20 ธ.ค. 2021 เวลา 13:09 • ไลฟ์สไตล์
หน้าเหรียญ หลวงพ่อหิน ที่ระลึกในการเสด็จยกช่อฟ้าวัดแคใน ต.บางกร่าง จ.นนทบุรี๑๘พ.ค.๒๕๑๖
หลังเหรียญ พระครูสำรวม สัญญโม
ประวัติการสร้างวัด ;วัดค่าย เป็นชื่อเดิมของ วัดแคใน
เป็นที่ตั้งของกองทหาร วัดนี้สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ.2300 ในสมัยอยุธยาตอนปลาย
ซึ่งมีการรบกับพม่าหลายครั้ง กองทัพพม่าเข้ามาทางด้านด่านเจดีย์ 3 องค์
มีสภาพที่จะพออ้างอิงได้คือบริเวณปัจจุบันคือ วัดปราสาท วัดอุทยาน วัดปรางค์หลวง มีเจดีย์เก่าสมัยอยุธยา
วัดแคใน ตั้งอยู่ระหว่างสวนผลไม้และนาข้าว ไม่พบประวัติผู้สร้างวัดนี้ มีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ คือหลวงพ่อหิน
เพราะสร้างด้วยศิลาแลง เป็นที่เคารพนับถือของ ชาวบ้าน และบริเวณใกล้เคียง
ผู้เขียนได้เคยตั้งจิตอธิษฐานขอพรจากท่านและสมความประสงค์มาแล้ว
ในช่วงหนึ่งวัดนี้ขาดการทำนุบำรุง จึงกลายเป็นวัดร้างไม่มีพระจำพรรษาไประยะหนึ่ง
ต่อมาปี พ.ศ. 2485 ได้เกิดอุทกภัยน้ำท่วมใหญ่ เรือกสวนไร่นา เสียหายกันทั้งจังหวัดนนทบุรี และจังหวัดใกล้เคียง
กรุงเทพฯ ใช้เรือพายกันตามถนนสายต่างๆ เมื่อน้ำได้ลดแห้งลงแล้วก็มี นายกิ่ง อยู่คำ และนายวิง ปานเกตุ
มีการปรึกษาหารือกันว่า บัดนี้วัดแค ของเราได้ร้างลงเพราะไม่มีพระอยู่เลยแล้วท่านทั้งสองก็ชวนกันไปบอกบุญเรี่ยไรจากทำด้วยใบมะพร้าว จากชาวบ้านที่อยู่บริเวณใกล้วัดเพื่อนำมามุงหลังคากุฏิที่ชำรุดทรุดโทรม
พอที่จะให้พระที่มาอยู่อาศัยและท่านทั้งสองได้ชวนกันไปนิมนต์พระภิกษุย้อย ซึ่งอยู่วัดเขียน ริมแม่น้ำเจ้าพระยา
และพระภิกษุสุข ซึ่งอยู่วัดบางรักน้อย คลองอ้อมนนทบุรี มาอยู่ ณ วัดแคใน
และต่อมา ชาวบ้านได้ช่วยกันทำนุบำรุงกันมาตลอด
จนถึงสมัยหลวงพ่อคง เป็นเจ้าอาวาสรูปต่อมา ท่านเป็นพระที่เด่นทางน้ำมนต์
มีคนมาจากที่อื่นๆ พากันมานับถือท่านมาก ทำให้เป็นที่ไม่พอใจของคนบางคน
ท่านก็ออกจากวัดไป แล้วต่อมาหลวงพ่อ ทวี (มาลี) ได้เป็นเจ้าอาวาส
อยู่ระยะหนึ่งท่านก็ได้ลาสิกขาบทไปประกอบอาชีพใหม่
แล้วต่อมาชาวบ้านได้ไปนิมนต์ พระสำรวม สญญโม จากวัดอุทยานมาเป็นเจ้าอาวาส
แล้วนายกิ่ง อยู่คำ ก็เข้ามาบวชเป็นพระเพื่อช่วยทำนุบำรุงวัดแคในให้เจริญ
พ.ศ.2512 หลวงพ่อสำรวม ได้ชักชวนชาวบ้านและบริเวณใกล้เคียง
พร้อมด้วยคุณนายแพรวพรรณ อังศุสิงห์ นายกสมาคมสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย ได้จัดกฐินทอด ณ วัดแคใน
ได้เงินจำนวน 16,000 บาท (หนึ่งหมื่นหกพันบาท)
สมัยนั้นนับว่ามากพอสมควรเพื่อนำมาเป็นทุนสร้างอุโบสถหลังใหม่ ที่ท่านได้เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้
ปี พ.ศ. 2513 ท่านชักชวนชาวบ้านที่เป็นช่างไม้ ช่วยกันสร้างศาลาการเปรียญ ขึ้นมาหลังหนึ่ง
โดยใช้ไม้จากศาลาหลังเก่า เพราะศาลาหลังเก่าชำรุดทรุดโทรมมาก
และต่อมาท่านบอกบุญ นายสิน ชื่นแย้ม ออกเงินซ่อมอาคารโรงเรียนวัดแคใน ซึ่งชำรุดทรุดโทรมมาก
และให้ที่ดินของวัดแก่ทางราชการเพื่อสร้าง สถานีอนามัยวัดแคใน ดังที่ท่านได้เห็นถึงทุกวันนี้
และในขณะนั้นทางวัด ไม่มีไฟฟ้าใช้ต้องใช้ตะเกียงน้ำมัน หรือเทียนจุดกันเพื่อแสงสว่างในเวลากลางคืน
พระภิกษุกิ่ง อยู่คำ ได้รวบรวมเงินจาก มารดา ลูกๆหลานๆ และคุณนายศรี กตุกฤกษ์
ได้ร่วมกันจัดซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพร้อมอุปกรณ์ ต่อมาได้มีนายสุข อยู่คำ และพระภิกษุกิ่ง
ได้บริจาคเงิน สร้างศาลาท่าน้ำ และสร้างถนนจากศาลาท่าน้ำ
ในขณะนั้นกุฏิเสนาสนะ อื่นๆ ชำรุดทรุดโทรม โบสถ์ก็ไม่มี มีก็เพียงวิหารมีโรงมุงหลังคาไม่มีฝากั้น
มีพระพุทธรูปปรักหักพังอยู่ หลวงพ่อสำรวม ได้นิมนต์สมเด็จเจ้าคณะภาค 1
วัดสุทัศน์เทพวนารามมาเป็นประธาน ทำพิธีวางศิลาฤกษ์อุโบสถ
พ.ศ. 2516 คุณนายแพรวพรรณ อังศุสิงห์ ได้ขอไฟฟ้าเข้าไปในวัดและทำหนังสือทูลเกล้าฯ
ให้ ม.ล. เดช สนิทวงศ์ องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ในพิธีฝังลูกนิมิตร และผูกพัทธสีมา นายวิจิตร แจ่มใส
ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี สมัยนั้น ได้พัฒนาจัดการทำถนนจากถนนใหญ่เข้าถึงบริเวณวัดโดยตลอดทั้งสาย
และก็ได้สร้างศาลเสด็จพ่อกรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์
โดยมี พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด และอดีตหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
ให้เกียรติเป็นประธานจุดเทียนชัย ปลุกเสกพระเครื่องแจกผู้ที่มาทำบุญ
ในปีถัดมา ท่านก็ได้ชักชวนชาวบ้านและประชาชนบริเวณใกล้เคียง รวบรวมเงินสร้างเมรุเผาศพขึ้นมาหลังหนึ่ง
โดยมีนายช่าง วิวัฒน์ อิ่มใจจิตร และคุณสมัยศึก อัมพุนันท์ เป็นเลขานุการและเหรัญญิก
ในการสร้างเสนาสนะของทางวัดแคใน ได้มีการสร้างโดยนโยบายหลักคือ ประหยัดสุด ประโยชน์สูงและคงทนถาวร
หมายถึงการก่อสร้างต่างๆจะสร้างเฉพาะในส่วนที่จำเป็นจริงๆ เมื่อสร้างแล้วต้องใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่คุ้มค่าที่สุด
มีความเรียบง่ายแต่ต้องประณีตมีความมั่นคง แข็งแรงเน้นพื้นที่ใช้สอย
ต้องดูสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อยและปลูกสร้างสำนึกปลูกฝังอัธยาศัยในการใช้
และรักษาสมบัติของพระพุทธศาสนาอย่างระมัดระวังและคุ้มค่าที่สุด
ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง ห้องน้ำ หรือห้องเก็บของต่างๆ ที่จำเป็นใช้ในงานต่างๆกัน
ให้ดูง่าย สบายตา รักษาไว้ดูแลความปลอดภัยให้มีอายุการใช้งานได้นาน
เสนาสนะทุกชิ้นทุกอันจึงจะต้องใช้และดูแลอย่างดี ใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด
และสามารถสนองความต้องการของญาติ-โยม ได้ตลอดอย่างมีประสิทธิภาพ คุณภาพดีด้วย
รายการศาสนวัตถุที่สำคัญ
ในส่วนวัตถุทางวัดแคใน ตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบันได้มีการก่อสร้างมาโดยลำดับ
โดยเน้นหลักที่ว่าประโยชน์และความแข็งแรงอดทน เป็นสำคัญ ศาสนวัตถุเป็นสิ่งสำคัญคู่กับพระพุทธศาสนา
ให้ยืนยาวต่อไปจึงต้องพิจรณา ได้ดีถ้วนถี่ ในการสร้างแต่ละอย่างความประหยัด และประโยชน์ ในการใช้งาน จึงต้องมาก่อน
- ศาลาการเปรียญ สร้าง พ.ศ.2509
- หอระฆัง สร้าง พ.ศ. 2510
- อุโบสถ สร้าง พ.ศ.2514
- ฌาปนสถาน สร้าง พ.ศ.2525
- ศาลาการบำเพ็ญกุศลศพ สร้าง พ.ศ.2539
- กุฏิทรงไทย 2 ชั้น คอนกรีต สร้าง พ.ศ. 2540
ลำดับเจ้าอาวาสตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน
1. พระอาจารย์ทอง พ.ศ.2468 ผู้ดูแล
2. พระอาจารย์เมศ พ.ศ. 2475 ผู้ดูแล
3. พระอาจารย์สน พ.ศ. 2480 ผู้ดูแล
4. พระอาจารย์คง พ.ศ. 2490 ผู้ดูแล
5. พระอาจารย์สุข พ.ศ. 2505 ผู้ดูแล
6. พระอาจารย์ทวี พ.ศ. 2509 ผู้ดูแล
7. พระครูสำรวม สญญโม พ.ศ. 2532 รับตราตั้งเจ้าอาวาส
8. พระครูสังฆรักษ์ประดิษฐ์ ถาวโร พ.ศ. 2545 รับตราตั้งเจ้าอาวาส
9. พระครูสังฆรักษ์บุญใส รตนปุตโต พ.ศ. 2546 ปัจจุบัน รับตราตั้งเจ้าอาวาส
เครดิต; https://www.web-pra.com
หลวงพ่อหิน วัดแคใน ปี 2516
โฆษณา