17 ธ.ค. 2021 เวลา 09:49 • คริปโทเคอร์เรนซี
ในปี 2008 นักเขียนโปรแกรมผู้ใช้นามแฝงว่า Satoshi Nakamoto ได้นำเสนอสิ่งประดิษฐ์ที่ชื่อว่า Bitcoin โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นระบบเงิน digital ที่ทำงานแบบ decentralized ได้อย่างสมบูรณ์
3
ในตอนแรก Bitcoin นั้นเป็นแค่ความคิดเพี้ยนๆ ที่มีแค่กลุ่มนักเข้ารหัสสุดเนิร์ดเท่านั้นที่อินกับมัน จนเวลาผ่านไป ก็เริ่มมีการใช้งาน Bitcoin เพื่อเก็บรักษามูลค่าและแลกเปลี่ยนมูลค่าจริงๆ
1
จากนั้น Bitcoin ก็เติบโตเรื่อยมา ทั้งในแง่ของจำนวนผู้ใช้งาน ปริมาณธุรกรรม และความแข็งแกร่งของระบบ
Bitcoin ไม่เคยมีการทำ marketing ไม่มีการบังคับให้ใครมาใช้ แต่มันกลับได้รับความนิยม และกลายเป็นสิ่งที่คนครึ่งโลกกำลังให้ความสนใจ
1
มันผ่านการทดสอบของกลไกตลาด และพิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นแหล่งเก็บรักษามูลค่าที่ดีมาตลอด 12 ปี
1
Bitcoin อาจเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ แต่มันพยายามแก้ปัญหาที่มีอยู่มานานเทียบเท่ากับการมีอยู่ของมนุษยชาติเลยทีเดียว ซึ่งก็คือการมี “เงินที่มั่นคง” (Sound money) นั่นเอง
1
ในเมื่อ Bitcoin ถูกสร้างมาเพื่อเป็นเงิน การจะทำความเข้าใจ Bitcoin จำเป็นที่จะต้องเข้าใจว่า เงินคืออะไร? นี่อาจเป็นคำถามที่พื้นฐาน แต่จริงๆแล้วมันก็ลึกซึ้งมาก บทความนี้จะสรุปบทที่ 1 ของหนังสือ ซึ่งคือการทำความเข้าใจ “เงิน” ครับ
1
📌การแลกเปลี่ยนโดยตรง (Barter)
มนุษย์แต่ละคนมีความต้องการต่างกัน และก็มีความสามารถที่ต่างกันด้วย เมื่อมนุษย์อยู่รวมกันเป็นสังคม จึงมีการแลกเปลี่ยนสิ่งของกันเกิดขึ้น นั่นคือจุดเริ่มต้นแรกสุดของเศรษฐกิจ
ในช่วงแรกของอารยธรรม มนุษย์ใช้การ “แลกเปลี่ยนสิ่งของกันโดยตรง” (Barter) แต่การแลกเปลี่ยนโดยตรงนี้ก็มีความยากอยู่ นั่นคือทั้งสองฝ่ายจำเป็นจะต้องมี “ความสอดคล้องของความต้องการ” (Coincidence of demand)
1
เช่น ถ้าผมต้องการเอาไก่ที่มี ไปแลกกับวัวของคนอื่น ผมจำเป็นต้องหาคนที่มีวัวที่ต้องการไก่ ซึ่งอยู่ในบริเวณเดียวกับผม (Coincidence of location) และเขาต้องการไก่ในปริมาณเดียวกับที่ผมต้องการวัว (Coincidenece of scale) ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ (Coincidence of time frame) ซึ่งมันเป็นอะไรที่ลำบากมาก
2
📌Money (เงิน)
วิธีการที่ง่ายกว่านั้นคือการแลกเปลี่ยนทางอ้อม (Indirect exchange) โดยมีสินค้ากลางที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน สื่อกลางนี้ต้องซื้อง่ายขายคล่อง และมีคนต้องการอยู่ตลอดเวลา สินค้าที่ถูกใช้ในลักษณะนี้ จะถูกเรียกว่า เงิน (Money) นั่นเอง
2
ในสังคมยุคก่อน ไม่มีใครมากำหนดกว่าจะใช้สินค้าไหนเป็นเงิน แต่ด้วยกลไกตลาด ก็จะทำให้สังคมหนึ่งเลือกใช้สินค้าตัวหนึ่งเป็นเงินไปเองโดยธรรมชาติ
และด้วยความที่เงินเป็นสิ่งที่มี Network effect สูงมาก สินค้าที่ถูกเลือกก็จะกลายเป็นเงินที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย คนทั้งสังคมก็พร้อมใจจะใช้มัน
1
ตลอดประวัติศาสตร์มีการใช้สินค้ามากมายเป็นเงิน ตามแต่เงื่อนไขและข้อจำกัดของสังคมนั้นๆ โดยมีทั้งเปลือกหอย หิน ลูกปัด เกลือ วัว ทองคำ แร่เงิน ทองแดง เหล้า บุหรี่ ฯลฯ
การเลือกใช้เงินที่ต่างกันออกไปนี้ ก็ย่อมส่งผลกระทบต่างๆกันไปในแต่ละสังคม ขึ้นอยู่กับ “ศักยภาพ” ของเงินนั้นๆ
📌ศักยภาพในการแลกเปลี่ยน (Salability)
สิ่งหนึ่งที่ใช้วัดความสามารถของเงินได้อย่างครอบคลุมที่สุดคือ “ศักยภาพในการแลกเปลี่ยน” (Salability) โดยจะแบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่
1.ศักยภาพในการแลกเปลี่ยนเชิงปริมาตร (Salability across scale) ซึ่งคือการแตกเป็นหน่วยเล็กหรือรวมเป็นหน่วยใหญ่ได้ง่าย ทำให้แลกเปลี่ยนมูลค่าเท่าใดก็ได้ตามความต้องการ
2.ศักยภาพในการแลกเปลี่ยนเชิงระยะทาง (Salability across space) ซึ่งบ่งบอกถึงความสะดวกในการพกพา เคลื่อนย้ายมูลค่า ไปในสถานที่ต่างๆ
3.ศักยภาพในการแลกเปลี่ยนเชิงกาลเวลา (Salability across time) ซึ่งแสดงถึงความสามารถในการเก็บรักษามูลค่าให้คงอยู่ต่อไปในอนาคต แสดงถึงความคงทน ไม่ผุกร่อน หรือเสื่อมมูลค่าไปในรูปแบบต่างๆ
เงินแต่ละชนิดจะมีความสามารถในทั้ง 3 ด้านต่างกันไป ความสามารถด้านที่ 1 กับ 2 นั้นไม่ใช่เรื่องยากนัก และเงินส่วนใหญ่ก็ทำได้ดีในระดับหนึ่ง
แต่สิ่งสำคัญที่เงินส่วนใหญ่ทำไม่ได้คือเรื่องของ Salability across time นี่เอง เพราะถึงแม้รูปแบบทางกายภาพของเงินจะอยู่คงเดิม แต่มันอาจเสื่อมค่าไปได้เช่นกันหากอุปทาน (Supply) ของเงินนั้นเพิ่มเร็วเกินไป
เงินเป็นสิ่งมีค่าที่ทุกคนอยากมีในครอบครอง ตลอดประวัติศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นสังคมใด ก็จะมีความพยายามในการผลิตเงินเพิ่ม เพื่อที่จะรวยทางลัดเสมอ ซึ่งหากเงินนั้นผลิตได้ง่ายก็จะทำให้อุปทานล้นตลาดส่งผลให้มันมีค่าลดลง
เงินที่มั่นคง ที่สามารถรักษามูลค่าผ่านกาลเวลาได้ จึงจำเป็นต้องเป็นเงินที่สร้างได้ยาก ส่งผลให้มันมีความหายาก (Scarcity) นั่นเอง
📌Stock to flow ratio
เงินที่มั่นคง หายาก และสร้างขึ้นมาใหม่ได้ยากนี้ อาจวัดกันได้จากสิ่งที่เรียกว่า Stock-to-flow ratio โดยคำนวณจาก Stock (ปริมาณเงินที่มีในระบบ) หารด้วย Flow (ปริมาณเงินที่ผลิตใหม่ในช่วงเวลาหนึ่ง)
1
สินค้าที่มีค่า Stock-to-flow สูง หมายถึง flow ที่มีอัตราการผลิตเพิ่มใหม่ค่อนข้างต่ำ ซึ่งจะมีความมั่นคงและสามารถรักษามูลค่าไปในอนาคตได้ ส่วนสินค้าที่มี Stock-to-flow ต่ำ อาจหมายความว่ามันถูกผลิตเพิ่มได้ง่าย ทำให้มันเสื่อมมูลค่านั่นเอง
3
แต่ Stock-to-flow ก็ไม่ใช่สิ่งที่เป็นค่าคงที่ มันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดตามปริมาณของเงิน และปริมาณการผลิต และหากมีการเปลี่ยนแปลงแรงๆ ไม่ว่าจะเป็นทางธรรมชาติ เทคโนโลยี หรือการเมืองใดๆ ส่งผลให้ค่า Stock-to-flow ของเงินนั้นต่ำลงอย่างรวดเร็ว เงินนั้นจะเสื่อมค่าไป และจะมีสินค้าที่มี Stock-to-flow สูงกว่ามาเป็นเงินแทน
2
นี่เป็นเรื่องที่มีให้เห็นมาตลอดประวัติศาสตร์ ครั้งหนึ่งเปลือกหอยเคยถูกใช้เป็นเงิน แต่เมื่อเทคโนโลยีการประมงดีขึ้น การหาเปลือกหอยง่ายขึ้น เปลือกหอยก็ต้องเสียสถานะนี้ไป
1
ทวีปแอฟริกาเคยใช้ลูกปัดเป็นเงิน แต่เมื่อชาวยุโรปเริ่มเข้ามาในแอฟริกา ก็มีการนำเข้าลูกปัดมาเพิ่มมากมาย และทำให้ลูกปัดเสื่อมมูลค่าในแอฟริกาลงในที่สุด
1
ปัจจุบันเงินรัฐบาลที่เราใช้อยู่นั้นก็มีการผลิตเพิ่มมหาศาล ผ่านมาตรการทางเศรษฐกิจต่างๆ ส่งผลให้ค่า Stock-to-flow ต่ำลงเรื่อยๆ หากลองมองประวัติศาสตร์การเงิน ก็น่าจะทำนายได้ไม่ยากว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อไป
2
📌หน้าที่ของเงิน
และสุดท้าย เพื่อให้ความเข้าใจในนิยามของเงินนั้นสมบูรณ์ ก็จำเป็นต้องเข้าใจเรื่องหน้าที่และความสำคัญของเงินด้วย อย่างที่พอจะรู้กันว่า เงินมีหน้าที่ 3 อย่างได้แก่ 1.เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน (Medium of exchange) 2.เป็นหน่วยวัดมูลค่า (Unit of account) และ 3.เป็นแหล่งเก็บรักษามูลค่า (Store of value)
3
3 สิ่งนี้อาจจะดูเป็นเรื่องง่ายๆ แต่มันก็เป็นรากฐานที่สำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
เงินที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนที่ดี จะทำให้การค้าขายมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตลาดขยายขนาด อรรถประโยชน์ของสินค้าและบริการถูกจัดสรรได้ดี คนแต่ละคนก็จะสามารถพัฒนาความชำนาญเฉพาะทาง และทำให้ productivity โดยรวมของทั้งสังคมสูงขึ้น
1
ถ้าเงินทำหน้าที่เป็นหน่วยวัดมูลค่าที่ดี กลไกตลาดจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ราคาจะเป็นสิ่งที่สื่อสารมูลค่าของสิ่งต่างๆได้อย่างแม่นยำ การคำนวณและวางแผนทางเศรษฐกิจที่ซับซ้อนสามารถเกิดได้ การตัดสินใจทางเศรษฐศาสตร์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมพัฒนาได้ดี
และถ้าเงินทำหน้าที่เก็บรักษามูลค่าได้ดี ผู้คนจะสามารถสะสมความมั่งคั่งได้ ทำให้เกิดความมั่นคงในชีวิต ทำให้คนคิดการณ์ไกลมากขึ้น ชะลอการบริโภคในวันนี้เพื่อผลตอบแทนในระยะยาวมากขึ้น การเก็บออมและลงทุนลงแรงในระยะยาวนี้คือกุญแจสำคัญในการสั่งสมทุนทรัพย์และการพัฒนาอารยธรรมของมนุษยชาติโดยรวม
1
จะเห็นว่าเงินที่มั่นคงนั้น ส่งผลต่อพัฒนาการทางเศรษฐกิจและความเจริญงอกงามของสังคมเป็นอย่างมาก
หากลองมองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ ช่วงที่มนุษย์มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด สังคม ศิลปะวัฒนธรรมเฟื่องฟู ล้วนเป็นช่วงที่สังคมใช้เงินที่มั่นคงทั้งสิ้น เช่น ยุคโรมัน ยุคเรเนซองส์ ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นต้น
1
ส่วนในยุคที่เงินขาดความมั่นคง ด้วยปัจจัยต่างๆนาๆ ที่ทำให้เงินนั้นบกพร่องไป ล้วนนำมาซึ่งความเสื่อมทรามของสังคม พัฒนาการทางอารยธรรมต้องชะลอลง และหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องพบจุดจบของยุคสมัยในที่สุด เช่น ช่วงปลายยุคโรมัน ยุคมืด และยุคสมัยใหม่ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นต้นมา
2
อ่านมาถึงตรงนี้ทุกคนคงจะเข้าใจนิยาม หน้าที่ และความสำคัญของเงินกันแล้ว แต่อาจจะยังไม่เห็นภาพมากนัก ถึงตรงนี้ไม่เป็นไรครับ บทต่อๆไปจะขยายความจากบทนี้ ทำให้เห็นภาพและอินมากขึ้นครับ
ในบทที่ 2-4 จะเล่าถึงประวัติศาสตร์ของเงินไล่ไปตามยุคสมัย ตั้งแต่เงินในยุคโบราณ เงินโลหะ และเงินตรารัฐบาล เป็นการอธิบายเหตุการณ์สำคัญตลอดประวัติศาสตร์ ผ่านมุมมองของเงิน
ส่วนในบทที่ 5-7 จะเล่าถึงหน้าที่ของเงิน และความสำคัญของเงินที่มั่นคง ต่อการพัฒนาอารยธรรมของมนุษยชาติแบบลงรายละเอียด
และในบทที่ 8-10 จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ Bitcoin โดยเป็นการอธิบายว่า Bitcoin คืออะไร ทำงานอย่างไร และมันจะมีประโยชน์อะไรต่อมนุษยชาติ
หนทางยังอีกยาวไกล แต่รับรองว่าสนุกแน่ รอติดตามกันต่อไปครับ
References
Saifedean Ammous (2017) The Bitcoin Standard
2

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา