การทำ Locked Staking จะเป็นการนำทุนเข้าไปเก็บไว้ในกระเป๋าเพื่อสนับสนุนทางด้านความปลอดภัยและการทำงานของเครื่องข่ายบล็อคเชน (Blockchian Network) ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการทำ proof of stake (POS) ให้กับ network ดังกล่าวในการทำธุรกรรมซี่งคริปโตเคอร์เรนซีที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ นี้จะมีจำนวนใน pool ที่จำกัดขึ้นอยู่กับทาง Binance ว่าเหรียญชนิดใดมีจำนวนเท่าไหร่ใน pool มีผลตอบแทนเท่าไหร่ ซึ่งระยะเวลาเองก็มีผลต่อการให้ผลตอบแทน อีกทั้งเหรียญที่เรานำเข้าไป staking จะถูกการล็อคไว้ตามระยะเวลาที่ผู้ทำธุรกรรมได้เลือกไว้
1
2.3 Activities
การเข้าออมแบบ Activities เป็นการออมแบบล็อคที่เกิดขึ้นในกรณีพิเศษหรือมีกิจกรรมพิเศษซึ่งมีจำนวนจำกัดและเป็นที่ต้องการสูง ดั้งนั้นการเข้าร่วมกิจกรรมต้องมีความรวดเร็วหลังจากที่เริ่มกิจกรรม โดยแต่ละกิจกรรมจะมีระยะเวลาที่แตกต่างกัน มี ผลตอบแทนที่แตกต่างกัน
1
2.4 ETH 2.0 Staking
ETH 2.0 เป็นการปรับปรุงระบบเครือข่าย Ethereum ที่ใช้ระยะเวลานาน โดยจะแบ่งออกเป็น 3 เฟสดังนี้
Phase 1 จะเป็นการ Stake เหรียญ ETH
Phase 2 แจกจ่ายเหรียญ BETH
Phase 3 ถอน ETH ออกจาก pool
โดยมีจุดประสงค์เพื่อที่จะทำให้ระบบเครือข่าย ETH มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยสามารถที่จะปรับเปรียบขนาดของเครือข่ายได้และยั่งยืนและไม่สูญเสียการรักษาความปลอดภัยและการเป็น Decentralization การที่เราได้เอาเหรียญ Ethereum เข้ามา Staking ใน Binance นั้นทาง Binance จะให้เหรียญ BETH ตอบแทนออกมาที่มีมูลค่า 1:1 กับ ETH เราสามารถที่จะเปลี่ยนเหรียญ BETH กลับเป็น ETH 2.0 เมื่อ Phase 1 เริ่มทำงาน โดยที่จะได้รับจำนวน ETH เท่ากับ จำนวนเหรียญ BETH ที่ครอบครอง โดยการคำนวณ ผลตอบแทนจะขึ้นอยู่กับการคำนวณของ Binance และเครือข่าย Ethereum อีกทั้งยังเกี่ยวกับจำนวน ETH ที่ถูก Stake โดยยิ่งมีคน Stake จำนวนมากผลตอบแทนก็จะน้อยลง
3. High-Risk Product (ผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูง)
ผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูงประกอบไปด้วย
3.1 DeFi Staking
การทำ DeFi Staking ในปัจจุบันยังมีความยุ่งยากอยู่มากเนื่องจากผู้ใช้ต้องทำการทำ Smart contract ที่อยู่บน Blockchain ในทุกวันนี้ข้อเสียของ DeFi และ Dapp ผู้ใช้งานยังขาดระดับความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญและความซับซ้อนของโปรแกรม Smart contract ดังนั้น Binance จึงได้ทำผลิตภัณฑ์ DeFi Staking ขึ้นมาเพื่อทำให้ทุกขั้นตอนง่ายขึ้น
3.2 Dual Investment
การออมแบบ Dual Investment เป็นการออมคริปโตเคอร์เรนซีและได้รับผลตอบแทนขึ้นอยู่กับสินทรัพย์ทั้งสอง เมื่อผู้ใช้ได้ออมเหรียญที่ถือไว้แล้วทำการล็อค yield หรือผลตอบแทนแล้ว ผู้ใช้งานจะได้รับกำไรมากขึ้นถ้ามูลค่าของคริปโตเคอร์เรนซีที่ได้ทำการออมไว้เพิ่มขึ้น ผลตอบแทนที่ได้จะขึ้นอยู่กับผลที่ออกมาที่ Stake ไว้ ของวันสิ้นสุดผลิตภัณฑ์ เมื่อคริปโตเคอร์เรนซีที่เราได้ถือไว้เพิ่มกว่าจำนวนของอัตราผลตอบแทนที่ออม ผู้ใช้จะได้ผลตอบแทนคืนที่มากขึ้น แต่ถ้ามูลค่าของคริปโตเคอร์เรนซีมีน้อยกว่าอัตราผลตอบแทนที่ได้ของการออม ผู้ใช้จะได้ผลตอบแทนที่ได้จากการออมแทน
3.3 Liquid Swap
2
ผลิตภัณฑ์ Liquid Swap เป็น Liquidity Pool ที่ทำมาบนพื้นฐานของ AMM (Automate Market Maker) หรือเรียกง่ายๆ ว่าการนำเอาปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาคำนวณมูลค่าของคริปโตเคอร์เรนซี โดยที่ผู้ใช้จะได้รับผลตอบแทนจาก ส่วนแบ่งของการทำธุรกรรมและดอกเบี้ยจาก Flexible โดยคริปโตเคอร์เรนซี่ในแต่ละ Pool จะประกอบไปด้วยเหรียญคริปโตเคอร์เรนซี่สองชนิด หรือทรัพย์สินที่เป็น
1
ผลิตภัณฑ์นี้เข้ามาช่วยตอบโจทย์ในการบริหารความเสี่ยงของพอร์ต ทำให้เราสร้างรายได้และรักษาสมดุลไปได้ในเวลาเดียวกันทั้ง Long terms และ Short terms ในเวลาที่ตลาดมีความผันผวนสูงเราสามารถลองพิจารณา Binance Earn และปรับใช้ให้เข้ากับสไตล์ของเรา
1
ภาพจาก binance
การลงทุนมีความเสี่ยงเสมอไม่ว่าจะน้อยหรือมากผู้ลงทุนโปรดศึกษาให้ตนเองเข้าใจเสียก่อน
2
โฆษณา