8 ธ.ค. 2021 เวลา 13:56 • สุขภาพ
🤓NSAIDs กับ​ โรคไต
💊ยาแก้ปวดลดการอักเสบกลุ่ม​ NSAIDs​ ที่ใช้ลดไข้​ ปวดหัว ปวดประจำเดือน​ ปวดฟัน อาทิ แอสไพริน​(ทัมใจ​ บวดหาย)​, ไอบูโพรเฟน, นาโปรเซน, ไพร็อกซีแคม​ (ป็อก​ เพียแคม​ น็อกซ่า​ คาปิร็อก)​ ไดโคลฟีแนค​​ อีโธริค็อกซิบ ซีลีค็อกซิบ ยา​บางตัวอาจส่งผลลดการทำงานของไต แต่ผลดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ใช้ยาเท่านั้น และการทำงานของไตสามารถกลับสู่ระดับเดิมเหมือนก่อนใช้ยาได้
แต่เมื่อใดที่ใช้ยาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน​ โดยเฉพาะเมื่อมีอายุมากขึ้น​ หรือเป็นโรคบางชนิด​ เช่น​ โรคไตเรื้อรัง โรคความดันโลหิตสูง โรคตับ โรคเบาหวาน โรคอ้วน​ ผลของยา​ NSAIDs​ บางชนิดจะทำให้เลือดไปเลี้ยงไตลดลง เกิดการทำลายเนื้อไต​ เกิดไตวายเฉียบพลัน​ แต่ถ้าเนื้อไตถูกทำลายอย่างถาวร​จนเกิดไตวายเรื้อรัง​ และถ้าเกิดโรคไตระยะสุดท้าย จะไม่สามารถรักษาให้หายได้ ต้องฟอกเลือดล้างไตหรือผ่าตัดปลูกถ่ายไตในที่สุด​
✳️คำแนะนำในการใช้ยา NSAIDs
1. ยา NSAIDs มักระคายเคืองทางเดินอาหาร ควรกินยาหลังอาหารทันที​ ดื่มน้ำตามมากๆ
2. ไม่ควรใช้ยา NSAIDs 2 ชนิดร่วมกัน เพราะไม่เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา แต่ผลข้างเคียงจะเพิ่มมากขึ้น
3. ใช้ยาในขนาดต่ำที่สุดที่สามารถควบคุมอาการได้และใช้ในระยะเวลาที่สั้นที่สุดเท่าที่จำเป็น เพื่อลดผลข้างเคียงจากการใช้ยาที่อาจจะเกิดขึ้น
4. ควรหลีกเลี่ยงในผู้ป่วยที่มีโรคบางอย่าง เช่น มีแผลในกระเพาะอาหาร หอบหืด ภาวะเลือดออกง่าย หรือ ผู้สูงอายุ แต่ถ้าจำเป็นควรเลือกใช้ยาที่มีผลข้างเคียงน้อย หรือยาที่มีค่าครึ่งชีวิตสั้น
5. ในหญิงตั้งครรภ์ ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ก็ไม่ควรใช้​ โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์เพราะ อาจส่งผลต่อการคลอดและทารกได้
6. ไม่ควรใช้ยาในผู้ที่มีประวัติแพ้ยากลุ่ม NSAIDs โดยเฉพาะหากมีประวัติแพ้รุนแรง
7. หลีกเลี่ยงการใช้ยา NSAIDs ร่วมกับยาสเตียรอยด์เพราะทำให้เกิดแผลในทางเดินอาหารง่ายขึ้น
8. หลีกเลี่ยงการใช้ยา NSAIDs ร่วมกับยายับยั้งการแข็งตัวของเลือดวาฟาริน (Warfarin) เพราะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกมากขึ้น
🏮กินยาอย่างไรไตไม่พัง…
1.ลดปริมาณการใช้ยาที่ไม่จำเป็น
2.ควรปรึกษาเภสัชกรก่อนใช้ยา
3.🚫ไม่ควรซื้อยากินเองอย่างต่อเนื่องซ้ำๆกันเป็นเวลานาน🚫
หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับยาที่ใช้อยู่ว่าซ้ำซ้อนกัน หรือมีผลต่อการทำงานของไตหรือไม่ ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังก็ควรไปพบแพทย์เป็นประจำ
.
.
💢
บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน
ยาแก้ข้ออักเสบ (กลุ่มเอ็นเสด)..ระวังอันตรายต่อไต
.
ยาลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non steroidal anti-inflammatory)
.
แนวทางการสั่งใช้และติดตามพารามิเตอร์ยากลุ่ม NSAIDs ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังและผู้สูงอายุ
.
"เตือนคนไทย" รู้ทันยากลุ่มเอ็นเสด อันตรายต่อไตอาจป่วย "โรคไตเรื้อรัง"
.
ยาที่ใช้ในภาวะไตเสื่อม และ แนวทางการดูแลรักษา - โรงพยาบาลหนองคาย
.
ระบบเครือข่ายเภสัชสนเทศ - คำถาม :: | - มหาวิทยาลัยศิลปากร
.
.
POSTED 2021.12.08
โฆษณา