17 ธ.ค. 2021 เวลา 10:04
ภาษีจากการขายหุ้น แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ หรือแก้ปัญหารัฐถังแตก?
4
อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่าปัญหาความเหลื่อมล้ำอยู่กับประเทศเรามานาน ยิ่งมาเจอวิกฤตโรคผีบ้านี่ด้วยยิ่งไปกันใหญ่ รัฐบาลจำเป็นต้องอัดฉีดเม็ดเงินในการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านโครงการต่างๆในขณะที่การจัดเก็บรายได้ก็ไม่เข้าเป้าจากการที่มีการชะลอตัวของเศรษฐกิจซึ่งเราจะเห็นได้จากการมีหนี้สาธารณะที่สูงขึ้นจากการขาดดุลงบประมาณ
2
เร็วๆนี้นี้กรมสรรพากรได้ออกมาชี้แจงว่า กระทรวงการคลังได้เริ่มศึกษาความเป็นไปได้ของการเก็บภาษีจากการขายหุ้น หรือ Financial Transaction Tax (FTT ) และ ภาษีจากการกำไรจากการขายหุ้น (Capital Gain Tax) โดยตั้งเป้าศึกษาการจัดเก็บภาษีนักลงทุนเมื่อขายหุ้นที่มีการซื้อขายมากกว่า 1 ล้านบาทต่อเดือนในอัตรา 0.1% ถ้าเรื่องนี้เกิดขึ้นได้จะมีผลอย่างไร ดอกเบี้ยสีทองจะขอเม้าให้ฟัง
1
มาที่ FTT ก่อน ประเทศส่วนใหญ่ตอนนี้มีการจัดเก็บภาษีตัวนี้มานานพอสมควร ยกตัวอย่างเช่นประเทศในแถบยุโรป หลายประเทศก็ใช้เกณฑ์ขั้นบันได เช่น สวิสเซอร์แลนด์เก็บอยู่ 0.15-0.30% หรือ เก็บต่ำๆหน่อยเช่น เบลเยียม 0.12% ในเอเชียมีการเก็บภาษีหลายรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับหุ้น มีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น Security Transaction Tax และ Stamp Duty เช่น ฮ่องกงอยู่ที่ 0.1% มาเลเซีย 0.3% สิงคโปร์ 0.2%(ของราคาซื้อ) ไต้หวัน 0.1% ซึ่งตัวเลขที่ไทยกำลังศึกษาที่ 0.1% นั้นดิฉันก็ไม่แน่ใจว่ามาอย่างไร แต่ก็จัดอยู่ในกลุ่มที่เก็บน้อยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ซึ่งส่วนตัวแล้วดอกเบี้ยสีทองไม่ได้กังวลกับ FTT มากนักเนื่องจาก การขาย 1 ล้านคิดเป็นภาษี 1,000 บาทก็ถือว่าไม่มากไม่น้อย ซึ่งอธิบดีกรมสรรพากรระบุว่าคนส่วนใหญ่ 85% ไม่ได้ขายหุ้นมากกว่า 1 ล้านบาทต่อเดือนจะได้รับผลกระทบ
3
ในส่วนของ Capital Gain Tax ในช่วงปีหลังมานี้หลายๆประเทศส่วนใหญ่มีการจัดเก็บภาษีจากกำไรการขายหุ้นกันมากขึ้น ส่วนประเทศที่มีการจัดเก็บอยู่แล้วก็เพิ่มอัตราภาษีสำหรับกำไรจากการขายหลักทรัพย์ ยกตัวอย่างเช่นในสหรัฐอเมริกา และประเทศอื่นๆในกลุ่ม OECD มีการจัดเก็บภาษีกำไรจากการขายหุ้น อย่างในสหรัฐ ปธน.ไบเดนได้เสนอเพิ่มการจัดเก็บภาษีจากกำไรจากการขายหุ้นจากปัจจุบันที่อัตราสูงสุด 29% (Marginal) เป็นการแบ่งภาษีกำไรจากการขายหุ้นเป็นสองเกณฑ์ คือหุ้นที่ถือน้อยกว่า 1 ปี จะนำกำไรจากการขายหุ้นนั้นมารวมกับรายได้ส่วนบุคคล ซึ่งทำให้ภาษีตัวนี้อาจขึ้นไปสูงได้ถึง 48.4 % ในกรณีที่บุคคลนั้นมีรายได้มากกว่า 1 ล้านเหรียญต่อปี...(นี่หรือรายได้ส่วนบุคคล)...และลดหลั่นกันลงมาตามขั้นของรายได้ ในขณะที่กำไรจากหุ้นที่ถือมากกว่า 1 ปีถูกเก็บในอัตราถูกกว่า (รวมกันทั้งภาษีที่จ่ายปกติและภาษีแต่ละรัฐที่ 0-29%)
6
ส่วนประเทศอื่นใน OECD ก็มีการจัดเก็บภาษีคล้ายในสหรัฐฯ เช่นในเดนมาร์คมีอัตราสูงสุดที่ 42% รองลงมาคือประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวียที่ 30%++ สเปน เยอรมัน อิตาลีที่สูงสุด 25%++ อังกฤษ ญี่ปุ่น ออสเตรเลียที่ 20%++ และประเทศที่ยังไม่มีการจัดเก็บภาษีกำไรจากการขายหุ้นคือ เกาหลี สวิส นิวซีแลนด์ เบลเยียม ตุรกี เป็นต้น
2
เราจะเริ่มมองเห็นภาพว่าภาษีที่เก็บสองตัวนี้เก็บประมาณไหนทั่วโลก จะเห็นได้ว่าที่เกณฑ์ 0.11% ที่กรมสรรพสามิตกำลังศึกษาอาจเรียกได้ว่า ต่ำกว่า และ ค่อนข้างถ้วนหน้าเมื่อเทียบกับ Financial Transaction Tax ของกลุ่มประเทศใน OECD โดยไม่มีเกณฑ์ทางรายได้มาเกี่ยวข้องมากนักที่จะแบ่งอัตราการเก็บถ้าไม่นับการเก็บเฉพาะนักลงทุนที่ซื้อขายมากกว่า 1 ล้านบาทต่อเดือน ดอกเบี้ยสีทองมองว่าภาษีที่กำลังศึกษาตัวนี้ว่าเป็น “ภาษีเทรดเดอร์” หรือ ภาษีฝรั่ง ละกันค่ะ สาเหตุคือนักลงทุนที่จะมีการซื้อขายมากกว่า 1 ล้านบาทต่อเดือนนั้น โดยมากคือกลุ่มที่มีการซื้อขายบ่อย เช่นนักเก็งกำไร นักลงทุนต่างประเทศ หรืออาจมีนักลงทุนระยะยาวที่มีการลงทุนในระดับสูง ซึ่งอย่างหลังพบได้น้อยกว่า
3
สิ่งที่น่าลุ้นกว่าคือผลจากการมี Capital Gain Tax มากว่า ซึ่งถ้าเป็นดังนี้ถ้านักลงทุนพบว่าต้องเสียภาษีจากการขายหุ้น (Tax on Realization) สิ่งที่เกิดขึ้นคือนักลงทุนต้องชะลอการขายออกไปให้นานที่สุดเท่าที่เป็นจำเป็นเพื่อให้กำไรหลังหักภาษีคุ้มค่าที่สุดหรือที่เรียกว่า Locked-in effect ซึ่งเรื่องนี้มีการศึกษาออกมาทั้งในด้านดีและผลเสียจากการเก็บภาษีกำไรจากการขายหุ้นของนักลงทุนทั่วไป
3
อย่างแรกเลยที่ชัดเจนคือภาษีสองตัวนี้จะไปเพิ่มความเสี่ยงจากการลงทุนโดยรวม ซึ่งทำให้นักลงทุนอาจสนใจการลงทุนในหุ้นน้อยลงจากการที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น ซึ่งในหลายๆประเทศได้ใช้ระบบการจัดเก็บภาษีกำไรที่สามารถหักล้างกับ การขายขาดทุนได้ เช่นสหรัฐอเมริกาสามารถทำเรื่องขอคืนภาษีจากกำไรจากการขายหุ้นเมื่อมีการขายขาดทุน โดยหักล้างได้สูงสุด 3,000 เหรียญต่อปีจากการยื่นภาษีรายได้บุคคล โดยเรียกภาษีตัวนี้ว่า Net Investment Income Tax (NIIT)
3
อย่างที่สองที่เป็นผลตามมาคือปริมาณซื้อขายในตลาดหุ้นจะลงลงตามจากการที่นักลงทุนอาจสนใจซื้อขายหุ้นลดลง สภาพคล่องที่ต่ำลงก็จะมีผลทำให้ราคาหุ้นลดลง รวมถึงความผันผวนที่จะลดลงด้วยจากการที่มีการเก็งกำไรระยะสั้นน้อยลง จะทำให้เกิดการลังเลการลงทุนของนักลงทุนเดิมและนักลงทุนหน้าใหม่ โดยอาจไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทที่เสี่ยงมากขึ้นอย่าง ตราสารอนุพันธ์ หรือ สกุลเงินดิจิทัล
1
ทั้งนี้ทั้งนั้นดอกเบี้ยสีทองคิดว่าอาจจะยังใช้เวลาอีกสักพักใหญ่เพื่อศึกษาผลกระทบต่อประชาชนทั่วไปเทียบกับความคุ้มค่าจากการเพิ่มรายได้จากภาษี ซึ่งในการที่จะบังคับใช้กฎหมายเก็บภาษีทั้งจาก Financial Transaction Tax ที่มีกฎหมายอยู่แล้วแต่ปัจจุบันได้รับการยกเว้น และ Capital Gain Tax ที่ยังไม่มีกฎหมายรองรับ
สุดท้ายดอกเบี้ยสีทองหวังว่าการพิจารณานำกฎหมายการเก็บภาษีทั้งสองตัวนี้มาใช้เพิ่มรายได้เข้ารัฐ ต้องมีการพิจารณาแบบบูรณาการ โดยไม่ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบมากจนทำให้เกิดผลเสียแก่ระบบตลาดทุนและความมั่งคั่งส่วนบุคคล โดยเน้นไปที่การลดความเหลื่อมล้าควบคู่กับการจัดเก็บรายได้
2
โฆษณา