17 ธ.ค. 2021 เวลา 11:04 • ประวัติศาสตร์
“เมารี (Maori)” ผู้ล่าและเหยื่อ
ตามกฎของธรรมชาติ ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตนั้นมีหลากหลายรูปแบบ…
แต่กฎรูปแบบหนึ่งที่ตายตัวอยู่เสมอ คือ กฎของการล่า...
กฎของการล่าเกิดขึ้นเพื่อรักษาสมดุลของธรรมชาติ...
ผู้ล่า ย่อมเป็นผู้ที่แข็งแกร่ง...
ส่วนผู้ที่ถูกล่า มักเป็นผู้ที่อ่อนแอกว่า ซึ่งท้ายที่สุดก็ตกเป็นเหยื่อของผู้ล่า...
แต่สถานะในกฎของการล่านี้ไม่ตายตัว...
ผู้ล่าใช่ว่าจะคงสถานะของผู้ล่าเสมอไป...
สถานะของการกลายเป็นเหยื่อสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ เมื่อมีผู้ล่ารายใหม่ปรากฏตัว...
ทุกท่านครับ เรื่องราวต่อไปนี้เป็นเรื่องราวต่อเนื่องของกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในเกาะท่ามกลางมหาสมุทรแปซิฟิก...
กลุ่มคนที่มีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง...
กลุ่มคนที่คงสถานะของผู้ล่าบนเกาะยาวนานนับพันปี...
กลุ่มคนที่พบเจอกับผู้ล่ารายใหม่ซึ่งมาพร้อมกับกระแสความเปลี่ยนแปลง...
กลุ่มคนที่ต้องต่อสู้กับกระแสนั้นเพื่อความอยู่รอด...
และคนกลุ่มนั้นเริ่มเปลี่ยนสถานะจากผู้ล่ากลายไปเป็นเหยื่อ...
และนี่ คือเรื่องราว "เมารี (Maori)" ผู้ล่าและเหยื่อ
โปรดนั่งลงเถิดครับ แล้วผมจะเล่าให้ฟัง...
ภาพจาก Wallpaper Flare
จากในตอนที่แล้ว ผมได้เล่าถึงต้นกำเนิดและที่มาของกลุ่มคนที่ถูกเรียกว่าชาวเมารี...
พวกเขาคือกลุ่มคนที่มีที่มาไปไม่ค่อยแน่นอนซักเท่าไหร่...
1
มีเพียงตำนานที่ได้กล่าวว่า พวกเขาล่องเรือแคนู (ซึ่งเรียกว่า วากา) จนมาพบกับเกาะแห่งหนึ่งในดินแดนโพลีนีเซีย ซึ่งพวกเขาเรียกเกาะแห่งนั้นว่า เอาเตอารัว
พวกเขาตัดสินใจตั้งรกรากบนเกาะ และสร้างสรรค์วัฒนธรรมของตนเองนับแต่นั้นมา...
ชาวเมารีถือได้ว่าเป็นกลุ่มคนที่มีสีสันทางวัฒนธรรมและมีความเป็นเอกลักษณ์ค่อนข้างสูงเลยทีเดียวครับ
พวกเขาเชื่อในเรื่องพลังอำนาจลึกลับที่เรียกว่า "มานา (Mana)"
พวกเขาบันทึกเรื่องราว ลักษณะ และที่มาของตนเองบนใบหน้า ซึ่งเรียกว่า "โมโก (Moko)"
1
และพวกเขารักและชื่นชมในการต่อสู้มากทีเดียว...
เรียกได้เลยครับว่า หากมีการจัดอันดับนักสู้ที่แข็งแกร่งในยุคโบราณแล้วล่ะก็ ผมเชื่อว่าต้องมีลิสต์รายชื่อของชาวเมารีแน่นอน...
แต่ทว่า ไม่มีสิ่งใดจะยั่งยืนตั้งตระหง่านตลอดไป ความแข็งแกร่งนั้นถูกทำลายได้ เมื่อเจอความแข็งแกร่งที่เหนือกว่า...
1
และแล้ว ชีวิตของชาวเมารีบนเอาเตอารัวก็เริ่มเปลี่ยนไป เมื่อผู้มาเยือนรายใหม่ได้ปรากฏตัวขึ้น...
1
ผู้มาเยือนซึ่งมาพร้อมกับความแข็งแกร่งและพลังอำนาจที่ชาวเมารีไม่รู้จัก...
ผู้มาเยือนซึ่งมาจากอีกฟากของโลกที่ถูกเรียกว่า "ยุโรป (Europe)"
ภาพจาก The Dead Land (นักรบชาวเมารี)
เอาล่ะครับ ก่อนที่เราจะเข้าสู่เรื่องราวระหว่างชาวยุโรปและชาวเมารี ผมขอย้อนเล่าถึงเรื่องราวของชาวยุโรปกันก่อน
ดินแดนที่เรียกว่ายุโรป ถือได้ว่าเป็นดินแดนที่ไม่ได้ใหญ่โตอะไรมากมาย อากาศก็ค่อนข้างหนาว ทรัพยากรก็มีน้อย มันเลยทำให้ผู้คนต้องพึ่งพาสินค้าจากดินแดนอื่นพอสมควร เช่น พวกเครื่องเทศและผ้าไหม ซึ่งคู่ค้าสำคัญก็คืออินเดียและจีนนั่นแหละครับ...
1
การที่ยุโรปจะเดินทางไปค้าขายกับจีนและอินเดีย คือต้องเดินทางโดยใช้เส้นทางการค้าทางบกในยุคโบราณที่เรียกว่า เส้นทางสายไหม...
2
แต่วันดีคืนดี บริเวณเส้นทางนี้ก็เกิดมาเฟียรายใหม่ขึ้นมาคุม คือ พวกเติร์กมุสลิม
3
ยุโรปมีหรือจะยอมเสียเส้นทางที่หล่อเลี้ยงชีวิตตนเองไป จึงทำการระดมคนโดยใช้พลังแห่งศรัทธาในคริสต์ศาสนาเป็นฉากหน้าเปิดสงครามกับเหล่ามุสลิม เกิดเป็นสงครามศาสนาที่เรียกว่า "สงครามครูเสด" ขึ้นมา
4
แต่ในท้ายที่สุด ฝ่ายที่กุมชัยชนะและครอบครองเส้นทางการค้านี้คือเหล่ามุสลิม...
การสูญเสียเส้นทางการค้าที่เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่ต่อตรงไปสู่หัวใจของยุโรปนี้ทำให้อาการของยุโรปร่อแร่พอสมควรทีเดียว...
3
มีทางเดียวเท่านั้นที่จะอยู่รอด นั่นคือ การหาเส้นเลือดใหญ่เส้นใหม่...
ด้วยเหตุนี้แหละครับ จึงเกิดยุคสมัยแห่งการสำรวจทางทะเลในที่สุด...
1
ภาพจาก Wikipedia (เส้นทางสายไหม)
การสำรวจทางทะเลของยุโรป เริ่มต้นมาจากการค้นหาเส้นทางการค้าเส้นทางอื่นนอกจากเส้นทางสายไหม เพื่อเดินทางไปค้าขายกับจีนและอินเดียนี่แหละครับ...
ต้องทำความเข้าใจก่อนครับว่า มุมมองการมองโลกของคนยุโรปสมัยนั้นมีความเข้าใจครับว่า "โลกมีทั้งหมด 3 ทวีป คือ ยุโรป เอเชีย และแอฟริกา" อีกทั้งยังมีความเชื่อว่า "โลกนั้นแบน"
เพราะฉะนั้น การที่คนยุโรปจะเดินทางไปถึงอินเดียและจีน โดยที่ไม่ต้องใช้เส้นทางสายไหมนั้น ทางเดียวที่สามารถไปได้ก็คือต้องอ้อมทวีปแอฟริกาไปนั่นเอง (ตอนนั้นยังไม่มีการขุดคลองสุเอซ)
และแล้วก็มีผู้ที่ริเริ่มโปรเจค คือ โปรตุเกส โดยใช้เวลาในการพัฒนาเรือ เทคโนโลยีการเดินเรือ เข็มทิศ จนในที่สุดก็สามารถเดินเรืออ้อมทวีปแอฟริกาและเบนหัวเรือไปจนถึงอินเดียได้ พร้อมสร้างเส้นเลือดใหญ่เส้นใหม่ที่เชื่อมยุโรปเข้ากับอินเดียและจีน ภายใต้การนำของชายที่ชื่อว่า "วาส โก ดากามา"
2
แต่ทว่า จุดเปลี่ยนสำคัญที่สุด คือ การเดินเรือของชายคนหนึ่งซึ่งเกิดก่อนที่วาส โก ดากามา จะเดินทางถึงอินเดีย
ชายคนนั้นทำการท้าทายหลักคำสอนของศาสนาที่พร่ำสอนว่า "โลกนี้มันแบน"...
ชายคนนั้นออกเรือไปทางตะวันตก ภายใต้ธงของสเปน ด้วยความเชื่อว่า "โลกนี้มันกลมต่างหาก ถ้าเราเดินเรือไปทางตะวันตก เราก็จะพบกับจีนและอินเดียเหมือนกันนั่นแหละ!"
2
แต่แล้วการเดินเรือของชายคนนั้นก็ไม่ได้นำพาเขาไปพบกับจีนหรืออินเดีย แต่กลับนำพาเขาไปพบกับสิ่งที่จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของประวัติศาสตร์ของโลกใบนี้...
2
ชายคนนั้นคือ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส...
2
และโชคชะตาก็นำพาเขาและชาวยุโรปไปพบกับแผ่นดินใหม่ ซึ่งรู้จักและขนานนามในภายหลังว่า "อเมริกา (America)"
การค้นพบดินแดนแห่งใหม่ของโคลัมบัส นำไปสู่การบุกเบิกดินแดนต่างๆ พร้อมระบายผู้คนจากยุโรปเข้าสู่ดินแดนนั้นๆ...
แล้วเทรนด์การตามล่าค้นคว้าหาดินแดนของยุโรปก็เริ่มเปิดฉาก...
แล้วในวันหนึ่ง "เอาเตอารัว" ซึ่งเป็นสถานที่ที่อยู่อาศัยของชาวเมารีนับพันปี ก็ถูกชาวยุโรปค้นพบในที่สุด...
ยุคแห่งการสำรวจทางทะเลของยุโรป
ภาพจาก The Times (การค้นพบโลกใหม่ของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส)
เรือลำแรกที่เดินทางจนมองเห็นวิวของเอาเตอารัวเป็นเรือของดัตช์ ซึ่งนำโดย "อาเบล แจนส์ซูน ทัสมัน"
เมื่อเรือของทัสมันเข้าใกล้ชายฝั่ง เหล่าอสุรกายเมารีของเกาะก็เริ่มบรรเลงเมโลดี้เลือดต้อนรับผู้มาเยือนเหล่านี้ทันทีเลยล่ะครับ!
ความโหดเหี้ยมป่าเถื่อนพร้อมทักษะการต่อสู้ที่ขัดเกลามาทั้งชีวิตของชาวเมารี ได้สร้างความตื่นตระหนกตกใจแก่ชาวดัตช์บนเรือพอสมควร
1
ชาวดัตช์บนเรือถูกฆ่าอย่างไร้ปรานี ส่วนทัสมันและพวกที่เหลือรอดก็พากันหนีตายอย่างดุเดือด จนในที่สุดก็รอดจากเงื้อมมือของอสุรกายบนเกาะปริศนาแห่งนั้น...
1
เรื่องราวของทัสมันและลูกเรือแพร่กระจายไปสู่ยุโรปอย่างรวดเร็วยิ่งกว่าไฟป่า คนยุโรปต่างเล่าปากต่อปากถึงความน่ากลัวของเกาะลึกลับที่ทัสมันค้นพบ จนทำให้ไม่มีใครกล้าไปเหยียบที่เกาะแห่งนั้นนานนับร้อยปีเลยล่ะครับ!
ซึ่งหลังจากนั้นทัสมันก็ได้ตั้งชื่อเกาะที่ค้นพบนี้ว่า "นิวซีแลนด์ (New Zealand)"
การเริ่มต้นของทัสมัน ก็ได้เป็นแรงบันดาลใจให้กับคนในยุคสมัยต่อมา...
1
และแล้วเรือภายใต้ธงของอังกฤษ นำโดยเจมส์ คุก ก็ตัดสินใจเดินทางมาสำรวจนิวซีแลนด์
1
และแน่นอนครับว่า การต้อนรับของชาวเมารีก็ยังคงอบอุ่นเช่นเดิมเหมือนกับคราวที่ทัสมันมาเยือน
1
กองเรืออังกฤษต้องเข้าห้ำหั่นกับชาวเมารีอย่างดุเดือด แต่ในคราวนี้เจมส์ คุกไม่ยอมสยบต่ออสุรกายเหล่านี้ ซึ่งคุกใช้เวลาถึง 7 ปี ในการสำรวจตามชายฝั่งของเกาะแล้วพบว่านิวซีแลนด์นั้นแบ่งเป็น 2 เกาะ คือ เกาะเหนือและเกาะใต้
1
เรียกได้ว่า เจมส์ คุกพร้อมลูกเรือได้ต่อสู้กับชาวเมารีและเขียนแผนที่ของเกาะไปพร้อมๆ กัน จนในที่สุดก็สามารถเขียนแผนที่ของเกาะแห่งนี้ได้สำเร็จ...
1
ภาพจาก cincinnati.com (เจมส์ คุก)
ภาพจาก Te Ara (แผนที่นิวซีแลนด์ที่เขียนโดยเจมส์ คุก)
หลังเขียนแผนที่ได้สำเร็จ เจมส์ คุกต้องการที่จะสำรวจวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวเมารีต่อ จึงเปลี่ยนวิธีในการเข้าถึงชาวเมารีจากการห้ำหั่นเป็นการเจรจาพูดคุยเพื่อเก็บข้อมูล...
และแล้วไม่รู้ใช้วิธีหรือเหตุผลกลใด เจมส์ คุกก็สามารถผูกมิตรกับชาวเมารีได้สำเร็จในที่สุด
เมื่อผูกมิตรสำเร็จ หลังจากนั้นเจมส์ คุก ก็ได้พาโจเซฟ แบงก์ ซึ่งเป็นนักสำรวจและนักธรรมชาติวิทยามาทำการศึกษาวิถีชีวิตของชาวเมารีจนละเอียดยิบเลยล่ะครับ พร้อมเขียนบันทึกไว้ให้ชาวโลกได้เชยชม คือ "A Voyage Towards the South Pole and Round the World"
เรื่องราวของชาวเมารีและนิวซีแลนด์เริ่มสร้างความกระหายใคร่รู้ให้กับชาวยุโรปมากขึ้น มหาอำนาจอย่างอังกฤษก็ได้จ้องนิวซีแลนด์เหมือนแมวจ้องเหยื่อและพร้อมตะปบเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคมตนเอง
1
จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวของชาวเมารีก็ได้เริ่มขึ้น เมื่อประชากรชาวอังกฤษได้เริ่มอพยพเข้าสู่นิวซีแลนด์
และแล้วนาฬิกาแห่งความขัดแย้งและการต่อสู้ครั้งใหญ่ก็ได้เริ่มเดินเป็นที่เรียบร้อย...
ภาพจาก Antiquarian Auctions (บันทึกวิถีชีวิตและวัฒนธรรมชาวเมารี)
การเข้ามาในนิวซีแลนด์ของชาวยุโรปในช่วงแรกนั้น สำหรับชาวเมารีแล้วก็ถือว่ายังแฮปปี้ดีอยู่ เพราะชาวเมารีมีความสนใจในวิทยาการ ความรู้ รวมถึงเรื่องราวของโลกภายนอก
3
ความสัมพันธ์ระหว่างชาวยุโรปและชาวเมารีก็เริ่มแนบแน่นขึ้นเหมือนฝันเลยทีเดียว
ถึงขนาดหัวหน้าชาวเมารีเผ่าหนึ่งชื่อว่า ฮวนกี ไฮกา มีการเดินทางไปศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่อังกฤษ พร้อมนำอาวุธประหลาดที่ชาวยุโรปเรียกว่าปืนยาว กลับมาให้มวลมหาชนชาวเมารีได้เชยชม...
เมื่อเผ่าของฮวนกี ไฮกา ได้อัพเกรดเผ่าตัวเองด้วยปืนยาว ความเปรี้ยวของเผ่าก็เพิ่มขึ้นทันที โดยเผ่าของฮวนกี ไฮกา ได้เปิดสงครามล้างผลาญกับเผ่าอื่นๆ เพื่อแย่งชิงดินแดนและอาณาเขต...
3
แน่นอนครับว่าเมื่อเจอพลังทำลายล้างของปืนยาวถล่มเข้าไป เผ่าอื่นๆ ต่างโดนถล่มจนเละเป็นโจ๊กไปตามๆกัน
1
นักธุรกิจชาวยุโรปเมื่อเห็นแบบนี้แล้ว ก็ตาลุกวาวเห็นช่องทางการทำธุรกิจกำไรมหาศาล คือการขายอาวุธให้กับชาวเมารีเผ่าอื่นๆ เข้ามาถล่มห้ำหั่นกัน...
1
เหมือนเป็นการราดน้ำมันลงกองไฟ สงครามระหว่างชนเผ่าตัวลุกลามไปอย่างรวดเร็ว ปืนยาวกลายเป็นอาวุธหลักในการทำสงครามศักดิ์สิทธิ์ของชาวเมารีแทนที่หอก
1
ความกระหายสงครามและความร้ายแรงของปืนยาวทำให้จำนวนชาวเมารีลดลงอย่างรวดเร็ว
อีกทั้งยังมีมิชชันนารีเข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในดินแดนนิวซีแลนด์...
ด้วยกลยุทธ์ในการเชื่อมสัมพันธ์ของชาวยุโรปด้วยปืนยาว เป็นผลทำให้คริสต์ศาสนาสามารถเข้ามาตีตลาดความเชื่อของชาวเมารีได้อย่างง่ายดายไปด้วยเช่นกัน
1
วิถีชีวิตและความเชื่อของชาวเมารีก็ได้เริ่มเปลี่ยนไปในที่สุด
การอพยพหลั่งไหลเข้ามาในนิวซีแลนด์หยั่งกับน้ำป่าของชาวอัวกฤษ ทำให้ภายในนิวซีแลนด์มีประชากรผิวขาวเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว
และแล้วตัวของรัฐบาลอังกฤษก็เริ่มมีไอเดียแว๊บเข้ามาในหัวครับว่า "มันถึงเวลาแล้วล่ะ ที่เราจะเอานิวซีแลนด์มาเป็นอาณานิคม!"
ภาพจาก Science Photo Library (การทำสงครามโดยใช้ปืนยาวของชาวเมารี)
ภาพจาก Te Ara (สงครามระหว่างชนเผ่าชาวเมารี)
รัฐบาลอังกฤษได้เริ่มต้นแผนการในการเอานิวซีแลนด์เป็นอาณานิคมของตนเอง ซึ่งอย่างที่ผมได้เล่าไปครับว่า นิวซีแลนด์แบ่งเป็น 2 เกาะ คือ เกาะเหนือและเกาะใต้ ซึ่งอังกฤษได้เคลมว่า...
"เกาะใต้ของนิวซีแลนด์ อังกฤษเป็นผู้ค้นพบ เพราะฉะนั้นจึงต้องเป็นของอังกฤษโดยชอบธรรม!" (เกาะใต้ในตอนนั้นมีประชากรชาวเมารีอยู่เกือบแสนคน)
ส่วนทางด้านเกาะเหนือ อังกฤษได้ทำการดีลกับเหล่าหัวหน้าเผ่าเพียงไม่กี่เผ่า (ย้ำว่าไม่กี่เผ่า) จนคลอดออกมาเป็นสนธิสัญญา คือ "สนธิสัญญาไวตันกิ (Waitangi)" ซึ่งสนธิสัญญานี้ เป็นการมอบอำนาจอธิปไตยในเกาะเหนือทั้งหมดให้กับอังกฤษแลกกับการที่อังกฤษให้ความคุ้มครองเผ่าที่ทำสนธิสัญญา...
ด้วยเหตุนี้แหละครับ รัฐบาลอังกฤษจึงมีเหตุผลในการเคลมเอานิวซีแลนด์เป็นอาณานิคมทั้งสองเกาะ
แน่นอนครับว่า การตัดสินใจในครั้งนี้เป็นของรัฐบาลอังกฤษกับเผ่าเมารีไม่กี่เผ่าที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน ส่วนอีกหลายเผ่าที่ไม่รู้เรื่องรู้ราวย่อมฮึดฮัดไม่พอใจในการตัดสินใจครั้งนี้
1
ชาวเมารีหลายเผ่าที่จับปืนบวกกันอยู่ ก็มีความรู้สึกว่าตนเองจะเสียผลประโยชน์ จึงสงบศึกแล้วมาจับมือกันเพื่อรบกับอังกฤษ...
สเกลของความขัดแย้งได้กลายเป็นสงครามขนาดใหญ่ในที่สุด...
การปะทะของพันธมิตรชาวเมารีกับอังกฤษกินระยะเวลานานนับ 10 ปี
ผลสุดท้าย ชาวเมารีก็พ่ายแพ้ต่ออังกฤษอย่างราบคาบ
เหล่านักล่าอย่างชาวเมารีผู้ซึ่งต่อสู้มาทั้งชีวิตก็ต้องสยบต่อนักล่าจากอีกฟากหนึ่งของโลกในท้ายที่สุด...
1
เอาเตอารัว หรือนิวซีแลนด์ก็ได้ตกเป็นของอังกฤษโดยสมบูรณ์...
ภาพจาก Chrischurch City Libraries
ภาพจาก RNZ (สงครามระหว่างชาวเมารีและอังกฤษ)
หลังสงครามใหญ่ ผู้อพยพชาวอังกฤษและยุโรปพากันหลั่งไหลเข้ามาจับจองดินแดนในนิวซีแลนด์...
ชาวเมารีที่พ่ายแพ้ก็ถูกขับไล่และสูญเสียดินแดนที่เคยเป็นบ้านของตนเองไป
แน่นอนครับว่า บางเผ่าก็ยังไม่ยอมสยบ ยังคงมีการก่อวินาศกรรมและเล่นสงครามกองโจรเพื่อต่อต้านอังกฤษและแย่งชิงดินแดนตนเองกลับคืนมา
แต่จากการพ่ายแพ้ในสงคราม ชาวเมารีก็เหลือเพียงแค่ความอ่อนแอ จำนวนประชากรลดลงอย่างรวดเร็ว (จริงๆ ลดลงไปก่อนหน้านี้พอสมควรในตอนที่รบกันเอง)
1
อีกทั้งอังกฤษยังมีนโยบายในการกลืนชาติชาวเมารีและมีความพยายามปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมของชาวเมารีไปเป็นแบบอังกฤษ
อนาคตที่จะแย่งชิงดินแดนคืนก็เริ่มมอดและริบหรี่ลงเรื่อยๆ ในท้ายที่สุดชาวเมารีก็ต้องยอมรับความพ่ายแพ้อย่างเจ็บช้ำหัวใจ...
ภาพจาก Human Right Commission (การขัดขืนของชาวเมารี)
แต่ถึงแม้ว่าพวกเขาจะพ่ายแพ้ในสงคราม พวกเขาเหล่าชาวเมารีที่เหลือรอดก็ยังคงรักษาวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของความเป็นเมารีอันทรงคุณค่าของตนเองไว้อย่างเหนียวแน่น
4
จนวันเวลาผันผ่านสู่คนในเจนเนอเรชั่นต่อๆ มา นิวซีแลนด์ได้จัดตั้งประเทศพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในเครือจักรภพอังกฤษ
และถึงแม้ว่าชาวเมารีจะพ่ายแพ้และถูกนโยบายกลืนชาติของอังกฤษเข้าควบคุม รวมถึงเกิดลูกผสมระหว่างชาวเมารีกับชาวยุโรปขึ้นมามากมาย
แต่น่าเหลือเชื่อจริงๆ ครับว่า วัฒนธรรมของเมารียังคงไม่หายไปไหน
1
ยังคงตั้งอยู่คู่กันกับพัฒนาการของนิวซีแลนด์ จนเป็นการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมอังกฤษและเมารีอย่างลงตัว!
1
จนในปัจจุบัน หากกล่าวถึงประเทศนิวซีแลนด์ วัฒนธรรมชาวเมารีอย่าง "โมโก" และการเต้น "ฮากา" ถือว่าเป็นภาพที่ผู้คนนึกถึงเป็นอันดับต้นๆ เลยล่ะครับ
ชาวเมารีในสังคมของนิวซีแลนด์เริ่มมีสิทธิ์มีเสียงเท่าเทียมกับคนผิวขาว (ซึ่งสามารถให้เครดิตคนขาวในเจนปัจจุบันที่พร้อมเปิดรับสังคมที่มีความหลากหลาย)
ผู้ล่าในอดีตสามารถปรับตัวเข้ากับผู้ล่าที่แข็งแกร่งกว่า และรอดพ้นจากการกลายเป็นเหยื่อได้ในที่สุด
1
กระแสแห่งความเปลี่ยนแปลงอาจจะพังทลายสถานะและอำนาจของชาวเมารี แต่ทว่าไม่อาจพังทลายความเป็นตัวตนของพวกเขาได้...
1
และนี่ คือเรื่องราวของชนเผ่าแห่งโพลานีเซีย ผู้ที่รอดพ้นจากการเป็นเหยื่อและการลบเลือน
ชื่อของพวกเขายังคงโดดเด่นและชัดเจนในปัจจุบัน
"เมารี (Maori)"
ภาพจาก Munster Rugby (ระบำฮากาเป็นท่าเต้นของเมารีซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของนิวซีแลนด์ในปัจจุบัน)
ภาพจาก BBC (นานาเอีย มาฮูตา รัฐมนตรีต่างประเทศนิวซีแลนด์ที่มีเชื้อสายชาวเมารีในปัจจุบัน)
References
Bassett, Judith. Keith Sinclair and Marcia Stenson : The story of New Zealand. Auckland : Reed books, 1993.
Mikacre, Buddy : Images of New Zealand. Auckland : Reed books, 1992.
River, Charles : British Colonization of New Zealand : The History of New Zealand from Settlement to Dominion. Scotts Valley : Create Space Independent Publishing Platform, 2018.
River, Charles : British Colonization of New Zealand : The History of New Zealand from Settlement to Dominion. Scotts Valley : Create Space Independent Publishing Platform, 2018.
โฆษณา