27 ธ.ค. 2021 เวลา 12:14 • ธุรกิจ
กรรมการบริษัท คืออะไร ? แบบเข้าใจง่าย ๆ
5
วันนี้ มีการรายงานว่าท็อป จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ซีอีโอ Bitkub ถูกแต่งตั้งให้เป็นกรรมการ กรรมการอิสระ และกรรมการยุทธศาสตร์ของบริษัท สยามราชธานี จำกัด (มหาชน) หรือ SO
2
โดยภายหลังจากการประกาศ หุ้นของบริษัท SO ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง +14% ทันที
1
หลายคนอาจยังสงสัยอยู่ว่า กรรมการบริษัทคืออะไร
แล้วมันแตกต่างจาก ประธานบริษัท หรือ CEO อย่างไร
ลงทุนแมนจะเล่า หน้าที่และความรับผิดชอบแต่ละตำแหน่ง แบบเข้าใจง่าย ๆ ให้ฟัง
ถ้าพร้อมแล้วเริ่มกันเลย
5
เรามาเริ่มกันจากการทำความเข้าใจตัวละคร
ที่เกี่ยวข้องกับ “การเป็นเจ้าของ” และ “การบริหารบริษัท” กัน
4
ยกตัวอย่างถ้าเราเปิดบริษัท ที่เป็นร้านขายกล่องสุ่ม ด้วยตัวเราคนเดียว
เราก็คงจะเป็นทั้ง ผู้ถือหุ้น, กรรมการบริษัท, ผู้บริหารบริษัท หรือนั่งทุกตำแหน่งในคนเดียว
3
แต่จริง ๆ แล้ว ในบริษัทที่มีขนาดใหญ่จะแบ่งบทบาทกันชัดเจน
โดยมี 3 ฝ่ายหลักที่เกี่ยวกับการเป็นเจ้าของ และการบริหาร นั่นก็คือ
1. ผู้ถือหุ้น
2. กรรมการบริษัท
3. ผู้บริหาร
4
1. ผู้ถือหุ้น
มาเริ่มจาก ผู้ถือหุ้น ความหมายตรงตัวก็คือ ผู้ที่มีความเป็นเจ้าของบริษัท โดยจะมีส่วนแบ่งกำไรหรือขาดทุนตามสัดส่วนการถือหุ้นนั้น เช่น ถ้าเราถือหุ้นอยู่ 70% ถ้าบริษัทกำไร 1 ล้านบาท เราก็จะมีสัดส่วนในกำไรนั้น 7 แสนบาท เมื่อบริษัทจ่ายเงินปันผลออกมา ผู้ถือหุ้นก็จะได้รับตามสัดส่วนหุ้นที่ถืออยู่
2
2. กรรมการบริษัท
ต่อมาคือ กรรมการบริษัท ซึ่งเราน่าจะเคยได้ยินคำว่า “คณะกรรมการบริษัท” เพราะปกติแล้วในหนึ่งบริษัทจะมีกรรมการหลายคนเป็นหมู่คณะนั่นเอง
2
คณะกรรมการของบริษัท เปรียบเสมือนเป็น “ตัวแทนของผู้ถือหุ้น” ที่ผู้ถือหุ้นโหวตกันในที่ประชุมว่าจะเป็นบุคคลที่มาควบคุมบริษัทเพื่อทำผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นให้ได้มากที่สุด
13
ซึ่งก็หมายความว่า ผู้ถือหุ้นที่สามารถกุมอำนาจโหวตในมือได้ เช่น เกิน 50% ขึ้นไป ก็จะมีสิทธิ์แต่งตั้งกรรมการบริษัทที่เป็นคนของตัวเองเข้าไปควบคุมบริษัท เพื่อทำในสิ่งที่ต้องการได้ และเรื่องนี้ก็เป็นที่มาว่า ทำไมการถือหุ้น 51% มันสำคัญกว่าการถือหุ้น 49% มาก
9
โดยปกติแล้ว กรรมการบริษัทจะมีบทบาทในการกำหนดทิศทาง กลยุทธ์ โครงสร้างองค์กร และติดตามการดำเนินงานของฝ่ายจัดการ เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นมากที่สุด
2
ซึ่งจะมีกรรมการบริษัทอีกประเภทหนึ่ง ก็คือ กรรมการอิสระ โดยจะเป็นกรรมการที่ถือหุ้นในบริษัทน้อยกว่า 1% และเป็นอิสระจากผู้ถือหุ้นที่มีอำนาจควบคุม เพื่อการถ่วงดุลอำนาจภายในคณะกรรมการบริษัท โดยตามเกณฑ์ของ ก.ล.ต. ต้องมีกรรมการอิสระอย่างน้อย 1 ใน 3 และไม่น้อยกว่า 3 คน
10
และล่าสุด ท็อป จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ได้รับการแต่งตั้งก็จะทำหน้าที่เป็นกรรมการอิสระ ซึ่งหมายความว่าคุณท็อป ไม่ได้ถือหุ้นบริษัทนี้เกิน 1% นั่นเอง
3
แต่เราก็จะเห็นว่าหลายครั้งผู้ถือหุ้นบริษัท จะแต่งตั้งตัวเองเข้าไปเป็นกรรมการบริษัทเพื่อกำหนดทิศทางบริษัทโดยตรงได้เช่นกัน
3
แต่ก็มีบางกรณีที่ผู้ถือหุ้นบริษัท จะไม่ได้เข้ามาเป็นกรรมการบริษัทเอง เพราะผู้ถือหุ้นนั้นมีอายุมากแล้ว หรือถือหุ้นหลายบริษัทจนเรียกว่ายุ่งเกินกว่าจะเข้ามาเป็นกรรมการบริษัทเอง
2
3. ผู้บริหาร
ผู้บริหารก็คือ ผู้ที่มีอำนาจในการบริหารบริษัทและควบคุมพนักงานในบริษัทโดยตรง
3
ซึ่งก็มีตั้งแต่ CEO ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ที่เป็นผู้บริหารสูงสุดขององค์กร
นอกจากนั้นหลายบริษัท ก็ยังมีตำแหน่ง “C” ที่แตกแขนงออกไปอีก เช่น
CFO หรือประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน
CTO หรือประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี
หรือ COO หรือประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ
ซึ่งในระดับผู้บริหารสูงสุดในด้านต่าง ๆ จะเรียกกันว่า C-LEVEL
12
โดยผู้บริหารที่ยกตัวอย่างมาทั้งหมดนี้ ก็จะมีการรายงานผลการดำเนินงาน รายไตรมาส หรือรายปีต่อ คณะกรรมการบริษัท อีกทีนั่นเอง
4
ดังนั้นก็ไม่น่าแปลกใจที่บางกรณี ผู้ถือหุ้น หรือกรรมการบริษัท จะไม่เคยพบ หรือพูดคุยกับพนักงานในบริษัทนั้นเลยก็ได้ เพราะคนที่พูดคุยโดยตรงคือผู้บริหารของบริษัท
5
แต่ก็จะมีหลายครั้งที่ ผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท จะเป็นทั้งกรรมการบริษัท และเป็นผู้บริหารไปด้วย เพื่อกำหนดทิศทางของบริษัทด้วยตนเอง ซึ่งจะเกิดขึ้นกับบุคคลที่ยังมีอายุไม่มาก และยังมีแรงบริหารด้วยตนเองอยู่ เช่น
3
มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก เป็น CEO ของ Meta
อีลอน มัสก์ เป็น CEO ของ Tesla
2
ทั้ง 2 คนนี้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท เป็นกรรมการของบริษัท และเป็นผู้บริหารของบริษัทด้วย
แต่ถ้าอายุมากแล้วอย่าง บิลล์ เกตส์ ที่เคยเป็น CEO แต่ปัจจุบันลดตำแหน่งเป็นเพียงที่ปรึกษา
ซึ่ง CEO คนปัจจุบันของบริษัทก็คือ สัตยา นาเดลลา
3
Alphabet เจ้าของ Google ก่อตั้งโดยแลร์รี เพจ และเซอร์เกย์ บริน ก็ถอยไปนั่งเป็นกรรมการบริษัท และได้แต่งตั้งให้ ซุนดาร์ พิชัย เป็น CEO
1
นอกจากนั้นเมื่อมีการซื้อกิจการเกิดขึ้น
เราก็จะเห็นการที่ผู้ซื้อ จะแต่งตั้งตัวเองเข้าไปเป็นกรรมการบริษัทเพื่อกำหนดทิศทางบริษัทได้
สำหรับตัวอย่างในประเทศไทย ก็เช่น บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)
หรือ GULF ที่ได้เข้าซื้อ INTUCH 31.4% กลายมาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
ก็จะมีการนำคนจากทาง GULF หลายคนเข้าไปนั่งเป็นกรรมการในบริษัท INTUCH
เช่น คุณสารัชถ์ รัตนาวะดี ผู้ก่อตั้ง GULF เองก็ได้เข้าไปเป็นรองประธานกรรมการใน INTUCH
2
และแน่นอน ถ้าดีลที่ SCB ซื้อหุ้น 51% ในบริษัท บิทคับ ออนไลน์ สำเร็จ สิ่งที่จะเกิดขึ้นเป็นเหตุการณ์แรกก็คือ SCB จะส่งคนจากทาง SCB ไปนั่งเป็นกรรมการเพื่อควบคุมบริษัท..
3
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
มีมที่ในโลกโซเชียลชอบเล่นกันว่า รปภ. เป็น “ประธานบริษัท” ที่ปลอมตัวมา รู้หรือไม่ว่า จริง ๆ แล้วตำแหน่งนี้อาจไม่ได้เป็นผู้มีอำนาจมากที่สุดในบริษัท..
3
ตำแหน่งประธานบริษัท ชื่อเต็มก็คือ ประธานกรรมการบริษัท ซึ่งถูกแต่งตั้งมาจากการโหวตของผู้ถือหุ้นอีกที ให้เป็นหัวหน้าคณะกรรมการบริษัท ซึ่งจะเป็นตัวผู้ถือหุ้นใหญ่เอง หรืออาจจะไม่ใช่ก็ได้
ดังนั้นถ้าจะให้บอกว่าใครใหญ่สุดในบริษัทจริง ๆ
ก็จะได้คำตอบว่า คนที่มีอำนาจมากสุดในบริษัท ก็คือ “ผู้ถือหุ้นใหญ่” ที่มีอำนาจควบคุมบริษัทได้ นั่นเอง..
6
โฆษณา