19 ธ.ค. 2021 เวลา 05:43 • ประวัติศาสตร์
ใฝ่ฝันจะเป็นจิตแพทย์ผู้ยิ่งใหญ่ แต่สุดท้ายต้องกลายเป็นผู้ป่วยจิตเวช
6
หนึ่งในเรื่องฮือฮาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาก็คงไม่พ้นหนึ่งในผู้สมัครลงชิงตำแหน่งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร ประกาศกร้าวกลางเวทีว่าตนนั้น "เป็นทายาทสายตรงไอสไตน์คนเดียวในแผ่นดินไทย"
8
จนนำไปสู่ประเด็นที่ถูกเปิดเผยต่อมาว่าแท้จริงแล้วศาสตราจารย์เฮอร์เบิร์ต ไอสไตน์ (Professor Herbert Einstein) นั้นมิได้มีความเกี่ยวข้องทางสายเลือดกับยอดนักฟิสิกส์อัจริยะอย่างอัลเบิร์ต ไอสไตน์ (Albert Einstein) แต่เป็นเพียงมุกตลกที่เหล่านักศึกษาสถาบัน MIT เล่าขานส่งตำนานต่อมารุ่นสู่รุ่นเท่านั้น
7
ศาสตราจารย์เฮอร์เบิร์ต ไอสไตน์ & สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์(พี่เอ้)
แม้ว่าพี่เอ้จะถูกดับฝันเรื่องทายาทสายตรง แต่ในวันนี้พวกเรามีหนึ่งเรื่องราวของหนึ่งในบุตรชายผู้เป็นสายเลือดแท้ ๆ ของไอสไตน์ ลูกชายของอัจฉริยะที่ต้องเผชิญเส้นทางชีวิตที่ขรุขระและต้องสิ้นสุดไปในโรงพยาบาลจิตเวช กับชายคนนี้ที่มีชื่อว่าเอดูอาร์ด ไอสไตน์ (Eduard Einstein)
4
ฮานส์(ซ้าย) & อัลเบิร์ต(กลาง) & เอ็ดดวร์ด(วงกลมแดง)
เอดูอาร์ดเป็นบุตรชายคนเล็กของ อัลเบิร์ต ไอสไตน์ที่เกิดกับภรรยาคนแรกที่มีชื่อว่ามิเลวา มาริค (Mileva Marić) ซึ่งเธอเป็นนักเรียนหญิงผู้ฉลาดหลักแหลมเพียงคนเดียวในสถาบันฟิสิกส์ที่ไอสไตน์เป็นอาจารย์สอนอยู่ทั้งคู่พบรักและแต่งงานกันในปี 1903 ก่อนที่ในเวลาต่อมาได้ให้กำเนิดทายาทเป็นโซ่ทองคล้องใจ 3 คน
4
Milea Maric หญิงที่หลายคนเชื่อว่าอยู่เบื้องหลังความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของไอสไตน์
ลีเซิร์ล ไอสไตน์ (Lieserl Einstein)ลูกสาวคนโตที่หายสาบสูญไปในหน้าประวัติศาสตร์ซึ่งมีข้อสันนิษฐานที่ยังคงคลุมเครือว่า ตกลงแล้วเธอเสียชีวิตตั้งแต่เยาว์วัยหรือถูกรับไปอุปการะตั้งแต่ครั้งยังเป็นทารก
4
ฮานส์ อัลเบิร์ต ไอสไตน์ (Hans Albert Einstein) บุตรชายคนโตบุตรชายหัวแก้วหัวแหวนที่ได้รับการถ่ายทอดความเป็นอัจฉริยะมาจากทั้งบิดาและมารดร
อัลเบิร์ต ไอสไตน์กับฮานส์บุตรชายในวัยแบเบาะ
และเอดูอาร์ด ไอสไตน์ (Eduard Einstein) บุตรชายคนสุดท้องผู้เป็นต้นเรื่องของเรา ได้ถือกำเนิดเกิดมาบนโลกใบนี้เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 1910 ไอสไตน์ผู้เป็นพ่อได้เรียกชื่อเล่นด้วยความเอ็นดูว่า Tete ซึ่งมีที่จากจากคำว่า Peteite ที่แปลว่าเจ้าตัวเล็ก และ Tete ก็ไม่ต่างกับ​ฮานส์ผู้เป็นพี่ชาย เขาได้รับการส่งต่อความฉลาดหลักแหลมมาเช่นเดียวกัน
2
ภาพคู่สองพี่น้องไอสไตน์ Eduard และ Hans ถ่ายในปี 1917
เมื่อเติบโตขึ้นแม้ปรากฏข้อมูลออกมาว่าในวัยเด็กนั้นเอดูอาร์ดเป็นเด็กที่มีอาการเจ็บป่วยอยู่บ่อย ๆ แต่เอดูอาร์ดนั้นเป็นเด็กที่มีพรสวรรค์โดดเด่นทั้งวิชาการและด้านดนตรี และแต่งกลอนกวี
3
Eduard Einstein สมัยวัยรุ่น
ไอสไตน์และมิเลวาแยกกันอยู่ในปี 1914 โดยมิเลวาย้ายกลับมาอยู่ที่สวิสเซอร์แลนด์ในขณะที่ไอสไตน์ทำงานสอนหนังสือต่ออยู่ที่กรุงเบอร์ลินก่อนที่ทั้งสองจะหย่าร้างในปี 1919
กาลเวลาผันผ่านล่วงเลยไป Tete ก็ได้พบว่าตนนั้นหลงใหลใคร่รู้ในศาสตร์เกี่ยวกับจิตวิทยา และยังศรัทธาในผลงานของจิตแพทย์ผู้โด่งดังอย่างซิกมุนด์ ฟลอยด์ (Sigmund Freud) ทำให้เขาตัดสินใจตบเท้าก้าวตามความฝันเข้าศึกษาวิชาจิตวิทยาในมหาวิทยาลัย ซูริค ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
3
โดยตั้งใจจะจบออกมาเป็นจิตแพทย์เพื่อศึกษาไขความลับที่อยู่ในจิตใจของมนุษย์เฉกเช่นที่บิดาของเขาได้เคยไขความลับอันยิ่งใหญ่ของจักรวาล
2
อัลเบิร์ต ไอสไตน์
แม้หลายคนจะบอกกับ Tete ว่าเขาช่างโชคดีที่ได้ถือกำเนิดเกิดเป็นทายาทของอัจฉริยะผู้ยิ่งใหญ่อย่างไอสไตน์ แต่ตัวเขาเองนั้นได้เคยเขียนปรารภเอาไว้ในสมุดบันทึกวิเคราะห์ตนเองว่า "ในบางครั้งมันก็ลำบากที่เป็นลูกของชายผู้สร้างสิ่งยิ่งใหญ่และสำคัญ เพราะมันทำให้ตัวเขานั้นรู้สึกไม่สำคัญเอาเสียเลย"
6
University Of Zurich
แม้ต้องเผชิญความกดดันที่ต้องใช้ชีวิตภายใต้เงาแห่งความสำเร็จของชายผู้เป็นบิดา แต่เมื่อมองจากตรงนี้ เส้นทางชีวิตของเอดูอาร์ดนั้นก็ยังดูมีอนาคตไกล ได้ศึกษาในศาสตร์ที่ตนชอบ ในมหาวิทยาชั้นนำของโลกหากไม่มีสิ่งใดผิดพลาดเขาก็น่าจะก้าวเท้าสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่ในวงการจิตวิทยาอย่างแน่นอน
แต่แล้วในปี 1930 สิ่งที่พิฆาตดับฝันของเจ้าตัวเล็กอย่างเอดูอาร์ด ไอสไตน์ก็มาเยือนเขา ในปีนั้นเอ็ดดวร์ดวัย 20 ปี ได้ตกหลุมรักกับหญิงสาวที่มีอายุมากว่าเขาคนหนึ่งในระหว่างที่กำลังเป็นนักศึกษาวิชาจิตวิทยาในมหาวิทยาลัย
2
น่าเศร้าที่สัมพันธ์รักของทั้งสองจบลงอย่างรวดเร็วโดยที่ไม่ได้ปรากฏสาเหตุที่มาที่ไปเอาไว้ และดูเหมือนว่ามิได้มีแค่ความรักที่พังทลายลง เพราะหลังจากนั้นเอดูอาร์ดก็ตกอยู่ในภวังค์แห่งความเศร้าโศกเสียใจ และเริ่มดำดิ่งจนกลายเป็นอาการซึมเศร้าจนทำให้เขาพยายามจบชีวิตด้วยการทำอัตวินิบาตกรรมในปี 1930
7
Burghölzli Mental Hospital and University Clinic in Zürich
แม้เอดูอาร์ดจะรอดชีวิตแต่อาการผิดปกติทางจิตยังคงติดตามเขามา จนไม่สามารถเรียนต่อไปได้ไหว ทำให้ในอีก 2 ปีต่อมาเขาต้องลาออกจากมหาวิทยาลัยเพื่อไปเข้าโรงพยาบาลบำบัดอาการป่วยทางจิตที่โรงพยาบาลจิตเวช Burghölzli Mental Hospital
6
เมื่อเข้าสู่กระบวนการรักษาเยียวยาแทนที่อาการป่วยจิตเภทเอดูอาร์ดจะถูกบรรเทาให้ดีขึ้นกลับกลายเป็นทรุดหนักลงไปอีก ซึ่งในประเด็นนี้มีหลายคนตั้งข้อสันนิษฐานว่าด้วยกระบวนการรักษาผู้ป่วยในยุคสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่สองยังขาดความเข้าใจถึงสาเหตุที่แท้จริงของการเจ็บป่วย จึงเน้นใช้ยาระงับประสาทหรือสารเคมีที่รุนแรงในการบำบัดรวมถึงการรักษาด้วยวิธีการช็อตผู้ป่วยด้วยกระแสไฟฟ้า
4
ภาพการรักษาผู้ป่วยด้วยการช็อตไฟฟ้า ในปี 1949
ซึ่งนั่นส่งผลให้เอดูอาร์ดได้รับยาเกินขนาด และถูกช็อตด้วยกระแสไฟฟ้าจนทำให้ร่างกายและสมองของเขาได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจนส่งผลต่อการรับรู้และการพูดของเขา เขาไม่สามารถเจรจาพาที แต่งบทกวีหรือเล่นดนตรีได้ดังเดิม
5
ทำให้แม้แต่ตัวฮานส์ ผู้เป็นพี่ชายแท้ของเอดูอาร์ดยังออกปากด้วยตัวเองเลยว่า การรักษาด้วยการช็อตไฟฟ้านั่นหละคือสิ่งที่ทำลายน้องชายของเขา
5
ในขณะที่เอดูอาร์ดกำลังเผชิญกับอาการป่วยอยู่นั้น มหันตภัยที่ยิ่งใหญ่ก็กำลังคืบคลานเข้ามาในนามของพรรคนาซีเยอรมันภายใต้ผู้นำอย่างอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ที่ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าเขาจะนำพาประชาชาติเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2
4
Adolf Hitler
และถึงแม้อัลเบิร์ต ไอสไตน์จะเป็นอัจฉริยะที่เขย่าโลกทั้งใบด้วยทฤษฎีของเขา แต่ในสายตาของเหล่านาซี และประชาชนคนเยอรมันผู้คลั่งชาติ ไอสไตน์ก็เป็นเพียงชายชาวยิว ชนชาติที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เยอรมนีพ่ายตกต่ำ และต้องถูกกำจัดให้หมดสิ้นไป
2
และนั่นส่งผลให้ไอสไตนไม่สามารถกลับไปสอนที่ Prussian Academy of Sciences ในกรุงเบอร์ลิน สถาบันที่เขาสอนมาตั้งแต่ 1914 และถูกบีบให้ต้องหลบหนีลี้ภัยไปสหรัฐอเมริกาพร้อมกับฮานส์บุตรชายคนโตของเขาในปี 1933
ในตอนนั้นไอสไตน์พยายามที่จะพาเอดูอาร์ด (Tete) เจ้าตัวเล็กของเขาเดินทางข้ามทวีปไปรักษาตัวต่อที่อเมริกาด้วย แต่น่าเศร้าที่ด้วยอาการป่วยของเอดูอาร์ดทำให้เขาต้องพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลจิตเวชในสวิสเซอร์แลนด์ต่อไป ไม่สามารถที่จะบินไปพร้อมกับบิดาและพี่ชายได้ และนั่นทำให้เขาเอ่ยปากออกมาว่า "เขาเกลียดพ่อของเขา"
6
จากคำบอกเล่าของเอลซา ไอสไตน์ (Elsa Einstien) ภรรยาคนที่สองของไอสไตน์เธอได้เล่าว่า "ความโศกเศร้าในชะตาชีวิตของลูกชาย กำลังกัดกินทำร้ายอัลเบิร์ต"
4
Albert & Elsa Einstien
ก่อนที่ไอสไตน์จะลี้ภัยไปอเมริกาเขาได้แวะไปเยี่ยมเยียนลูกชายเป็นครั้งสุดท้ายรับปากว่าจะจัดการส่งเสียค่าใช้จ่าย ค่ารักษาพยาบาลไม่ให้เขาต้องลำบาก
5
และนั่นคือครั้งสุดท้ายที่สองพ่อลูกคู่นี้ได้พบกัน เพราะหลังจากวันนั้นไอสไตน์กับเอดูอาร์ดก็ได้เพียงแต่ติดต่อกันผ่านทางจดหมายเท่านั้น
1
เอดูอาร์ด ไอสไตน์ กับไอศกรีมในงานวันคล้ายวันเกิดอายุครบ 45 ปีของเขา (1955)
แม้พ่อและพี่ชายจะหลบลี้หนีภัยไป แต่เอดูอาร์ดก็ยังมีมิเลวาผู้เป็นแม่ที่คอยอยู่ดูแลลูกชายจนลมหายใจสุดท้ายของเธอ มิเลวาเสียชีวิตในปี 1948
1
เอดูอาร์ด(ซ้าย) & มิเลวา(กลาง) & ฮานส์(ขวา)
เอดูอาร์ดรักษาตัว อยู่ในความดูแลและพักอยู่ในอาคารผู้ป่วยโรงพยาบาลจิตเวช Burghölzli ในมหาวิทยาลัยซูริค ประเทศสวิสเซอร์แลนด์จวบลมหายใจสุดท้าย ก่อนลาจากโลกนี้ไปด้วยโรคหลอดเลือดในสมองแตก ในวัน 55 ปี เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 1965 ปิดตำนานบุตรชายของนักฟิสิกส์ผู้ยิ่งใหญ่ที่หลายคนหลงลืม
5
ชื่นชอบบทความนี้ ขอความกรุณาแชร์ออกไปเป็นกำลังใจให้พวกเราด้วยนะครับ
โฆษณา