15 ธ.ค. 2021 เวลา 20:10 • หุ้น & เศรษฐกิจ
🏦 FED ถอน QE เร็วขึ้น 2 เท่า และส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ย 3 ครั้งในปีหน้า 📈
เจ้าหน้าที่ FED เพิ่มความเข้มข้นในการต่อสู้ขกับอัตราเงินเฟ้อที่ร้อนแรงที่สุดในยุคหนึ่งโดยตัดสินใจหยุดการทำ QE เร็วขึ้น และส่งสัญญาณการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2022 ในอัตราที่เร็วกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้
6
เฟดได้เปลี่ยนท่าทีเป็น hawkish ที่สุดในรอบหลายปี โดยจะเพิ่มอัตราการลดวงเงินการซื้อพันธบัตรรัฐบาลและ MBS เป็น 3 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน ซึ่งจะทำให้การทำ QE สิ้นสุดในต้นปีหน้าแทนที่จะเป็นกลางปีตามแผนเดิม
การถอน QE เร็วขึ้นทำให้ประธานเฟด เจอโรม พาวเวลล์ สามารถขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้เพื่อรับมือกับแรงกดดันด้านราคาหากมีความจำเป็น แม้ว่าการระบาดใหญ่จะยังคงเป็นความท้าทายต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจก็ตาม ทั้งนี้เฟดระบุถึงความกังวลเกี่ยวกับสายพันธุ์โอไมครอน โดยกล่าวว่า “ความเสี่ยงต่อแนวโน้มเศรษฐกิจยังคงมีอยู่ ซึ่งรวมถึงไวรัสสายพันธุ์ใหม่ด้วย”
การคาดการณ์ที่เผยแพร่ควบคู่ไปกับแถลงการณ์แสดงให้เห็นว่า เฟดคาดว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงิน 3 ครั้งในปีหน้า หลังจากที่คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำมาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2020 นอกจากนี้การคาดการณ์ใหม่ยังแสดงให้เห็นถึงการขึ้นดอกเบี้ย 3 ครั้งในปี 2023 และ 2 ครั้งในปี 2024
1
การเปลี่ยนแปลงท่าทีอย่างกะทันหันของเฟดสะท้อนให้เห็นถึง “การก้าวหน้าของอัตราเงินเฟ้อและการภาวะในตลาดแรงงานที่แข็งแกร่งขึ้น” คณะกรรมการกำหนดนโยบายของ Federal Open Market กล่าวในแถลงการณ์ นอกจากนี้เฟดย้ำอีกว่า "พร้อมที่จะปรับจังหวะการซื้อสินทรัพย์ได้หากมีการเปลี่ยนแปลงในแนวโน้มของเศรษฐกิจ"
✅ เป้าหมายการจ้างงาน
ด้านอัตราดอกเบี้ย “ด้วยอัตราเงินเฟ้อที่เกิน 2% มาซักพัก คณะกรรมการคาดว่าเป็นการเหมาะสมที่จะรักษาอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมจนกว่าสภาวะตลาดแรงงานจะถึงระดับที่สอดคล้องกับการจ้างงานสูงสุดจากการประเมินของคณะกรรมการ”
FOMC กล่าวว่า “ความไม่สมดุลของอุปทานและอุปสงค์ที่เกี่ยวข้องกับการระบาดครั้งใหญ่ และการกลับมาเปิดเศรษฐกิจอีกครั้ง ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง”
ในขณะที่การเพิ่มความเร็วในการถอน QE นั้นสอดคล้องกับความคาดหวังจากนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่จากการสำรวจโดย Bloomberg News แต่ท่าทีของการขึ้นอัตราดอกเบี้ยออกมาเร็วกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้
💸 ในแถลงการณ์ของ FOMC ได้ยกเลิกคำว่า "คาดว่าจะเกิดขึ้นชั่วคราว" ในการอธิบายภาวะเงินเฟ้อ สอดคล้องกับที่พาวเวลล์บอกกับฝ่ายนิติบัญญัติเมื่อเดือนที่แล้วว่าถึงเวลาแล้วที่จะ "เลิกใช้" คำว่า "ชั่วคราว" ในการอธิบายเงินเฟ้อในระดับสูง
ทั้งนี้ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้น 6.8% yoy ในเดือนพฤศจิกายน นับเป็นการเพิ่มขึ้นที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 1982 จากราคาอาหารและพลังงานที่พุ่งสูงขึ้น รวมถึงค่าเช่าที่เร่งตัวขึ้นมากกว่าช่วงต้นปีที่ผ่านมา
การว่างงานลดลงเหลือ 4.2% ในเดือนพฤศจิกายนจาก 4.6% ในเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นอัตราการฟื้นตัวที่รวดเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตามช่องว่างระหว่างอัตราการว่างงานของคนผิวขาวและคนผิวดำยังคงห่างอยู่ที่ 3.7% และ 6.7% ตามลำดับ และเจ้าหน้าที่ของ Fed กล่าวว่าพวกเขาจะนำความเหลื่อมล้ำเหล่านั้นมาพิจารณาด้วย ภายใต้แนวทาง "แบบกว้าง ๆและครอบคลุม" ในการตัดสินใจขึ้นสุดท้ายว่าอัตราการจ้างงานถึงระดับสูงสุดแล้วหรือยัง
🎯 นอกจากนี้ FOMC ได้ปรับประมาณการณ์อัตราเงินเฟ้อปี 2022 ขึ้นเป็น 2.6% จาก 2.2% ในเดือนกันยายน และปรับคาดการณ์อัตราการว่างงานในช่วงปลายปีหน้าลงมาอยู่ที่ 3.5% เทียบกับ 3.8% ในเดือนกันยายน
Source: Bloomberg
✅ ทั้งนี้ อย่าลืมติดตามนิคกี้เพิ่มเติมได้ทาง
#เศรษฐกิจ #การเงิน #การลงทุน #กองทุน #หุ้น #สหรัฐฯ #จีน #ข่าว #COVID19 #โควิด19 #S&P500 #Bitcoin #TradeWar #สงครามการค้า #หุ้นจีน #เกาหลี #FED #ford #Nasdaq #คริปโต #เงินเฟ้อ #พันธบัตร #ฮ่องกง #Hongkong #Bloomberg #Taper #Crypto #CSI300 #กองทุนรวม #จีน #คริปโต #สีจิ้นผิง #ChinaEvergrande #Evergrande #China #Evergrande #ฮ่องกง #ญี่ปุ่น #FOMC #FED #เฟด #QE #ชิป #ไบเดน #ไต้หวัน #คริปโต #เกาหลี #น้ำท่วม #ไฟฟ้า #วิกฤติพลังงาน #Bitcoin
โฆษณา