21 ธ.ค. 2021 เวลา 02:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
คำเตือนและคำทำนายของ “สตีเฟน ฮอว์กิง (Stephen Hawking)”
“สตีเฟน ฮอว์กิง (Stephen Hawking)” เป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นอัจฉริยะที่ใกล้เคียงกับ “อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein)” มากที่สุด
เขาเป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎี นักจักรวาลวิทยา และนักเขียน ผู้ซึ่งมีผลงานทางวิทยาศาสตร์มากมาย รวมทั้งทฤษฎีต่างๆ อีกมาก
2
แต่ในชีวิตส่วนตัวนั้น ฮอว์กิงต้องประสบกับโรคอะไมโอโทรฟิก แลเทอรัล สเกลอโรซิส (ALS) ชนิดหายาก ซึ่งเริ่มมีอาการเร็ว แต่ดำเนินโรคช้า ทำให้เขามีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงลงเรื่อย ๆ เป็นเวลาหลายสิบปี จนกระทั่งต้องสื่อสารโดยใช้อุปกรณ์สังเคราะห์เสียงพูด ควบคุมผ่านกล้ามเนื้อมัดเดียวในแก้ม
3
แต่ถึงอย่างนั้น โรคร้ายก็ไม่สามารถบดบังความล้ำเลิศของเขาได้ และฮอว์กิงก็ยังคงทำงานต่อไป พร้อมๆ กับต่อสู้กับอาการเจ็บป่วยของตน
2
สตีเฟน ฮอว์กิง (Stephen Hawking)
แต่แล้วในวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ.2018 (พ.ศ.2561) ฮอว์กิงก็ได้เสียชีวิต ซึ่งนับเป็นความสูญเสียครั้งใหญ่ของวงการวิทยาศาสตร์ หากแต่ก่อนจะเสียชีวิต ฮอว์กิงก็ได้พูดถึงอนาคตของโลกและสิ่งที่ควรระวังและน่าเป็นห่วง
ฮอว์กิงนั้นเป็นอัจฉริยะ และสามารถคาดเดาได้ถึงภัยต่างๆ ที่รออยู่ในอนาคต โดยฮอว์กิงเชื่อว่ามีปัจจัยอยู่สองข้อ ซึ่งมนุษย์ควรต้องระวังและหาทางป้องกันเพื่อความอยู่รอดของมนุษยชาติ
2
หนึ่งก็คือวิกฤตจากการเพิ่มขึ้นของประชากร ทำให้ประชากรล้นโลก
1
สองก็คือความก้าวหน้าของเครื่องจักรและ “ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)” หรือ “AI”
ปัญหาประชากรล้นโลกนั้นมีความเกี่ยวเนื่องกับปัญหาสภาพภูมิอากาศ โดยโลกนั้นเล็กเกินกว่าที่จะรองรับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นมากในอนาคต โดยฮอว์กิงคาดว่าประชากรโลกจะเพิ่มเป็นทวีคูณ
แค่ในศตวรรษที่ผ่านมา ประชากรโลกก็เพิ่มขึ้นกว่าสี่เท่า และในปีค.ศ.2021 (พ.ศ.2564) นี้ จำนวนประชากรโลกก็มีเกือบ 8,000 ล้านคน
หากตัวเลขประชากรยังเพิ่มขึ้นเท่าเดิมหรือสูงกว่าเดิมต่อไปเรื่อยๆ โลกก็คงไม่สามารถจะรองรับประชากรทั้งหมดได้
2
และหากมนุษย์ยังมีการใช้ทรัพยากรและก่อมลภาวะต่อไปเรื่อยๆ เมื่อถึงจุดๆ หนึ่ง โลกก็จะไม่สามารถทนได้อีกต่อไป และล่มสลาย กลายเป็นลูกไฟขนาดใหญ่
2
และเนื่องด้วยความกลัวว่าโลกจะล่มสลายจากจำนวนประชากรที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ฮอว์กิงแนะนำว่าควรจะต้องมีการบุกเบิกและตั้งอาณานิคมใหม่นอกโลก
1
“อวกาศ” จะเป็นที่ๆ เหมาะในการนำมนุษย์มาตั้งรกราก เพื่อป้องกันไม่ให้โลกล่มสลาย
1
ปัญหาประชากรล้นโลกยังเกี่ยวเนื่องไปถึงปัญหาอุณหภูมิและสิ่งแวดล้อม โดยฮอว์กิงคาดการณ์ว่าหากประชากรเพิ่มขึ้นอย่างนี้ต่อไป ปริมาณการใช้ไฟฟ้าทั่วโลกก็จะมหาศาล และทำให้โลกร้อน กลายเป็นเหมือนลูกไฟขนาดยักษ์
1
ดังนั้นทางเลือกสำหรับความอยู่รอดก็มีไม่มากนัก นั่นก็คือไปหาอาณานิคมเพื่อตั้งรกรากใหม่ยังอวกาศ หรือจะเสี่ยงให้เป็นเช่นเดิมต่อไปเรื่อยๆ จนโลกรับไม่ไหวและมนุษย์ก็สูญพันธุ์ไปเอง
3
เมื่อเห็นถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ฮอว์กิงจึงให้การสนับสนุนในการพัฒนาเทคโนโลยี “การเดินทางระหว่างดวงดาว (Interstellar Travel)” โดยในช่วงบั้นปลาย เขาได้มีส่วนร่วมในโครงการที่เรียกว่า “Breakthrough Initiatives”
1
Breakthrough Initiatives คือโครงการที่ทำการพัฒนาทางด้านการเดินทางระหว่างดวงดาว โดยผู้ที่สนใจและสนับสนุนเทคโนโลยีนี้ไม่ได้มีแต่เพียงฮอว์กิง หากแต่ผู้ประกอบการทางด้านเทคโนโลยีชื่อดังอย่าง “อีลอน มัสก์ (Elon Musk)” ก็มีแนวคิดคล้ายๆ กับฮอว์กิง และสนับสนุนเงินทุนจำนวนมากเพื่อให้เทคโนโลยีในการเดินทางระหว่างดวงดาวต่างๆ ประสบความสำเร็จ
1
มัสก์นั้นตั้งใจที่จะให้การเดินทางท่องอวกาศเป็นเทรนด์แห่งโลกอนาคต และภารกิจในการส่งยานไปยังดาวอังคารของมัสก์ ก็ทำให้ความหวังในการออกไปตั้งอาณานิคมนอกโลกเริ่มจะมีเค้าความจริงขึ้นมาบ้าง
2
อีลอน มัสก์ (Elon Musk)
ปัจจัยที่มนุษย์ควรต้องเป็นห่วงอีกเรื่อง ก็คือการพัฒนาของปัญญาประดิษฐ์หรือ “AI”
AI นั้นก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ และอาจจะสามารถเทียบเคียงหรือนำหน้ามันสมองของมนุษย์ได้ด้วยซ้ำ ซึ่งสำหรับฮอว์กิง AI สามารถสร้างประโยชน์มหาศาลให้แก่มนุษย์ แต่ขณะเดียวกัน ก็สามารถสร้างภัยร้ายแก่มนุษย์
1
ในปัจจุบัน AI นั้นสร้างประโยชน์และพัฒนาคุณภาพชีวิต ทำให้ชีวิตมนุษย์สะดวกสบายมากขึ้น อีกทั้งยังก่อให้เกิดความสะดวกสบายใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน เช่น รถยนต์ไร้คนขับ เป็นต้น
1
หากแต่การเข้ามาของ AI ก็ทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนไปอย่างไม่น่าเชื่อ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างหนักต่อระบบเศรษฐกิจ
5
หาก AI เข้ามาดิสรัปวิถีชีวิตและเศรษฐกิจแบบเดิม ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและชีวิตผู้คน เช่น หากมีการสร้างรถยนต์ไร้คนขับ และรถยนต์ไร้คนขับนี้แพร่หลาย ก็จะทำให้คนขับรถตกงาน และอีกหลายๆ อาชีพที่อาจจะถูกแทนที่ด้วย AI
ถึงแม้ AI จะสร้างความมั่งคั่งให้ผู้คน แต่ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ส่วนมากก็คือคนรวยเพียงไม่กี่คนที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยีรายใหญ่ ในขณะที่คนทั่วๆ ไปอาจจะต้องตกงาน
แต่อย่างไรก็ตาม หลายคนก็ไม่เห็นด้วย และกล่าวว่าถึงแม้จะมีหลายอาชีพหายไป แต่ก็จะมีอาชีพอื่นเข้ามาแทนที่ แต่ก็น่ากังวลว่าหากถึงจุดๆ หนึ่งที่ AI พัฒนาไปได้ไกลจนฉลาดกว่ามนุษย์ ทุกๆ อาชีพก็อาจจะไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป
2
นักเศรษฐศาสตร์หลายรายได้แสดงทัศนะว่า ทางแก้ปัญหาก็คือ การที่รัฐบาลออกนโยบายที่รับรองว่าต่อให้ไม่เหลืออาชีพ ผู้คนก็ยังจะได้รับเงินมากพอที่จะใช้จ่ายและเลี้ยงตนเอง
4
แนวคิดของฮอว์กิงเป็นที่วิจารณ์ของคนจำนวนมาก โดยหลายคนก็โต้แย้งว่าฮอว์กิงนั้นมีแนวคิดที่โอเวอร์เกินจริง แนวคิดนั้นราวกับหนังหรือนิยายวิทยาศาสตร์
2
และถึงแม้นักวิทยาศาสตร์หลายรายจะเห็นด้วยว่า AI นั้นก็มีความเสี่ยงอยู่ แต่ก็แย้งว่า AI ที่มีโปรแกรมสลับซับซ้อนจะสามารถสร้างเงินและความหรูหรา สะดวกสบายได้มหาศาล สิ่งที่เสี่ยงและท้าทายจริงๆ คือความเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลก สภาพดินฟ้าอากาศ และความก้าวหน้าของอาวุธยุทโธปกรณ์ ไม่ใช่ AI
2
พูดง่ายๆ ก็คือ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าแง่ลบที่เกิดจาก AI นั้นสามารถควบคุมได้ และตัวของเทคโนโลยีนั้นไม่ใช่ปัญหา หากแต่วิธีการที่มนุษย์นำไปใช้ต่างหาก คือปัญหา
4
สำหรับฮอว์กิง เขามองว่า AI คือสิ่งที่ทั้งดีและเลวสำหรับมนุษย์ คือสิ่งที่จะพลิกอารยธรรมของมนุษย์ และเอื้อประโยชน์ให้แก่เหล่าคนรวย ในขณะที่คนธรรมดา ต่างไม่ได้รับประโยชน์อะไรมาก
4
สำหรับอนาคต AI จะสร้างคุณหรือโทษมากกว่ากัน
คงมีเพียงเวลาเท่านั้นที่จะตอบได้
โฆษณา