24 ธ.ค. 2021 เวลา 16:36 • ประวัติศาสตร์
ทำไมเมืองโบราณถึงทุกฝังกลบเป็นชั้นๆ และดินนั้นมาจากใหนกัน?
ปริศนาคาใจข้อนี้มีสมมุติฐานอยู่ 2 ข้อที่อาจไม่จริงเสมอไป ข้อแรกก็คือ ไม่ใช่ว่า ซากปรักหักพังทุกชิ้นเป็นซากของเมืองทั้งหมด สถานที่อื่นๆ ก็โดนฝังกลบเหมือนกัน เช่น ป้อมปราการ ค่าย ถ้ำพักอาศัย สุสาน และเหมือง ข้อที่สองก็คือ ไม่ใช่ว่าทุก อย่างถูกฝังอยู่ใต้ดิน บางทีนักโบราณคดีก็พบโบราณวัตถุที่ผิวดินหรือใกล้กับผิวดิน
แต่ประเด็นปัญหาสองข้อนี้ก็ยังน่าสนใจอยู่ดี เราจึงไปขอคำตอบจากผู้เชี่ยวชาญ 2 ท่าน ท่านแรกคือ จอร์จ แรพ จูเนียร์ (George Rapp, Jr) ซึ่งเป็นคณบดีและ ศาสตราจารย์ด้านธรณีวิทยาและโบราณคดีแห่งมหาวิทยาลัยมินนิโซตา (University of Minnesota) ในเมืองดูลูก สหรัฐอเมริกา และเป็นบรรณาธิการร่วมของนิตยสาร Archaeological Geology อีกด้วย อีกท่านหนึ่งคือ อัล บี เวโซโลวสกี (AL B Wesolowsky) แห่งมหาวิทยาลัยบอสตัน ผู้เป็นบรรณาธิการบริหารวารสาร Journal of Field Archaeology ทั้งสองท่านว่าซากปรักหักพังที่ฝังอยู่ใต้ดินนั้น ส่วนมากเกิดจากปัจจัยหลายอย่างผสมผสานกัน และปัจจัยที่เกิดขึ้นมากที่สุดได้แก่
1 ฝุ่นที่พัดมากับลม (หรือที่นักโบราณคดีรู้จักกันดีว่า “Aeolian Dust) ฝุ่นนี้ เกิดการสะสมจนฝังกลบวัตถุในที่สุด พื้นที่มากับลมมีด้วยกันหลายชนิด ไม่ว่า จะเป็นฝุ่นจากภูเขาไฟที่ถูกพัดมากับลมจนถึงฝุ่นทั่วๆ ไปและฝุ่นภายในบ้าน
2 ตะกอนที่พัดมากับน้ำจะทับถมกันจนกระทั่งฝังกลบวัตถุในที่สุด ส่วนมากเราจะโทษน้ำฝนที่พัดพาตะกอนจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำกว่า แต่ทรายและโคลนที่เกิด ขึ้นจากการไหลของน้ำ เช่น การตกตะกอนในแม่น้ำระหว่างการเกิดน้ำท่วม สามารถฝังกลบชุมชนริมฝั่งแม่น้ำได้ บ่อยครั้งที่รวบรวมและพัดพาตะกอนที่เรียกในเชิงวิชาการว่า สิ่งทับถมลมพา (Aeolian deposit) ลงสู่พื้นที่ที่ต่ำกว่า
3. ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่รุนแรงเพียงครั้งเดียวก็สามารถทำให้เกิดการ ฝังกลบได้ แต่ปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นได้ยากมาก ดร.แรพยังเพิ่มเติมอีกว่า “ปรากฏการณ์เหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อพื้นที่นั้นมีภูมิประเทศที่ไม่มีกระบวน การกัดกร่อนเลย หรือไม่กระบวนการกัดกร่อนก็ต้องเกิดขึ้นช้ากว่ากระบวน การตกตะกอน” ถึงแม้ว่าเมืองจะถูกฝังกลบหลังจากเกิดปรากฏการณ์ ธรรมชาติที่รุนแรงเพียงครั้งเดียว แต่ปัจจัยฝังกลบอาจจะมีมากกว่าหนึ่งปัจจัยก็ได้ เวโซโลวสก็อธิบายว่า แม้ว่าทั้งเมืองปอมเปอี และเมืองเฮอร์คูเลเนียม จะถูกฝังกลบจากการระเบิดของภูเขาไฟวิสเวียสในราวคริสต์ศักราชที่ 79 แต่ เมืองหนึ่งโดนโคลนไหลฝังกลบ ส่วนอีกเมืองหนึ่งโดนเถ้าถ่านฝังกลบ
4 โครงสร้างต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นสามารถถล่มทำให้เกิดการฝังกลบได้ บางครั้งการถล่มก็เป็นอุบัติเหตุ (เช่น น้ำท่วม แผ่นดินไหว และไฟไหม้) และบางครั้งก็เกิดขึ้นจากความตั้งใจ การระเบิดและการทุบตึก) ดูเหมือนว่ามนุษย์ จะไม่สามารถทำกิจกรรมโดยไม่ทิ้งร่องรอยได้ แรพบอกว่า “แม้แต่เมืองใหญ่ ที่รุ่นราวคราวเดียวกับนิวยอร์กยังฝังซากปรักหักพังที่ความลึกไม่น้อยทีเดียว เมืองนิวยอร์กยุคแรกเริ่มนั้นตอนนี้ถูกฝังกลบไว้หลายฟุตใต้พื้นผิวปัจจุบัน
5 อารยธรรมโบราณบางครั้งก็เป็นผู้ฝังกลบเอง เวโซโลวสกียกตัวอย่างว่า
“ในยุคต้นศตวรรษที่ 4 เมื่อคอนสแตนติน (Constantine) ต้องการสร้างโบสถ์เซนต์ปีเตอร์หลังเก่า (Old St Peter's) ข้างเขาวาติกัน (Vatican Hill) ตอนนั้นวิศวกรจำเป็นต้องตัดเนินเขาบางส่วนออกไป โดยนำส่วนที่ตัดออกไปนั้นทิ้งลงในสุสานโรมัน (วิธีนี้ยังช่วยรักษาส่วนล่างของสุสานเอาไว้ รวมทั้งสิ่งที่ระบุกันว่าเป็นหลุมศพของนักบุญปีเตอร์เอง) เพื่อสร้างฐานของโบสถ์
เมื่อโบสถ์เซนต์ปีเตอร์หลังเก่าถูกทุบทิ้งในศตวรรษที่ 16 เพื่อ สร้างโบสถ์หลังปัจจุบัน ชิ้นส่วนโบสถ์หลังเก่าก็นำมาถมพื้นที่ต่ำ”
แรพตัวอย่างกองหินในยุโรปกลาง ตะวันออกกลาง และปากีสถาน เขาบอกว่า
“กองหินเหล่านี้มักสูงหลายเมตรอารยธรรมแต่ละแห่งสร้างขึ้นบนเศษซากของอารยธรรมรุ่นก่อนนั้น บ้านเรือนส่วนมากสร้างขึ้นจากอิฐโคลนซึ่งน่าจะมีอายุใช้งานสัก 60 ปี เมื่อบ้านเรือนเหล่านี้พังทลายลงเศษดินก็ร่วงกระจายไปบนพื้นดินรอบๆหลังจากนั้น 2,000 หรือ 3,000 ปีต่อมา กองดินของที่อยู่อาศัยเหล่านี้ก็สะสมพูนสูงขึ้นมากจนปัจจุบันนี้สูงกว่าที่ราบบริเวณรอบๆกองดินแต่ละชั้นได้ทับถมซากโบราณวัตถุของยุคที่มีการอยู่อาศัย”
เราไม่จำเป็นต้องลงมือฝังกลบร่องรอยประวัติศาสตร์เพื่อเอาไว้บอกชนรุ่นหลังให้รู้ ว่ายุคของเรานั้นเป็นอย่างไรหรอกเพราะทุกๆ วันธรรมชาติได้ลงมือช่วยเราฝังกลบทุกสิ่งทุกอย่างที่เกลื่อนกลาดอยู่ตั้งแต่เปลือกห่อช็อกโกเลตไปจนถึงกระป๋องเบียร์ที่เราดื่มกินกัน
ข้อมูล ทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ
“ไขปริศนาน่าฉงน “ รีดเดอร์ส ไดเจสท์, 2552
ISBN 978-974-7784-59-6
โฆษณา