17 ธ.ค. 2021 เวลา 03:28 • สัตว์เลี้ยง
1 ใน 4 โรคที่อันตรายที่สุดในสุนัข ตอนที่ 2 โรคฮีทสโตรก
ภาพประกอบบทความจากเว็บไซต์ https://muncute.com/archives/1557
ในบทความนี้อาจจะไม่ได้เป็นช่วงฤดูที่น่ากังวลกับโรคฮีทสโตรก ที่กำลังจะพูดถึงต่อไปนี้ แต่ที่นี้เป็นเมืองไทยอากาศร้อนอบอ้าวมีอยู่ 80% ของอากาศโดยรวมตลอดทั้งปีอยู่แล้ว อันที่จริงโรคนี้เกิดขึ้นได้กับทั้งคนและสัตว์ โดยจะขออนุญาตเจาะจงไปที่สุนัขนะครับ
แน่นอนว่าโรคฮีทสโตรกอันตรายมาก มันสามารถฆ่าชีวิตน้องหมาอันเป็นที่รักของคุณได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ทีนี้เรามาดูสาเหตุที่จะทำให้เกิดโรคนี้กับน้องหมาเรานะครับ
โดยปกติแล้วสุนัขจะระบายความร้อนภายในตัวด้วยการหายใจทั้งทางจมูงและปาก หรือระบายความร้อนที่ฝ่าเท้า สุนัขจะไม่มีต่อมเหงื่อที่สามารถระบายความร้อนได้เหมือนมนุษย์ ถ้าสุนัขไปอยู่ในที่ๆ มีอากาศร้อนมากๆ หรือในที่ไม่มีอากาศถ่ายเทเท่าที่ควร อุณภูมิในร่างกายจะสูงขึ้นมากเช่นกัน และถ้าเมื่อไหร่ที่สุนัขหายใจระบายความร้อนออกไม่ทัน ระบบควบคุมอุณภูมิร่างกายก็จะเสีย จึงเกิดอาการฮีทสโตรก (Heatstroke) ขึ้นมา หรืออาจจะเรียกเป็นภาษาแบบไทยๆ ว่าโรคลมแดด และก็จะไปส่งผลกระทบต่อ ตับ ไต หัวใจ สมอง (หนักเข้าไปอีก) ส่วนใหญ่แล้วจะพบกับสุนัขที่มีขนยาวๆ และสุนัขที่เป็นพันธุ์หน้าสั้นทุกสายพันธุ์
ภาพประกอบบทความจากเว็บไซต์ https://muncute.com/archives/1557
เมื่อเค้าเป็นแล้วจะมีอาการอย่างไรบ้างเพื่อให้เราทราบ
1.ตัวร้อนหรือมีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 39 องศาเซลเซียส (จับดูก็รู้เลย)
2.หัวใจเต้นเร็วและไม่เป็นจังหวะ
3.หายใจลำบาก หายใจแรง กระหายน้ำรุนแรง น้ำลายเหนียวไหลเยอะมาก
4.ดูเหนื่อยล้าอ่อนเพลีย มีอาการเซ สับสนมึนงง และ กล้ามเนื้อสั่นกระตุก
5.ปัสสาวะน้อยหรือแทบไม่ปัสสาวะเลย
6.จมูกแห้ง เหงือกมีสีแดงเข้มหรือเป็นสีน้ำเงินหรือม่วง
7.อาจมีเลือดออกเป็นจุดตามลำตัว
8.บางตัวอาจมีอาการอาเจียน ถ่ายเหลว หรือ ถ่ายเป็นเลือด
9.มีภาวะช็อก อาจเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นหรือหยุดหายใจ
อาการและความรุนแรงขึ้นอยู่กับขนาด ความแข็งแรงของสุนัข และ ระยะเวลาที่ได้รับความร้อน
ภาพประกอบบทความจาก http://www.thonglorpet.com
วิธีปฐมพยาลาลเบื่องต้น
รีบพาสุนัขออกจากที่ๆ มีความร้อนสูง มาอยู่ในที่ร่มและมีลมโกรก หรือในที่ๆ มีพันลม หรือแอร์ได้ก็ยิ่งดี แล้วรีบหาน้ำดื่ม (น้ำเปล่า) ในอุณหภูมิปกติทีเรื่อยๆ ทีละน้อย อย่าบังคับให้สุนัขดื่ม หากสุนัขไม่ยอมดื่มด้วยตัวเอง จากนั้น ค่อยๆ เช็ดตัวหรือเอาน้ำลูบใต้ฝ่าเท้า และอย่าทำการลดอุณหภูมิโดยการเปลี่ยนอุณหภูมิแบบกระทันหันเกินไป เพราะอาจจะทำให้หัวใจวายเฉียบพลันได้ จากนั้นรีบนำสุนัขไปโรงพยาบาลโดยเร็ว
โฆษณา