8 ธ.ค. 2021 เวลา 14:10 • การศึกษา
มีเวลาอ่านมากแค่ไหนคะ5555 จะพยายามสรุปเท่าที่นึกออแล้วกันค่ะ
1
1.ปัญหาเชิงระบบและโครงสร้าง
หลักๆ คือปัญหาด้านความเหลื่อมล้ำ ถามว่าโรงเรียนที่มีคุณภาพมีไหม มีค่ะ..แต่มีกี่โรงเรียน ค่าเทอมเท่าไหร่ เด็กเข้าถึงได้กี่คน คือมันน้อยมาก และส่วนมากก็กระจุกอยู่แค่ในตัวเมืองเท่านั้น
> วิธีแก้คงต้องอาศัยผู้มีอำนาจในการเปลี่ยนแปลงนโยบายบริหารงบประมาณ เราทำได้แค่ช่วยกันผลักดันเรียกร้องเท่าที่ทำได้ (ปล. ชอบวิธีคิดของฟินแลนด์ที่บอกว่าโรงที่ดีที่สุด ก็คือโรงเรียนที่อยู่ใกล้บ้าน)
2. คนออกแบบระบบวางนโยบาย ไม่มีวิสัยทัศน์ ไม่มีความสามารถ ไม่เข้าใจปัญหา ไม่เข้าใจเด็กเลยยยยย เท่าที่เห็นคนที่มีอำนาจกลุ่มนี้ส่วนมากจบนอก มีลูกก็ส่งเรียนต่างประเทศ ซึ่งก็ไม่ผิดหรอก แต่ที่แย่คือไม่รับฟังว่าเด็กต้องการอะไร (ถ้าเป็นธุรกิจที่ไม่ได้เป็นการศึกษาภาคบังคับก็คือเจ๊งไปแล้ว เพราะไม่เข้าใจผู้บริโภคเลย) และที่แย่สุดคือทัศนคติที่มองว่าเด็กไม่มีความสามารถ ไม่มีความคิดอ่านเป็นของตัวเอง ออกมาเรียกร้องนู่นนี่เพราะโดนปลุกปั่น ทำตามกระแส ส่วนตัวเราจบมาซักพักแล้ว แต่มองว่าเด็กยุคนี้เค้าฉลาด เค้ากล้าและพร้อมเปลี่ยนแปลง เพียงแต่ไม่มีพื้นที่และคนที่รับฟังมากพอ
> วิธีแก้ ให้ปรับคงเกินเยียวยา เปลี่ยนผู้นำน่าจะดีที่สุด ให้คนที่เค้าพร้อม มีประสบการณ์ มีวิสัยทัศน์กว่านี้มาบริหารจะดีกว่าค่ะ
1
3.บุคลากรไม่มีคุณภาพ คือไม่รู้นะว่าเค้าคัดคนมาเป็นครู/อาจารย์ยังไง แต่หลายคนไม่ได้มีความรู้ความสามารถมากพอ บางคนมีความรู้แบบเทพมาก แต่พูดอะไรไม่รู้เรื่อง ทักษะในการถ่ายทอด การเล่าเรื่องเป็นศูนย์ แล้วหลายคนคืออีโก้สูงมาก สอนแล้วเด็กไม่ฟังก็โทษว่าไม่ตั้งใจ ไม่ไฝ่เรียน ก็คุณสอนไม่รู้เรื่อง พูดไม่น่าฟัง ใครจะไปอยากฟังอ่ะคะ
1
จริงๆ ข้อนี้ถ้ามองใหลึกลงไปว่าทำไมครูไม่มีคุณภาพ คงเป็นเรื่องของการคัดเลือกบุคลาการที่ยังไม่ตอบโจทย์ แล้วถ้ามองแบบลึกลงไปอีกขั้นจะพบว่าต้นตอมันมาจากค่าตอบแทนที่ไม่มากพอ ลองคิดตามหลักเศรษฐศาสตร์ง่ายๆ ที่ไหนผลตอบแทนสูงคนก็อยากเข้า การแข่งขันก็ย่อมสูง ซึ่งก็มีโอกาสได้คนเก่งๆ มากกว่า ถามว่าทุกวันนี้มีคนเก่งๆ อยากเป็นครูกี่คน ถ้าไม่ได้มีใจรักจริงๆ ก็ไปทำอาชีพอื่นกันหมด
> วิธีแก้ ถ้าอยากได้คนมีคุณภาพก็ต้องให้ค่าตอบแทนที่น่าดึงดูมากพอ คนคือทรัพยาการที่ควรค่าแก่ลงทุนมากที่สุด
1
4.จะว่าครูอย่างเดียวก็คงไม่ได้ ถ้ามองในมุมของครูบ้าง ครูผู้เป็นทุกอย่างให้เธอแล้ว ธุรการ จัดซื้อ ปกครอง ไหนจะต้องทำผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนขั้นอีก เอาเวลาไหนไปเตรียมการสอน ไปพัฒนาตัวเองก่อน
> อันนี้คงต้องไปแก้ที่ระบบการบริหารจัดการ
5.หลักสูตร ล้าหลัง ไม่มีประโยชน์ คือโลกเค้าไปไกลมาก เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ ทฤษฎีใหม่ๆ สิทธิเสรีภาพ ความเท่าเทียมทางเพศ ไทยเรามีอารมณ์ทางเพศยังให้ไปเตะบอลอยู่เลยอ่ะคุณ
> วิธีแก้เปลี่ยนจาก paper base เป็น digital base สาเหตุที่มันช้าเพราะการจะปรับเปลี่ยนพิมพ์หนังสือออกมาแต่ละเล่มมันช้ามาก และที่สำคัญที่สุดคือคนพัฒนาหลักสูตรและครูเองก็ต้องอัพเดตและเปิดกว้างด้วยเช่นกัน
6 หลักสูตรและวิธีการวัดผลออกแบบมาสำเร็จรูปมากเกินไป ขาดความยืดหยุ่น ลืมคิดไปว่าเด็กแต่ละคนมีวิธีการเรียนรู้ที่ ความชอบ ศักยภาพที่ไม่เหมือนกัน คิดเลขไม่เก่ง อ่านหนังสือไม่ออก ไม่ได้แปลว่าโง่
> อันนี้ต้องปรับหลักสูตรให้มันหลากหลายและตรงกับความต้องการของเด็กจริงๆ ไม่ควรมีวิชาบังคับที่มากเกินไป เด็กต้องมีสิทธิ์เลือกในสิ่งที่ตัวเองสนใจจริงๆ
> ซึ่งปัญหาต่อมาคือแล้วเด็กจะรู้ได้ยังไงว่าตัวเองชอบอะไร ก็ต้องมีเวลาให้เค้าได้ค้นหาตัวเอง เรียนน้อยลง แต่ใช้ชีวิตให้มากขึ้น การบ้านท่วมหัวคือพักก่อน
> ตรงนี้ครูจะมีส่วนสำคัญมาก เรามองว่าหน้าที่หลักของครูไม่ใช่ให้ความรู้อีกต่อไปแล้ว แต่คือการให้เครื่องมือที่เด็กจะเอาไปใช้หาความรู้ที่ตัวเองสนใจ คือการตั้งคำถามเพื่อให้เด็กหาคำตอบด้วยตัวเอง และต้องดึงศักยภาพของเด็กแต่ละคนออกมาให้ได้ แต่นั่นแหละจะทำได้ระบบและหลักสูตรมันก็ต้องเอื้อด้วย
7.เป้าหมายในการเรียนมันบิดเบี้ยวไปหมด ทุกวันนี้เรียนกันไปเพื่ออะไร ตอบแบบไม่โลกสวยคือ เพื่อใบเกรดยื่นเข้ามหาลัยดีๆ สมัครงานเงินเดือนสูงๆ จุดนี้แหละมันทำให้เกิดการวัดผลแบบบ้าคลั่ง สนใจแต่สูตรลัด หาแต่วิธีทำข้อสอบให้ได้คะแนนดีๆ จนลืมจุดสำคัญไปว่าเราควรเรียนเพื่อจะได้มีความรู้มีทักษะในเรื่องนั้นจริงๆไม่ใช่เหรอ
> วิธีแก้ไม่ใช่การไปบอกเด็กว่าเธอต้องเรียนเพื่อความรู้สิ เกรดเป็นแค่ผลพลอยได้เท่านั้นแหละ...ก็คุณสร้างระบบมาแบบนั้นแล้วจะให้เด็กคิดแบบนี้ได้ยังไง มันตลก
> เอาวิธีแก้แบบเป็นรูปธรรมมากที่สุด ซึ่งหลายบริษัทในต่างประเทศก็เริ่มใช้วิธีนี้กันแล้ว เช่น Google คือบริษัทจะต้องไม่รับคนด้วยการกำหนดวุฒิการศึกษา แต่ควรรับจากทักษะและความสามารถจริงๆ (ยกเว้นบางสายอาชีพที่เฉพาะทางจริงๆนะ เช่น หมอ วิศวะ สถาปัตย์ อันนั้นก็ควรมีใบรับรองหน่อย)
8.สุดท้ายคือควรสนับสนุนให้เห็นคุณค่าของทุกสายอาชีพเท่าๆทัน รวมถึงผลตอบแทนที่เท่าเทียม ไม่เหลื่อมล้ำ (เท่าเทียมที่ไม่ได้แปลว่าเท่ากัน) เชื่อว่าหลายคนมีความฝัน มีศักยภาพแต่สุดท้ายต้องจบที่การเรียนสิ่งที่ไม่ชอบ ทำงานที่ไม่ได้อยากทำ เพราะกลัวเรียนไปไม่มีอนาคต ตกงาน ไส้แห้ง พอทำอะไรที่ไม่ชอบแล้วมันจะออกมาดีได้ยังไง
> อันนี้เรามองว่าเป็นหน้าที่รัฐนะที่ควรสนับสนุนตลาดแรงงานในทุกสายอาชีพ สร้างความเชื่อมั่นว่าเรียนไปแล้วไม่ตกงานจริงๆ
> อีกส่วนที่สำคัญก็คือครอบครัว ควรจะสนับสนุนและซัพพอร์ต เลิกยัดเยียดคณะที่ลูกไม่ได้อยากเรียน อาชีพที่ไม่ได้อยากเป็นซักที
จากที่พูดมาทั้งหมดเราว่าการศึกษาไทยก็ยังมีความหวังแหละ..หวังอะไรไม่ค่อยได้😂😂 ถ้าผู้นำไม่เปลี่ยน ระบบไม่เปลี่ยน เราตัวเล็กๆแทบทำอะไรไม่ได้เลย เพราะระบบมันถูกแช่แข็งไปนานแล้ว
1
โฆษณา