20 ธ.ค. 2021 เวลา 11:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เข้าใจการลงทุนแบบ DCA ในโพสต์เดียว
ว่ากันว่า…ถ้าจะลงทุนให้ได้ผลตอบแทนดี นอกจากจะเลือกหุ้นหรือกองทุนรวมที่ดีได้แล้ว ยังต้องเข้าซื้อในราคาที่เหมาะสมด้วย พูดง่าย ๆ ก็คือต้องซื้อถูกขายแพงนั่นเอง
6
แต่ในความเป็นจริงการจับจังหวะตลาด เพื่อคาดคะเนว่าราคาไหนเป็นราคาที่ต่ำสุดหรือสูงสุดไม่ใช่เรื่องง่าย จึงเกิดเป็นไอเดียใหม่ขึ้นมาว่า ถ้าการรอเข้าซื้อที่ราคาต่ำสุดมันยากนัก ทำไมเราไม่แบ่งทยอยเข้าซื้อไปทุกราคาเลยล่ะ 😎
3
หลังจากนั้น...การลงทุนแบบ DCA เลยเกิดขึ้นมา
1
📝 การลงทุนแบบ DCA หรือ Dollar-Cost Averaging เป็นกลยุทธ์การลงทุนรูปแบบหนึ่ง ที่บอกให้ลงทุนด้วยการทยอยเข้าซื้อสินทรัพย์ลงทุนเป็นงวด ๆ ตามความถี่ที่แต่ละคนกำหนดไว้ โดยไม่สนว่าราคาตอนนั้นจะถูกหรือแพง
1
ตัวอย่างเช่น ถ้าเราตั้งใจว่าจะซื้อกองทุนรวม A ทุกวันที่ 15 ของเดือน เมื่อถึงวันที่ 15 ยังไงเราก็ต้องซื้อกองทุนรวมนั้นเพิ่ม ซึ่งปกติคนส่วนใหญ่จะได้รับเงินเดือนเป็นรายเดือน การลงทุนแบบ DCA ตามรอบเงินเดือนที่ตัวเองได้รับ เลยได้รับความนิยมมากที่สุด
งั้นเราควรลงทุนแบบ DCA เดือนละเท่าไหร่ถึงจะพอล่ะ ?
ก่อนลงทุนแบบ DCA เราควรที่จะวางแผนพอร์ตการลงทุนของเราให้ชัดเจนก่อน ว่าเราจะไปลงทุนในสินทรัพย์ไหนบ้าง อย่างละกี่เปอร์เซ็นต์ แล้วค่อยคำนวณว่าในแต่ละเดือน เราอยากจะลงทุนเดือนละกี่บาท
1
อย่างเช่น ถ้าเราตั้งใจลงทุนทุกเดือน เดือนละ 2,000 บาท และพอร์ตการลงทุนของเราแบ่งสัดส่วนการลงทุนไปที่กองทุนรวม A 30% กองทุนรวม B 30% และกองทุนรวม C 40% เราก็จะเข้าซื้อกองทุนรวม A, B และ C กองทุนละ 600, 600 และ 800 บาท ตามลำดับแบบนี้ ในทุกเดือน
1
มาถึงตรงนี้ทุกคนน่าจะพอเห็นภาพแล้วว่า วิธีลงทุนแบบ DCA เป็นยังไง เลยอยากจะชวนคิดต่อกันอีกหน่อยว่า ประโยชน์ของการลงทุนแบบ DCA จริง ๆ แล้วมันมีอะไรบ้าง
1
ประโยชน์ของการลงทุนแบบ DCA
☑ ช่วยลดความผิดพลาดจากการลงทุนแบบก้อนใหญ่ก้อนเดียว
1
การลงทุนแบบ DCA ช่วยหลีกเลี่ยงการทำผิดพลาด จากการเข้าลงทุนแบบก้อนใหญ่ก้อนเดียว ที่เราจะมีโอกาสเข้าซื้อสินทรัพย์นั้นในราคาที่สูง หากเรากำหนดเวลาในการเข้าซื้อไม่ดี
☑ ช่วยฝึกนิสัยการออมเงินที่ดีของตัวเราได้
1
หัวใจของการลงทุนแบบ DCA คือการเข้าลงทุนอย่างสม่ำเสมอ มองอีกมุมนึงมันก็คือการบังคับให้เราออมเงินก้อนเล็ก ๆ ไปเรื่อย ๆ และถ้าเรามีวินัยมากพอ เงินก้อนนั้นก็จะกลายเป็นเงินก้อนใหญ่ได้ในที่สุด (เหมือนกับที่คนชอบพูดกันว่า มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท)
☑ ช่วยควบคุมไม่ให้เราเอาอารมณ์มาใช้ตัดสินใจลงทุนมากเกินไป
1
ปกติแล้วถ้าเราเชื่อว่าสินทรัพย์ที่เราเข้าซื้อเป็นสินทรัพย์ที่ดี และมีโอกาสเติบโตได้ในอนาคต ในช่วงที่สินทรัพย์นั้นราคาต่ำลงมา เราก็ควรที่จะเข้าไปซื้อเพราะจะได้ของดีในราคาถูก แต่ถ้าเราใช้อารมณ์มาตัดสินใจ เราก็อาจจะกลัวจนขายออกมา ซึ่งการลงทุนแบบ DCA จะลดปัญหาตรงนี้ เพราะมันจะบังคับให้เราซื้อสินทรัพย์สม่ำเสมอโดยที่ไม่สนใจราคา
1
แต่จากที่เล่ามาทั้งหมดการลงทุนแบบ DCA ดูเหมือนจะมีแต่ข้อดี แล้วมันมีข้อเสียหรือข้อควรระวังอะไรรึเปล่า ?
1
❗ ข้อเสียและข้อควรระวังในการลงทุนแบบ DCA
1. เสียโอกาสในการทำกำไรจากการขึ้นลงของตลาด
5
การลงทุนแบบ DCA เราจะเข้าซื้อสินทรัพย์นั้นทุกราคา ต้นทุนที่เราได้เลยจะเป็นต้นทุนเฉลี่ย ซึ่งการทำแบบนี้ก็อาจจะได้ผลตอบแทนน้อยกว่าคนที่จับจังหวะตลาดเป็น แล้วเข้าซื้อสินทรัพย์นั้นในราคาที่ต่ำที่สุด
2. ต้องแน่ใจจริง ๆ ว่าสินทรัพย์ที่เราเลือกมีโอกาสเติบโตได้ในอนาคต
1
ก่อนลงทุนแบบ DCA เราต้องแน่ใจก่อนว่า เราเลือกสินทรัพย์ที่ดีและมีโอกาสเติบโตได้ในอนาคตจริง ๆ ถ้าเราลงทุนในสินทรัพย์ที่ไม่มีอนาคต ถึงเราลงทุนแบบ DCA ไปก็ไม่มีความหมาย เพราะยังไงในระยะยาวเงินต้นของเราก็ลดลงอยู่ดี
3. ดูเงื่อนไขการเข้าซื้อขั้นต่ำให้ดีก่อนลงทุนแบบ DCA
ก่อนลงทุนแบบ DCA อย่าลืมไปดูด้วยว่า เงื่อนไขการเข้าซื้อขั้นต่ำของหุ้นหรือกองทุนรวมที่เราเลือก สอดคล้องกับสัดส่วนของเงินลงทุนที่เราแบ่งไว้รึเปล่า เช่น ถ้าเราแบ่งสัดส่วนว่าเราจะลงทุนในกองทุนรวม A 600 บาท แต่ขั้นต่ำในการซื้อกองทุนนี้ คือ 1,000 บาท มันก็จะลำบากเรา ที่ต้องไปแบ่งสัดส่วนการลงทุนใหม่ ทางที่ดีเลยอยากแนะนำให้ดูขั้นต่ำของกองทุนรวมที่เราเล็งไว้ ก่อนที่จะกำหนดสัดส่วนในการลงทุน
จะเห็นว่าการลงทุนแบบ DCA ไม่ได้ง่ายอย่างที่ทุกคนคิดไว้เลย โดยเฉพาะกับมือใหม่ที่ถ้าเลือกสินทรัพย์ลงทุนไม่ดีแต่แรก ถึงลงทุนแบบ DCA ไปก็มีโอกาสที่จะขาดทุนได้อยู่ดี เราเลยอยากให้ทุกคนศึกษาข้อมูลของสินทรัพย์ที่จะเข้าไปลงทุนให้ดีก่อน
1
เพราะถ้าแน่ใจแล้วว่าสินทรัพย์ที่เราเลือกมาเป็นสินทรัพย์ที่ดี การลงทุนแบบ DCA จะเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ดี ที่ช่วยเราได้เยอะมากในการลงทุนครับ
"เพราะการเงินเป็นเรื่องของทุกคน"
พวกเรากลุ่มคนที่รักเรื่องราวของการเงินการลงทุนเป็นชีวิตจิตใจ จึงก่อตั้งเพจ Dime! (ไดม์!) ขึ้น
1
Dime! แปลว่าเหรียญ 10 เซ็นต์ (ประมาณ 3 บาท) สื่อถึงความตั้งใจของเราที่จะทำให้การเงินการลงทุนเป็นเรื่องที่คุณเข้าถึงได้ เข้าใจง่าย และนำไปประยุกต์ใช้ต่อได้จริง เหมือนกับเงิน 1 ไดม์ ที่ใคร ๆ ก็สามารถเข้าถึงได้
หากทุกคนมีความรู้ทางการเงินที่แข็งแรง
สังคมของเราก็จะดีขึ้นตามไปด้วย
1
โฆษณา