11 ธ.ค. 2021 เวลา 07:40 • ท่องเที่ยว
ห้องศิลปะศรีวิชัย @ อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑ์ฯ พระนคร
ห้องศรีวิชัย : จัดแสดงเรื่องราวประวัติศาสตร์ โบราณวัตถุ ศิลปะวัตถุ และ เรื่องราววัฒนธรรมศรีวิชัยในคาบสมุทรทางภาคใต้ ราวพุทธศตวรรษที่ 13-18 โดยนำโบราณวัตถุชิ้นสำคัญนำมาจัดแสดง เช่น พระอวโลกิเตศวร ศิลปะศรีวิชัย จากอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี พระพุทธรูปนาคปรก จากอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เทวรูปพระนารายณ์ จากเขาพระเหนอ อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ประติมากรรมสำริดขนาดเล็กในพุทธศาสนามหายาน และประติมากรรมศิลปะชวา ซึ่งเป็นโบราณวัตถุที่ได้รับมอบในคราวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสชวา ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2439 และอีกส่วนหนึ่งได้รับเพิ่มเติมในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7
ภูมิหลังของศรีวิชัย
นับตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 8 เป็นต้นมา เอกสารของราชวงศ์จีนได้กล่าวถึงความรุ่งเรืองของเมืองต่างๆ มากกว่า 10 เมืองที่ตั้งอยู่รอบๆอ่าวไทย
เมืองเหล่านี้เจริญรุ่งเรืองขึ้นเนื่องจากขทบาททางการค้าของพ่อค้าชาวอินเดียที่ได้ใช้คาบสมุทรนี้เป็นสื่อกลางในการติดต่อค้าขายกับจีน และได้นำอารยธรรมอินเดียมาเผยแพรผ่านตัวอักษร ไปจนถึงวรรณกรรม ความเชื่อ งานศิลปะ .. งานที่ปรากฏในสมัยนี้แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลอินเดียแบบคุปตะ หลังคุปตะ และปาละ-เสนะ ซึ่งโบราณวัตถุที่พบในคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทยจะสะบักด้วยศิลาหรือหล่อด้วยสำริด มีความคล้ายคลึงที่พบในหมู่เกาะชวา และสุมาตรา โดยเรียกรูปแบบศิลปะนี้ว่า “ศรีวิชัย”
จากหลักฐานศิลปกรรมที่พบทางชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก ทั้งศิวลึงค์ และพระพุทธรูปที่เมืองไชยา เมืองนครศรีธรรมราช และที่เมืองยะรัง แสดงให้เห็นว้าในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 10 ถึงกำลางพุทธศตวรรษที่ 14 ศาสนาพุทธ และศาสนาพราหมณ์ฮินดู ลัทธิไศวนิกาย ปรากฏร่วมกันในชุมชนใหญ่ สันนิษฐานได้ว่า เมืองไชยาเป็นศูนย์กลางสำคัญของพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ในคาบสมุทรนี้ ซึ่งเจิญรุงเรืองขึ้นตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่ 11 เป็นต้นมา
ส่วนหลักฐานศิลปกรรมที่พบในดินแดนแถบคอคอดกระ จากเมืองตะกั่วป่า ทางชายฝั่งทะเลด้านตะวันตก ไปยังเมืองพุนพิน และเมืองท่าศาลา ทางชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก ปรากฏรูปแบบศิลปกรรมที่สะท้อนความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ฮินดู ลัทธิไวษณพนิกาย
ศรีวิชัย .. เป็นชื่อรัฐในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-18 หรือประมาณ 800-1,300 ปีมาแล้ว ตั้งอยู่บริเวณคาบสมุทรแหลมมลายูภาคใต้ของประเทศไทยจนถึงเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นรัฐน้อยใหญ่ ทั้งบนคาบสมุทร และเป็นเกาะ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม
ในประเทศไทยพบหลักฐานทางโบราณคดีวัฒนธรรมศรีวิชัย อาทิ หลักศิลาจารึกหลักที่ 23 พ.ศ.1318 และบันทึกของหลวงจีนอี้จึง ที่เดินทางมาศึกษาพระพุทธศาสนา เมื่อ พ.ศ. 1214
โบราณวัตถุ จารึก รูปเคารพในศาสนาพราหมณ์ทั้งไศวนิกายและไวษณพนิกาย ศาสนาพุทธฝ่ายมหายาน ที่พบในคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทย นอกจากจะรับอิทธิพลศิลปะอินเดียแล้ว ยังมีร่องรอยของศิลปะทวาราวดี และศิลปะเขมรอีกด้วย
... แต่ ถึงแม้จะมีศิลปะต่างๆเข้ามาปน ผสมผสานในการสร้างสรรค์งานศิลปกรรมในแต่ละช่วงเวลา แต่เอกลักษณ์ของศิลปะท้องถิ่นนั้นมีความแตกต่างกัน .. งานศิลปกรรมในศิลปะศรีวิชัยลนคาบสมุมรภาคใต้ของไทย จึงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวด้วย ก่อนที่อารยธรรมอินเดียจะเผยแพร่เข้ามา ชนพื้นเมืองดั้งเดิมก็มีวัฒนธรรม ความรู้ ความสามารถสูงในการดำรงชีวิต และการประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้อยู่แล้ว
ศาสนาที่ชาวอินเดียนำมาเผยแพร่ .. มีทั้งพุทธศาสนามหายาน และพุทธศาสนานิกายมูลสรวาสติวาส และอารยธรรมอินเดียได้ซึมซาบอยู่อยู่ในเมืองต่างๆในคาบสมุทรอย่างมั่นคง จนกระทั่งในช่วงกลางศตวรรษที่ 12 บรรดารภิกษุจีนมาหยุดพักเพื่อศึกณไวยากรณ์ภาษาสันสกฤต ก่อนที่จะเดินทางต่อไปยังอินเดีย ซึงภษาสีนสกฤติในสมัยนั้นกลายเป็นภาษากลางของผู้ที่มีการศึกษา
สำหรับสถาปัตยกรรมศิลปพแบบศรีวิชัยมีไม่มากนักในคาบสมุทรภาคใต้ ที่พบได้ มีอาทิเช่น สถาปัตยกรรมที่เป็นเจดีย์ทรงมณฑป อย่าง พระธาตุไชยา เจดีย์วัดแก้ว เจดีย์วัดหลวง ส่วนเจดีย์ทรงกลม มีที่ เจดีย์วัดใหญ่สทิงพระ พระเจดีย์วัดพะโค
หลังจากพุทธศตวรรษที่ 18 .. ยังคงนิยมสร้างเจดีย์ทรงกลมอยู่บ้าง แต่ต่อมาอิทธิพลรูปแบบศิลปะอยุธยาไก้แพร่เขไปผสมกับรูปแยยสถาปัตยกรรมเดิม จนกลมกลืนเป็นแบบอยุธยา
ห้องศิลปะศรีวิชัย .. ในโซนแรกพูดถึงภูมิหลังศรีวิชัยบริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวไทยทางภาคใต้ของประเทศไทยนับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 8-13 ซึ่งบริเวณนี้เป็นจุดแวะพักของเส้นทางการค้าทางทะเลจากจีนไปยังประเทศทางตะวันตก อีกทั้งพ่อค้าชาวอินเดียใช้เส้นทางนี้ในการติดต่อค้าขายกับจีนและได้นำวัฒนธรรมและศิลปะแบบอินเดียมาเผยแพร่และบางส่วนได้ตั้งรกรากที่นี่จึงเกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรมและความเชื่อ
ไฮไลต์ของโซนนี้คือ พระวิษณุจตุรภุช หรือพระนารายณ์ 4 กร เป็นเทวรูปแกะสลักจากหินทรายแบบศิลปะศรีวิชัยที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียแบบปัลลวะ เทวรูปขนาดสูงราว 2 เมตรคาดว่าสร้างในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-13 และค้นพบที่บริเวณเขาพระเหนอ ตำบลบางนายสี อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
สันนิษฐานว่า .. บริเวณเขาพระเหนอน่าจะสร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวาลัยประดิษฐานเทวรูปพระนารายณ์อันเป็นที่เคารพของพ่อค้าชาวอินเดียที่เดินทางค้าขายตามเส้นทางคาบสมุทรภาคใต้
 
เทวรูปพระวิษณุจตุรภุช องค์นี้ มีลักษณะกายวิภาคแบบมนุษย์แสดงให้เห็นกล้ามเนื้อชัดเจนและนุ่งผ้ายาวแบบโสร่งอินเดีย นับเป็นเทวรูปที่แสดงให้เห็นถึงคติความเชื่อในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูยุคแรก ๆ ในประเทศไทย .. จากเมืองเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
พระพุทธรูปดินเผาแบบต่างๆ
จารึกวัดเสมาเมือง .. พ.ศ. 1318 จากวัดเสมาเมือง ตำบลเวียงศักดิ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
พระสาวก .. จากวัดเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
จารึกวัดมเหยงค์ .. พุทธศตวรรษที่ 12 จากวัดมเหยงค์ นครศรีธรรมราช
พระวิษณุจตุรภุช .. พุทธศตวรรษที่ 9-10 จากวัดมหาธาตุ เมืองไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เอกมุขลึงค์ .. พุทธศตวรรษที่ 12-13 พบที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ศรีวิชัย .. เรื่องราวในโซนถัดมา เล่าถึง นครรัฐที่รุ่งเรืองในคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทยและเกาะสุมาตราในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-18 โดยมีโบราณวัตถุชิ้นสำคัญคือ พระโพธิสัตว์ปัทมปาณี อายุราวพุทธศตวรรษที่ 14-15 และค้นพบที่วัดเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
รูปปั้นมีเฉพาะส่วนองค์ท่อนบนส่วนพระวรกายท่อนล่างชำรุดหายไป พระโพธิ์สัตว์ปัทมปาณีเป็นรูปหนึ่งของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรที่นับถือในศาสนาพุทธแบบมหายานและวัชรยาน .. โบราณวัตถุสำริดชิ้นนี้ยังเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นว่าเมืองไชยาเป็นศูนย์กลางสำคัญของพุทธศาสนาลัทธิมหายานในคาบสมุทรมลายู
เวลาที่เราเดินชมและมองไปยังประติมากรรมชิ้นนี้ ... เราจะรู้สึกถึงความเมตตากรุณาอันเปี่ยมล้น ด้วยสายพระเนตรเหลือบมองต่ำด้วยความอ่อนโยน พระพักตร์ที่งดงามได้สัดส่วนสมบูรณ์แบบตามความงามในแบบของศิลปะที่สร้างความสุขใจได้ทุกครั้งที่มอง
พระโพธิสัตว์อโฆบาศ หรือพระอวโลกิเตศวร 8 กร .. จากวัดมหาธาตุ เมืองไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
พระพุทธรูปปางต่างๆ .. เช่น พระธยานิพุทธไวโรจน จากมหาสารคาม พระพุทธรูปแสดงภูมิสปรรศมุทรา
พระพุทธรูปนาคปรก .. พุทธศตวรรษที่ 18-19 จากวัดเวียง เมืองไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
พระโพธิสัตว์ปางต่างๆ และพระพุทธรูปหลายปาง
อาคารมหาสุรสิงหนาท ยังมีโซนจัดแสดงโบราณวัตถุที่ชี้ให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องกับศิลปะชวาของประเทศอินโดนีเซีย ... ให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องกับศิลปะชวาของประเทศอินโดนีเซีย
... ชิ้นเด่นคือรูปเคารพ พระคเณศ 4 กร แบบศิลปะชวาตะวันออก แกะสลักจากหินภูเขาไฟเป็นรูปพระคเณศประทับบนฐานประดับหัวกะโหลกทรงอาภรณ์และเครื่องประดับรูปหัวกะโหลก
รูปเคารพนี้สร้างในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-16 มีน้ำหนักร่วม 5 ตัน และค้นพบที่ศาสนสถานจันทิสิงหส่าหรี ประเทศอินโดนีเซีย และรัฐบาลฮอลันดาซึ่งปกครองเกาะชวาในขณะนั้นน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระคเณศองค์นี้เป็นปางคณปติ .. หมายถึงผู้เป็นใหญ่ ผ้านุ่งและเครื่องประดับเป็นลายหัวกะโหลกจึงได้รับการนับถือว่าเป็นเจ้าแห่งภูติผีและช่วยลบล้างมนตร์ดำ บริเวณใต้ท้องที่มีรูสี่เหลี่ยมนั้นสันนิษฐานว่าน่าจะเคยมีรูปหนูซึ่งเป็นพาหนะของพระคเณศประดับอยู่
อคัสตยะ หรือ พระอิศวรในภาคมหาคุรุ .. พุทธศตวรรษที่ 14-15 รัฐบาลฮอลันดา ที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ส่งมาแลกเปลี่ยนกับเครื่องสลักหินในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร เมื่อ พ.ศ. 2470
นางอัปสร .. พุทธศตวรรษที่ 14-15 จากศาสนสถานจันทิรอโรจงกรัง เมืองปรัมบานัน เกาะชวา ประเทศอิโดนีเซีย
พระคเณศ 4 กร และประติมากรรมอื่นๆ
ประติมากร นางสุชาดา ถวายข้างมธุปายาส ... พุทธศตวรรษที่ 14-15 จากพุทธสถานบุโรพุทโธ เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย
พระอิศวร และพระนางปารวตี .. พุทธศตวรรษที่ 16-19 รัฐบาลฮอลันดา ที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ส่งมาให้
พระวิษณุจตุรภุช .. พุทธศตวรรษที่ 16-17
*******************
เที่ยวทั่วไทย ไปทั่วโลกกับพี่สุ … รวม link บทความที่เขียนในเพจ ..
***เมืองไทย ไดอารี่ by Supawan
***Supawan’s colorful world
***สถานีอร่อย by Supawan
โฆษณา