12 ธ.ค. 2021 เวลา 10:13 • ความคิดเห็น
คำว่า "ชอบ...." อันนี้ เป็นความจริงหรือเปล่า ถ้าคนนั้น ชอบ การกระทำแบบนั้นจริง คือ ทำเพราะรู้สึกสนุก ตอบสนองอารมณ์บางอย่างของเค้า ทำแล้วมีความสุข ยิ้มแย้มต่อไป ...อันนี้แสดงว่า เค้าอาจจะ "ชอบ"จริงๆ
แต่ ถ้าคำว่า "ชอบ.." ในประโยคคำถามนี้ แค่สื่อว่า เค้าทำบ่อย... อันนี้ ต้องพิจารณาเป็นอีกแบบนึง
ในคำถามนี้ เชื่อว่า เห็นว่าเค้ากระทำ "บ่อย" มากกว่า ว่า เค้าแอบซาดิส "ชอบ"ทำจริงๆ
ดังนั้น เราต้องพิจารณา ไปที่ ตัวพฤติกรรม ไม่ใช่ ตัวอุปนิสัย ของคน
คนที่ "มัก" พูดกระทบกระทั่ง คนอื่น ลองดูในที่ทำงาน .. เราว่า มีได้ทุกคน...ไม่ใช่แค่คนเก่ง
เคยเห็น คนที่ เค้าบ่นว่าคนอื่น ในทางตรงข้าม ...เช่น.. จะเนี๊ยบไปไหน, จะเรื่องมากไปทำไม, โอ๊ย..ทำงานกับคนนี้แล้วประสาทจะกิน... อะไรทำนองนี้มั้ย
แบบนี้ "ความรู้สึก"ของ "คนเก่ง" ที่ "ถูก" พูดกระทบกระทั่ง ก็แย่ลงได้เหมือนกัน ต่างกัน แค่เนื้อหาประโยคคำพูด เท่านั้น
หากเทียบกัน ระหว่าง
คนเก่ง พูดกระทบกระทั่ง ออกมา แบบไม่ตั้งใจ แต่เป็นการเผลอระบายความเครียดตัวเอง เพราะอยากให้งานดี แต่ไม่ได้ดั่งใจ
กับ
คนไม่เก่ง กระทบกระทั่ง คนเก่ง เพราะหมั่นไส้ แต่ตัวเองไม่อยากทำงานเนี๊ยบ
อันไหน น่ากลัวจะเป็นผลเสีย (ต่อบริษัทรึนายจ้าง) มากกว่ากัน ในระยะยาว
ขณะที่ "คนเก่ง" เวลาเค้าพูด อาจจะ มีความตั้งใจ และมั่นใจตัวเองมากเกินไป เลยมีความ "แรงส์" ตอนพูด
คนฟังอาจจะรู้สึก "ถูกคุกคาม" มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าคนฟัง มีความรู้สึก ไม่เก่งอยู่แล้ว ก็ อาจจะเป็นไปได้ที่จะมีความรู้สึก ถูกเย้ยหยัน ที่รุนแรงเกินประโยคไป
มันอาจจะมีเสียงกระซิบ ของความไม่มั่นใจ ของตนเอง ขึ้นมาปะปน กับเสียงที่ได้ยินนั้นด้วย
ดังนั้น เวลาฟังคำคนอื่น อยากให้แยกเรื่อง ความหมายในประโยคนั้น ความตั้งใจ (intention) ของคนพูด , และ ความรู้สึกของตัวเราที่เป็นคนฟัง ออกจากกัน... ให้เคลียร์... ก่อนจะไปตัดสินใคร
ส่วนใหญ่ คนที่เป็นคนพูดแรงๆ มักจะมีความรู้สึกเครียด หงุดหงิด ไม่พอใจ อยู่ในตัวอยู่แล้ว... ไม่ว่าจะ เป็นคนเก่ง รึไม่เก่ง
คนพูดร้อนเป็นไฟมา คนฟัง ก็ไม่ต้องจุดเดือดต่ำนัก (จุดเดือดต่ำ คือ เดือดง่าย)
ถ้า เนื้อหาที่เค้าพูดเกี่ยวกับงาน มัน "ใช่".. ก็ควรยอมรับ ใน "ไอเดีย แนวคิด" ที่เค้าพูด
เรียนรู้ยอมรับกันเฉพาะแนวคิด และ ดู ที่เจตนา ของคนพูด เป็นหลัก
เก็บมาแค่ เนื้อหาสาระ
ส่วน สไตล์การพูด และ สร้อย (ประโยคอื่นๆ) ไม่จำเป็นต้องไปใส่ใจ
โฆษณา