22 ธ.ค. 2021 เวลา 07:50 • การศึกษา
ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อ โรคภัยไข้เจ็บ ของกลุ่มคนเผ่าส่วย เยอและลาว แถวอำเภอสนม อ.โนนนารายณ์ จ.สุรินทร์
คงไม่พ้น " พิธีรำแถน"
ในจ.สุรินทร์มีความหลายหลากของชนเผ่ามาก มีทั้งเขมร ส่วย เยอ ลาว ภาษาพูดก็จะแตกต่าง ประเพณีพื้นถิ่นก็แตกต่าง
นี่ก็เป็นครั้งแรกที่ได้เห็นการรำแถน ในงานแสดงช้าง ประจำปี ที่จัดในวันที่15-26ธค.64
ณ.ลานวัฒนธรรม บริเวณสนามศรีณรงค์
.............................................................
จากการพูดคุยกับชาวบ้านอ.โนนนารายณ์ การรำแถนจะไม่ใช้พร่ำเพรื่อหรือเพื่อเป็นการแสดงแต่มันคือวิถีชีวิต ทำเฉพาะกาลเท่านั้น
สรุปได้ประมาณว่า
-ทำเฉพาะเดือน 3เดือน6 เป็นพิธีใหญ่ ที่ลูกหลานจากที่ต่างๆมารวมตัวในแต่บ้าน หากมาไม่ได้ก็จะส่งดอกไม้ของเซ่นมาแทน นัยว่าเป็นการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษหรือแถน
-ทำกรณีที่เจ็บป่วย หาหมอแล้วไม่หาย วิธีสุดท้ายคือพึ่งทางไสยศาสตร์ พ่อหมอ แม่หมอ นั่งทางในตรวจดูว่ามี้หตุขัดข้องอะไร
ใครในบ้านไปทำผิดผีบรรพบุรุษ ปู่ย่า ตายาย เจ้าที่เจ้าทาง หรือผีทุ่งนาต้องการให้เซ่นไหว้ หรือแถน(หมายถึงเทวดา ไม่ใช่ผี)
อยากลงมาอยู่ด้วย
หลังจากรู้สาเหตุ ก็จะทำพิธีรำแถนคือรับเอาวิญญาณของของแถนให้มาสิงสถิตย์อยู่ในร่างของคนที่ป่วยหรือญาติของผู้ป่วยแล้วแต่ว่าวิญญาณนั้นจะมาเข้าร่างอยู่กับใคร ก็จะให้คนนั้นรับเอาและเป็นแถน
คนเป็นแถนก็จะรำตลอดคืนจนถึงเช้า
ถ้าทำพิธีรำแถนแล้วพบว่าอาการคนป่วยหายเป็นปกติ ก็เชื่อได้ว่าเป็นผลจากแถน
.................................................................
พิธีรำแถนจะเรียกแตกต่างกัน ในแต่ละพื้นถิ่น เช่น รำผีฟ้า หรือรำแม่มด
ส่วนใหญ่คนที่มาร่วมพิธีรำแถนจะเป็นผู้เฒ่าผู้แก่ คนที่เคยหายป่วยหรือคนที่เคยเป็นแถน สิบกว่าคนรำรอบๆ เครื่องเซ่น มีหมอกลอง หมอแคน หมอฉิ่ง มาประกอบการฟ้อน
บางครั้งอาจจะดูแปลกตาสำหรับคนภายนอกอย่างเรา แต่นี่เป็นพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์ตามตวามเชื่อของคนพื้นถิ่น
ที่นี่...สุรินทร์เหรา
..
นายก้าวเล็ก รายงานจากงานช้างสุรินทร์

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา