Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Nop Pongsatorn
•
ติดตาม
15 ธ.ค. 2021 เวลา 12:12 • ธุรกิจ
ธุรกิจที่ไปไม่รอด จากการบูลลี่
เมื่อการ “ บูลลี่ ” ทำให้ ธุรกิจกว่า 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต้องหายไป
แน่นอนว่าไม่มีใครชอบถูกใครมารังแก หรือการถูก “ บูลลี่ ” (Bully)
และแน่นอนที่สุด สำหรับธุรกิจแอพพลิเคชั่นแชทที่ไม่ระบุตัวตนอย่าง Yik Yak จากครั้งหนึ่งเคยมีมูลค่าถึง 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 1.2 หมื่นล้านกว่าบาทไทย
เกิดอะไรขึ้น มีอะไรเชื่อมโยงกันระหว่างการบูลลี่กับ Yik Yak
วันนี้ผมจะเล่าให้ฟัง
.
Yik Yak ถูกก่อตั้งโดยสองคู่หู Tyler Droll และ Brooks Buffington ที่เรียนด้วยกันในมหาวิทยาลัย โดย Yik Yak เป็นแพลตฟอร์มสำหรับการโพสต์ และอ่านข้อความสั้นๆ ซึ่งมีระยะให้เห็นการโพสต์ในรัศมีไม่เกิน 1.5 ไมล์ และตัว Yik Yak เป็นการส่งข้อความสู่สาธารณะโดยที่ไม่มีการระบุตัวตน
สมมติว่าผู้อ่านเป็นนักเรียนจิ๊กโก๋คนหนึ่งในห้อง แล้วนึกสนุกอยากให้คนทั้งบริเวณเห็นข้อความตลกๆ ของคุณไปยังผู้อ่าน สิ่งที่ต้องทำก็มีแค่กดส่งซึ่งวิธีการทำแบบนี้ ช่างดูง่ายดาย และสักพักคนในโรงเรียนก็เริ่มจะฮือฮากันนั่นเอง
และด้วยการที่ลูกค้าหลักของ Yik Yak ก็คงจะหนีไม่พ้นเหล่าเด็กวัยรุ่น ที่มีความคึกคะนอง อยากอยู่ในกระแสตลอดเวลา ส่งผลให้ยอดดาวน์โหลดหลังจากเปิดตัวใน 2013 ถึงปี 2014 มีมากถึง 1.8 ล้านกว่าครั้ง
และจากการที่เหล่ากลุ่มเป้าหมายที่เป็นวัยรุ่นนี่เอง ที่มีความคึกคะนองอยู่ในตัว การเล่นแผลงๆ ในทุกรูปแบบ Yik Yak จึงกลายเป็นที่นิยมชมชอบของคนกลุ่มดังกล่าวให้เข้ามาใช้บริการเรื่อยๆ แต่เรื่องเลวร้ายที่สุดของการส่งข้อความใน Yik Yak ก็คือการ “บูลลี่”
.
ในช่วงปี 2014 เกิดเหตุการณ์ต่างๆ มากมาย ซึ่งเป็นช่วงที่บูมๆ กันนั่นเอง มีการ "Bully" อย่างมากถึงขั้นที่ต้องหยิบมาแต่เฉพาะเรื่องเด่นๆ เท่านั้น
เช่น กรณีของ Matthew Mullen ถูกจับกุมเนื่องจากเขาได้โพสต์ขู่ว่าจะมายิงคนในโรงเรียน ส่งผลให้เกิดความกังวลของเด็กคนอื่นๆ รวมถึงเหล่าคุณครูจนถึงกับต้องออกมาประกาศปิดโรงเรียนชั่วคราวเพื่อความปลอดภัย และเหล่าบรรดานักสืบ ตำรวจก็ต่างพากันทำงานกันจ้าละหวั่นกันทีเดียว ซึ่งสุดท้ายก็ต้องยกความดี ความชอบให้กับกองตำรวจที่สามารถตรวจจับเครื่องที่โพสต์ข้อความได้
ภาพลักษณ์ของ Yik Yak จึงดูแย่ลงไปในทันที จุดขายของพวกเขาซึ่งเป็นการไม่ระบุตัวตนนั้นกำลังจะหายไป พวกเขาก็หาทางออกไปเรื่อยๆ แต่ด้วยความที่สังคมเป็นคนควบคุมแอพพลิเคชั่นตัวนี้จริงๆ ส่งผลให้ในหลายๆโรงเรียนสั่งแบนแอพตัวนี้ และหากเจอว่าใครใช้อยู่ก็ต้องถูกทำโทษ
.
และแล้วจุดจบของ Yik Yak ก็มาถึง นั่นคือปี 2016 ซึ่งพวกเขาก็ต้องพับเก็บโครงการกว่า 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลงไป เนื่องจากผู้ใช้ที่น้อยลง รวมถึงภาพลักษณ์ที่ดูย่ำแย่มากๆ ขึ้นเรื่อยๆ ถือเป็นการปิดตัว Yik Yak ไปโดยปริยาย
สิ่งที่น่าสนใจในกรณีศึกษานี้ก็คือ การเติบโตที่ไม่มั่นคง ก็จะนำไปสู่ความล้มเหลวอย่างใหญ่หลวง Yik Yak นั้น ไม่ได้แค่ล้มละลาย พวกเขาถูกกล่าวหาราวกับเป็นปีศาจของสังคม ฉะนั้นการทำธุรกิจไม่ใช่แค่คำนึงถึงความเติบโต แต่ต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคม สิ่งแวดล้อมต่างๆ ด้วยเช่นกัน
.
📌 อย่าลืมกดติดตาม 📌
จะได้ไม่พลาด ความรู้ธุรกิจ นอกห้องเรียน
Facebook: Nop Pongsatorn
Instagram: nop.pongsatorn
LINE: @noppongsatorn
TikTok: nop_pongsatorn
.
#NopPongsatorn #อายุน้อยร้อยล้าน #ธุรกิจ #นักธุรกิจ
#SME #StartUp
#บูลลี่ #แกล้งเพื่อน #YikYak
.
ที่มาของข้อมูล
-Businessinsider
-Nytimes
-Failory
1 บันทึก
2
2
1
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย