27 ธ.ค. 2021 เวลา 12:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
สมกับเป็นผู้มองการณ์ไกลโดยแท้ ในที่สุดคำทำนายเมื่อปี 1930 ของวินสตัน เชอร์ชิลล์ ก็เป็นจริง ราวต้นศตวรรษที่ 21 นักวิทยาศาสตร์สายเวชศาสตร์ฟื้นฟูที่เคยหมกมุ่นกับการสร้างเซลล์ใหม่เพื่อรักษาความอ่อนเยาว์ให้มนุษย์ ก็เกิดไอเดียนำกรรมวิธีปลูกเนื้อเยื่อไปใช้กับเนื้อสัตว์
1
ในปี 2013 ศาสตราจารย์มาร์ค โพสต์ ก็โชว์ผลลัพธ์ชัดๆครั้งแรกกับเบอร์เกอร์เนื้อแท้ๆ ที่ไม่ได้ฆ่าสัตว์สักตัว ซึ่งนอกจากจะดิสรัปต์วิถีการกินของมนุษย์ได้แน่นอนแล้ว ยังเป็นผลดีต่อสวัสดิภาพของสัตว์และสวัสดิภาพของชั้นบรรยากาศโลกด้วย เนื่องจากอุตสาหกรรมปศุสัตว์นั้นเป็นตัวการปล่อยคาร์บอนมากถึงสองพันล้านตันต่อปี
“นักวิทยาศาสตร์เริ่มต้นกระบวนการปลูกเนื้อด้วยการนำเซลล์มาจากสัตว์ที่ยังมีชีวิตอยู่ ปล่อยให้เซลล์แบ่งตัว และบังคับให้มันประกอบกลายเป็นเนื้อเยื่อส่วนต่างๆ ที่เราชอบกิน ทั้งหมดนี้ทำได้โดยไม่สร้างแก๊สเรือนกระจกเลย หรือสร้างเพียงเล็กน้อยเท่านั้นจากการใช้ไฟฟ้าในห้องแล็บเพาะเนื้อ แต่ความท้าทายคือมันมีค่าใช้จ่ายสูงมาก และเรายังหาวิธีทำให้มันถูกลงไม่ได้” บิล เกตส์ อธิบาย
1
แน่นอนว่าอะไรที่เป็นดิสรัปชั่น ย่อมส่งแรงกระเพื่อมในสังคม และทำให้เกิดการถกเถียงมหาศาล ตั้งแต่เรื่องเบสิกอย่างชื่อที่จะเรียกมัน ซึ่งมีทั้ง Lab-grown meat, cultured meat, clean meat, in vitro meat (ความหมายละตินแปลว่าเนื้อที่เกิดในแก้ว), cultivated meat, cell-based meat ฯลฯ ทั้งหมดล้วนหมายถึงเนื้อที่ได้รับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในห้องแล็บ และที่แน่นอนคือมันไม่ใช่ “เนื้อเทียมหรือเนื้อปลอม” แบบเดียวกับที่ทำจากพืช นี่คือเนื้อแท้ๆ มีไขมัน เนื้อเยื่อ และเอ็น เหมือนเนื้อจริงทุกประการ
1
ที่สำคัญคือเลือกปลูกได้เฉพาะอวัยวะที่ต้องการ และยังสามารถพัฒนาสารอาหารให้กลายเป็น super food ได้ไม่ยาก และอนาคตก็คงมีเนื้อซีฟู้ดปลูกตามกันมา ไม่ว่าจะไข่หอยเม่น โอโทโร่ ปูอลาสก้า ในอนาคตอาจไม่ใช่ของหายากและราคาแพงอีกต่อไป แต่ตอนนี้ตัวเทคโนโลยีเองยังมีราคาแพงอยู่ เนื้อเพาะเลี้ยงจึงยังไม่แพร่หลายทั่วไป
3
ประเด็นว่ามันจะมีผลข้างเคียงเป็นอันตรายต่อร่างกายไหม ค่อนข้างตอบได้เชิงประจักษ์ว่าไม่มี เพราะเรารู้ส่วนผสมในระดับโมเลกุลของมัน เนื่องจากเราปรุงมันขึ้นมาเอง แต่จะมีปัญหาประเภทปรัชญาที่เถียงกันได้ไม่รู้จบ ซึ่งได้แก่คำถามเช่น จะถือว่าเป็นเนื้อจริงได้ยังไง ในเมื่อไม่ได้มาจากสัตว์ นักปรัชญาโพสต์โมเดิร์นบางคนก็ตั้งคำถามเทียบเคียงว่า หากนำภาพโมนาลิซ่ามาย่อยระดับโมเลกุล แล้วประกอบสร้างมันขึ้นมาใหม่ให้เหมือนต้นฉบับในทุกอณู จะถือว่ามันเป็นภาพโมนาลิซ่าฉบับออริจินัลชิ้นที่สองได้ไหม ซึ่งแน่นอนว่าคนส่วนมากก็พร้อมส่ายหน้า ออริจินัลต้องมีชิ้นเดียวสิ
3
และยังมีปัญหาประเภทชาวมังสวิรัติกินได้ไหม วีแกนกินได้หรือเปล่า ไม่ได้เบียดเบียนสัตว์แล้ว แต่ก็ยังเป็นเนื้อสัตว์อยู่ดี
2
ปัจจุบันกระบวนการปลูกเนื้อในห้องแล็บได้รับการพัฒนาโดยผู้ผลิตกว่า 50 เจ้า และวางจำหน่ายแล้วในหลายประเทศ ฝั่งเอเชียนำทีมโดยสิงคโปร์ ที่จำหน่ายเนื้อแล็บนี้ในร้านอาหารครั้งแรกเมื่อปลายปีที่แล้ว ส่วนไทยคงต้องอดใจรอ เนื่องจากต้นทุนการผลิตยังสูงอยู่
2
ติดตามนวัตกรรมใหม่ล่าสุดอีกมากมาย ที่จะแก้วิกฤตและพลิกโลกเราให้ดีขึ้นได้ ในหนังสือ "How To Avoid a Climate Disaster โลกต้องไม่ร้อนไปกว่านี้" โดย บิล เกตส์ สำนักพิมพ์ Sophia
โฆษณา