28 ธ.ค. 2021 เวลา 07:37 • การศึกษา
Hidden Blessings (Midlife Crisis as a spiritual awakening)
Jett Psaris, PhD (ตอน 2)
สรุปความจากหนังสือโดย ญาดา สันติสุขสกุล
1
จาก “วิกฤตของชีวิต” มาสู่การทำความเข้าใจความเว้าแหว่งภายใต้เปลือกภายนอกที่ดูเหมือนจะดูดีเพียบพร้อม หากเราได้มีโอกาสทำความเข้าใจกระบวนการทางจิตใจที่กำลังส่งข้อความถึงเราให้กลับเข้ามาย้อนมองส่วนลึกของชีวิตตน “วิกฤตวัยกลางคน” นี้ก็จะดูมีความหวังมากกว่าเป็นเพียง “ภาพแห่งการพังทลาย” มันคือบทเรียนภาคต่อจากบทเรียนรู้ครึ่งแรกของชีวิต ที่กำลังดำเนินสู่การเปลี่ยนแปลงให้ชีวิตเราสมบูรณ์ขึ้นด้วยมุมมองขยาย หลายครั้งเราเพลิดเพลินไปกับคุณค่าที่สังคมเรียกร้องให้เรามี และการได้ทำความเข้าใจช่วยวัยกลางคนถือเป็นบทบาทผู้ช่วยให้เห็นความเป็นไปได้ทั้งหมด วิกฤตวัยกลางคนจะกล่าวถึงวาระการจบลงของตัวตนต่างๆในเรา หรือบุคลิกภาพต่างๆที่เราเคยเป็นมา และยิ่งเรามองเห็นว่าวัยกลางคนคือการเกิดใหม่ของตัวตนต่างๆที่รอการเผยปรากฏตัว สเมือนเป็นการค้นพบพรแห่งชีวิตที่รอเราอยู่ ณ ที่แห่งหนึ่ง
การเกิดใหม่คงจะไม่ใช่เรื่องง่ายดาย บางทีเราแทบจะไม่มีอำนาจต่อกรใดๆ เมื่อวิกฤตชีวิตเกิดขึ้น เมื่อเราศิโรราบกับปริศนาที่กำลังทำการท้าทายเราต่อการเปลี่ยนแปลง เมื่อเรายอมจำนนต่อความไม่แน่นอน ซึ่งบางคนอาจจะมองว่าเป็นหายนะของการทำร้ายใจด้วยช้ำไป เพราะความไม่แน่นอนคือความน่ากลัวของคนยุคนี้ที่พยายามจะหลีกหนีอยู่ให้ห่างเอาไว้ หลายคนโศกเศร้าเมื่อต้องพบเจอความไม่แน่นอนในชีวิต ควบคุมไม่ได้ และโดยส่วนใหญ่การเปลี่ยนแปลงนี้มักจะมาโดยที่เราไม่ได้เต็มใจนัก คอยผลักใสเราให้ออกจากขอบเขตความปลอดภัย และความสะดวกสบายที่คุ้นชิน แถมผู้คนที่อยู่รอบข้างเราที่คอยจะหวาดหวั่นต่อความกลัวหายนะของวิกฤตชีวิตแทนเราด้วยช้ำไป
ความสับสนที่เกิดจากการถูกผลักออกนอกเส้นทางแห่งความคุ้นชินเดิม ถ้าเรายอมรับมันอย่างชื่อๆตรงๆ เราอาจจะพบเจอว่า เหมือนเรากำลังหลงทางอยู่ในป่ามืด ดันเตเคยกล่าวไว้ว่า “หากเรามีความตั้งใจจะเขย่ารากลึกของเราเอง มันควรจะรู้สึกถึงความยาก เราควรสงสัยว่าทำไมเราถึงมาที่นี่ และไม่ว่าเราจะมาถูกทางไหม เรากำลังได้รับประสบการณ์ที่น่าเบื่อและปนไปด้วยความไม่พอใจ ความกลัว แม้แต่ความสิ้นหวังในชีวิต และอาจรวมถึงความสับสนในสิ่งที่เราต้องทำเกี่ยวกับวิฤกตนี้”
ครึ่งแรกของชีวิตอาจจะมีแรงขับดันมาจากรอบทิศ โดยที่เราเองอาจจะไม่จำเป็นต้องตั้งคำถามให้มากมาย เหมือนรถยนต์คันใหม่ ที่มีน้ำมัน พร้อมออกเดินทาง แต่แล้วการเดินทางของรถยนต์คันนี้ได้มาถึงครึ่งทาง ไม่ว่าเราจะพิชิตความสำเร็จมามากน้อยในเส้นทางการมีชีวิตมามากเพียงใด เราแทบไม่เคยจินตนาการไว้ว่าชีวิตจะไปถึงตรงจุดใดได้ จนเราเริ่มรู้สึกได้ว่า สภาพของล้อรถเริ่มสึก และเริ่มตระหนักว่า การเดินทางครึ่งแรกกำลังจะจบลง ทั้งการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ อารมณ์จิตใจ และชีวิตใหม่รอเราอยู่อีกด้านหนึ่งของการเปลี่ยนแปลง ชีวิตใหม่นั้นมักจะไม่ได้วางแผนภาพอย่างสมบูรณ์ ซึ่งมันอาจแตกต่างจากที่เราเคยใช้ชีวิตมา
1
หากสาส์นที่กำลังเชื้อเชิญเราให้เดินทางต่อ จากนี้ไป คือการบอกให้เราเปลี่ยนจุดศูนย์ถ่วง จากเป้าหมายภายนอกไปสู่เป้าหมายของแก่นกลางจิตใจ ดึงเราให้เข้าหาแกนกลางที่แท้จริงและไถ่ถามเราว่า “เราคือใคร?”, “เราปรารถนาสิ่งใดกันแน่?” และในที่สุดเราแต่ละคนจำเป็นต้องหาทางของตัวเองเพื่อเดินทางผ่านช่วงกึ่งกลางชีวิตนี้ต่อไปด้วยความสร้างสรรค์ ค้นหา “พรที่ซุกซ้อนภายใน” ฉะนั้นการใช้ชีวิตจากฐานครึ่งแรกนั้น คือ บทเรียนก้าวแรกที่ลงสู่สนามชีวิต เพื่อตอบสนองให้แก่กฎกติกาทางสังคมที่เห็นพ้องร่วมกัน เช่น เราเรียนรู้ความโกรธในตนเอง ฝึกควบคุมอารมณ์ เพื่อที่เราจะไม่ไปทำร้ายคนอื่นๆ เราเรียนรู้วิธีรับมือกับการเผชิญหน้าในรูปแบบต่างๆ เพราะเราจะสามารถรับใช้สังคม และพร้อมเอื้อประโยชน์ต่อคนอื่นได้นอกเหนือจากคนในครอบครัวเรา
1
ในจุดกึ่งกลางของชีวิตนั้นจะต่างออกไป ไม่จำเป็นต้องปรับตัว เพราะจุดนี้มักจะพ้นไปจากการเป็นผู้ใหญ่ที่ต้องการปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของผู้อื่นหรือสังคม แต่ความเป็นผู้ใหญ่ในวัยกลางคนนั้นเกี่ยวกับการเดินทางเพื่อค้นพบตนเองและกลายเป็นคนที่แตกต่างไปจากคนอื่นๆ ซึ่งไม่ผูกพันกับกฎกติกาที่เป็น “พันธะทางสังคม” ณ ช่วงวัยกลางคนนี้เรามักจะมีบุคลิกภาพที่เอื้อ
1
ให้เกิดการตระหนักรู้ถึงความลี้ลับของจิตใจ ทั้งทัศนคติที่เรามองโลก ภาระผูกพัน ซึ่งมันจะทำให้เรามีโอกาสปรับตัว และตั้งคำถามต่อชีวิตของเราอย่างตรงไปตรงมามากขึ้น และช่วงวัยกลางคนไม่ได้หมายถึงการละเลยผู้คนหรือสังคมไป กลับตรงกันข้ามเลย ยิ่งเราก้าวข้ามผ่านความขัดแย้งทางจิตใจในช่วงวัยกลางคนไปได้ เรากลับจะมีความรับผิดชอบต่อสังคมที่เป็นคุณภาพที่สูงขึ้นไปด้วยซ้ำ และเป็นช่วงเวลาแห่งการเติมเต็มการมีชีวิตที่มีความหมายลึกซึ้งกว่าที่เคยเป็นมา เอื้อตนเองสู่ประโยชน์ของผู้อื่นมากกว่าที่เราปฏิบัติไปตามภาระผูกพันธ์ เมื่อเราก้าวข้ามวิกฤตได้ เราจะไม่พยายามหลีกเลี่ยงผลที่ตามมาจากการกระทำของเรา หรือพยายามหาความปลอดภัยเพื่อกันตัวเองออกจากการเผชิญความเสี่ยง ซึ่งจะแตกต่างจากที่เราเคยทำมาในครึ่งแรกของชีวิต ซึ่งความปลอดภัยนั้นก็ถือเป็นมิติทางธรรมชาติของวัยเยาว์ที่จำเป็น
ในการเติบโตช่วงครึ่งแรกของชีวิต ตัวตนของเรามักมีแนวโน้มที่ไม่ตระหนักถึงความโหดร้ายของชีวิตนัก เพราะเราต้องการพิชิตเป้าหมายต่างๆให้บรรลุตามความคาดหมาย แต่ในช่วงวัยกลางคน เป็นช่วงเวลาของการแยกอารมณ์ความรู้สึกออกจากแรงขับต่างๆที่อยู่ภายในเรา และในช่วงแรกของกระบวนการเปลี่ยนแปลงในวัยกลางคนคือ การค่อยๆ ปลดตัวเองออกจากภาระผูกพันธ์ที่เคยรัดเราไว้อย่างเหนี่ยวแน่น เป็นการแยกแยะทางความนึกคิด เพื่อทบทวนปัจจัยต่างๆ ต่อความต้องการต่างๆ เช่น เราทำความเข้าใจว่าการที่เราเคยอยู่ในครอบครัวที่ยากจนมามันคือความลำเค็ญ พอเราเริ่มทำงานก็พยายามสร้างฐานะเพื่อจะไม่ลำบากอย่างเช่นในอดีต
ญาดาอยากเล่าต่อ รอตอนต่อไป
โฆษณา