19 ธ.ค. 2021 เวลา 02:48 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
OVERCURENT Trip ของ VSD เกิดมาจากสาเหตุใดได้บ้าง ??
การ trip over current ของ VSD สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายเหตุผลคือ
1. การตั้งค่า Ramp up time หรือ accelerate time ที่สั้นเกินไป ไม่เหมาะสมกับความเฉื่อยของโหลด โดยมักจะพบการทริปหลังจาก VSD ได้รับคำสั่ง Start และเริ่มหมุนมอเตอร์ โดยการพิสูจน์ก็สามารถทำได้โดยการปรับตั้งค่า accelerate ให้มากขึ้น โดยอาจตั้งค่าให้มากขึ้นกว่าเดิม 4-5 เท่าเพื่อให้ผลการพิสูจน์ชัดเจน
2. เซ็นเซอร์วัดความเร็วมอเตอร์มีปัญหาไม่แสดงผลหรือไม่ส่งค่าความเร็วรอบ เมื่อเกิดการเปรียบเทียบกับความเร็วรอบที่ได้จากการคำนวน ทำให้เกิดสถานการณ์เสมือนว่า มอเตอร์ไม่ยอมหมุนหรือหมุนช้ากว่าที่ควรจะเป็น VSD จึงพยายามเพิ่มแรงบิดให้กับมอเตอร์จนเกิดสภาวะกระแสเกิน( Overcurrent trip) การ Trip จากสาเหตุแบบนี้ มักจะเกิดขึ้นในช่วงเร่งรอบ คือ ช่วงมอเตอร์ออกตัว หรือช่วงมอเตอร์ปรับความเร็วขึ้น โดยอาการลักษณะนี้การปรับ ramp up time ให้มากขึ้นจะไม่สามารถช่วยได้ โดยการตรวจสอบจะต้องนำ Speed measurement ที่มาจาก Encoder มาเปรียบเทียบกับ Speed calculate ที่มาจากการคำนวนผ่านตัวแบบทางคณิตศาสตร์ใน Controller ของ VSD
3. ความผิดปกติขอมมอเตอร์ โดยเฉพาะขดลวดด้านสเตเตอร์
อาการทริป overcurrent ในขณะมอเตอร์หมุนในสภาวะ steady state คือ ความเร็วรอบนิ่ง แรงบิด และ กำลังไฟฟ้านิ่งแล้ว แต่อยู่ดีๆ Drives ก็มา trip overcurrent ซะนี่ อาการประเภทนี้ส่วนใหญ่จะไปจบที่สาเหตุมาจากการ Short turn ของขดลวดด้านสเตเตอร์ นอกจากนี้การ Failure ของมอเตอร์ในโหมดนี้มักจะทำ ID run แบบ Standard ไม่ผ่าน โดยมักจะทริปในขณะการทดสอบเสมือน No-load test ในช่วงเร่งรอบจากจาก 0 rpm ไปจนถึงความเร็วรอบที่พิกัด
สรุปง่ายๆก็คือ หาก มี VSD มีอาการ Overcurrent trip ในสภาวะ steady state และหากเรานำมาทดสอบด้วยการทำ ID run ใหม่ และทำไม่เสำเร็จ พบการ Trip ในช่วงเร่งรอบ สามารถตั้งสมมติฐานไว้ได้เลยว่า มอเตอร์อาจมีปัญหาที่ขดสเตเตอร์ จากประสบการณ์ผู้เขียน ถ้าอาการออกมาแบบนี้ จะจบด้วยสาเหตุดังที่กล่าวไว้มากถึง 90% เลยทีเดียว
นอกจากนี้ในช่วงปี 2019 เรายังพบกรณีใกล้เคียงกับกรณีข้างต้นอีก 1 case คือพบ over current trip ในช่วงที่มีการปรับเปลี่ยนความเร็วรอบ โดยจุดสังเกตุคือ ความเร็วรอบที่วัดได้ กับ ความเร็วรอบที่คำนวนได้ จะต่างกันมากในช่วงที่มอเตอร์มีการเปลี่ยนความเร็วรอบ และจะกลับมาเท่ากันในช่วงรอบคงที่ กรณีนี้เราสงสัยมอเตอร์ตั้งแต่แรก ซึ่งทางทีมงานและผู้เขียนได้พยายามพิสูจน์ด้วยการทดสอบทั้งการปรับแต่งการตั้งค่า ปรับเปลี่ยน Hardware ที่อาจจะเกี่ยวข้องกับปัญหา จนถึงขั้นเปลี่ยน VSD เพื่อทดสอบแต่ก็ยังพบปัญหาเดิม จนสุดท้ายเคสนี้จบที่การพบปัญหาการแตกภายในแกนโรเตอร์ ทำให้เกิดการเสียสมดุลเล็กๆในขณะที่มีการเปลี่ยนความเร็วมอเตอร์ และเกิดการ Trip overcurrent ตามมา
4. พฤติกรรมของโหลดที่มีการถูกดึง หรือยื้อ ในสภาวะที่ไม่ปกติ จากโหลดข้างเคียง หรือโหลดที่เชื่อมต่อกัน เช่นกรณีพัดลม exhaust และ supply ที่เกี่ยวพันกันคืออยู่ในท่อลมเดียวกัน อาจมี Ramp time ไม่เท่ากัน สายพานลำเลียงที่มีมอเตอร์ที่ด้านหัวและท้าย หรือมอเตอร์ที่มีการขับร่วมกันโดย Coupling ผ่าน Soft coupling หรือ rigid coupling
ประเด็นนี้อาจะไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของการใช้งาน แต่อาจเกิดจากการ tuning หรือปรับแต่พารามิเตอร์ที่ยังไม่เหมาะสม
โฆษณา