28 ธ.ค. 2021 เวลา 07:41 • การศึกษา
Hidden Blessings (Midlife Crisis as a spiritual awakening)
Jett Psaris, PhD (ตอน 3)
สรุปความจากหนังสือโดย ญาดา สันติสุขสกุล
แม้จุดเริ่มต้นในการทำความเข้าใจสาระและการต้อนรับวิกฤตวัยกลางคนนั้น ที่ผ่านมากับวิกฤต ดูซับซ้อนและลี้ลับก็ตาม แต่มีข่าวดีตรงจุดหนึ่ง คือ เมื่อตัวตนที่เรายึดว่าเป็นเรากำลังพังทลายลงในช่วงนี้อย่างกระทันหัน แต่สภาวะพังทลายนี่เองจะช่วยเราให้ตระหนักถึงความสำคัญในชีวิต และธรรมชาติที่แท้จริงของเราได้ ซึ่งหมายถึงโอกาสที่เราจะเดินเข้าไปพบพื้นที่ส่วนลึกของจิตใจนั่นเอง
ซึ่งในความเข้าใจของคนโดยส่วนใหญ่ที่มีต่อ “วิกฤตวัยกลางคน”นั้นกลับเป็นเรื่องยากต่อความเข้าใจ เป็นเรื่องร้ายมากกว่าจะเป็นมุมมองอย่างสร้างสรรค์ เราสามารถเลือกการใช้วิกฤตนี้ เพื่อเรียนรู้ทำความเข้าใจเส้นทางการพัฒนาภายในได้ แต่การมีมุมมองไปเชิงลบนั้น กลับสร้างการ เพิกเฉยละเลยที่จะใช้ชีวิตครึ่งหลังอย่างมีความหมาย
และเลือกไปพึ่งสิ่งเสพติดต่างๆ เพื่อหวังบรรเทาทุกข์ ไม่ว่าจะเป็นการเสพติดในรูปแบบต่างๆ เสพติดงาน, การเที่ยว, ช้อบปิ้ง, ติดเซ็กส์, ติดเกม, สารเสพติด รวมถึงสิ่งบันเทิงใจต่างๆ หลอกล่อเราให้หวังพึ่งการลดความถาโถมปั่นป่วนในจิตใจ ร่วมถึงระยะเวลาที่วิกฤตวัยกลางคนจะเผยตัวออกมานั้น ยังทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจผิด คิดว่าเป็นเพียงช่วงสั้นๆ แต่ส่วนใหญ่แล้วคนทั่วไป วิกฤตวัยกลางคนนั้นอาจมีระยะเวลายาวนาน ตั้งแต่ 12 ปี จนลากยาวถึงช่วงท้ายชีวิต และไม่ว่าระยะเวลาจะสั้นหรือยาว มันทำให้เรามีช่องทางแห่งการทบทวนเพื่อระบุรูปแบบชีวิตที่เหลืออยู่ของเรานั้นเอง
“ช่วงวิกฤตวัยกลางคน” สำหรับหลายคนคือ แรงพายุที่ปะทะตรงกับตัวเรา เช่น การพลัดพรากจากสิ่งสำคัญ การเกิด, การตายจาก, ความทุพพลภาพ, อุบัติเหตุ, การเจ็บป่วยที่รุนแรง หรือการปะทุของบาดแผลในวัยเด็กที่ฝังลึก ถือเป็นการบังเกิดขึ้นของสภาวะแกนกลางจิตใจ ซึ่งไม่ว่าเป็นเหตุการณ์รุนแรงขนาดไหนก็ตาม เป็นมิติประตูด่านสำคัญต่อการเปลี่ยนผ่านอยู่ดี และภาวะวิกฤตนี้ช่วยผลักเราให้ออกห่างจากตัวตนที่เราเคยยึดถือว่าเป็นเราที่เกิดจากการบ่มเพาะในช่วงครึ่งแรกของชีวิต เช่น ฉันเป็นคนขยัน ฉันเป็นคนจริงจัง ฉันเป็นคนพูดน้อย ฯลฯ
เคน วิลเบอร์ (นักคิดแนวทฤษฎีบูรณาการ) ซึ่งศึกษาเงื่อนไขแห่งการเปลี่ยนแปลง เขาอธิบายประเภทการเปลี่ยนแปลงไว้สองแบบ “การเปลี่ยนแปลงในแนวดิ่ง” เป็นการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงในระดับจิตสำนึก หากคุณลองนึกภาพอาคาร 10 ชั้น และการเปลี่ยนแปลงคือการโยกย้ายข้าวของจากชั้น 1 ไปยังชั้นที่สูงกว่า ซึ่งในทางตรงกันข้าม “การเปลี่ยนแปลงในแนวนอน” ซึ่งหมายถึงการเคลื่อนย้ายเฟอร์นิเจอร์ในชั้นเดียวกัน
1
เคน วิลเบอร์ กล่าวว่าน้อยคนนักที่อยากกระโจนสู่การเปลี่ยนแปลงในแนวดิ่ง จริงอยู่ว่าในช่วงชีวิตครึ่งแรกนั้น เรามีโอกาสได้เผชิญกับปัญหาหรือวิกฤตต่างๆ บ้างแล้ว แต่เราส่วนใหญ่มักจะเลือกตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในแบบแนวนอน ตัวตนของเราเลือกที่จะเปลี่ยนงาน เปลี่ยนอาชีพ หรือเลือกจบความสัมพันธ์กับใครสักคนแล้วหาคู่ครองคนใหม่ เลือกการย้ายถิ่นฐานฯลฯ ถึงแม้ว่าการเลือกเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ดูมีความสำคัญก็ตาม แต่มองลึกซึ้งไปกว่านั้น เราสามารถมีประสบการณ์แห่งการเปลี่ยนแปลงชีวิตในทุกช่วงอายุที่ผลักดันเราให้เข้าสู่กระบวนการของการเกิดใหม่อยู่เสมอ
การเปลี่ยนมุมมองต่อโลกหรือต่อตัวเราเองนั้น มีคุณค่าต่อการสร้างสำนึกใหม่ที่กว้างขวางขึ้น มันอาจเกิดขึ้นได้เลยหลังเกิดเหตุการณ์ต่างๆที่ได้เข้ามาปะทะเราจนถึงช่วงวัยกลางคน เพื่อจะก้าวเดินไปข้างหน้าด้วยตัวตนของเราที่ยังไม่บุบสลาย
แต่ในช่วงวัยกลางคนนั้น ตัวตนของเราไม่สามารถยึดเหนี่ยวความมั่นคงด้วยกำลังที่เคยมีได้ ที่เป็นเช่นนี้เพราะมันคือกระบวนการบังคับให้เราจำต้องเข้าสู่การเกิดใหม่ในแนวดิ่งอย่างแท้จริงนั้นเอง แต่โดยทั่วไปแล้ว เราไม่สามารถเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อจะเกิดใหม่ได้ โดยยังไม่มีประสบการณ์ตรงที่สร้างขึ้นจากตัวตนของเราก่อนในชีวิตครึ่งแรก และนี้คือ ความย้อนแย้งที่มีอยู่ในระบบธรรมชาติ เราจำเป็นต้องมีตัวตนที่แข็งแกร่งก่อนในชีวิตครึ่งแรก เพื่อจะเปลี่ยนผ่านไปสู่การสลายตัวตนที่เรายึดถือไว้
George Eliot กล่าวว่า “หลายคนอาจจะใช้ชีวิตเหมือนผีตายซาก พออายุย่างเข้า 50 ปี ชีวิตเริ่มไร้สีสัน เริ่มปล่อยให้เวลาดำเนินไปอย่างช้าๆ จนล่วงเลยเข้า 70 ปี 80 ปี อย่างไร้ความหมาย ถึงแม้ร่างกายของพวกเขายังคง กิน เดิน นั่ง นอน ได้อย่างเป็นปกติ แต่พวกเขาไม่ได้ใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ในช่วงวัยกลางคน ขาดโอกาสที่ได้ค้นพบศักยภาพและการตระหนักรู้ในตนเอง รวมถึงผู้คนเหล่านี้พยายามหลีกเลี่ยงกระบวนการแตกสลายของตัวตนในช่วงวิกฤตวัยกลางคน หรือในอีกกรณีหนึ่งคือ พวกเขาไม่สามารถก้าวข้ามวิกฤตนี้ไปได้ ซึ่งในสองแบบนี้มักพบเจอชีวิตช่วงวัยชราที่มีความทุกข์ยาก ขมขื่นใจ ไม่สามารถปกปิดความเครียดแค้นต่างๆในอดีตได้ ทำให้พวกเขากลายเป็นคนชราที่เรียกร้อง ไม่ค่อยเห็นอกเห็นใจคนรอบข้าง บ่นไม่รู้จบ ทักษะความสามารถที่เคยมีลดลงไปพร้อมกับชีวิตที่แห้งเหี่ยวลงทุกปี.... แต่ถึงที่สุดแล้วไม่เคยมีคำว่าสายไปหรอกนะ”
บนเส้นทางแห่งก้าวย่างนี้ เราพบว่าเมื่อพยายามจะหลบเลี่ยงจุดวิกฤต เรากำลังย่างเท้าลงไปด้วยความหวาดหวั่นใจ รู้สึกไม่มั่นคง เพราะภาวะความกลัวแทรกนี้เองที่อาจขัดขวางเราไม่ให้มีความปรารถนาจะเป็นสุขในชีวิต เราเลยยึดมั่นกับชีวิตเดิมของเรา แต่ในขณะเดียวกันเรามองหาหลักรับประกันว่าบนเส้นทางชีวิตใหม่นี้จะไปได้ดีขึ้น
2
ถ้าเราลองให้เวลามองย้อนกลับเข้าสังเกตุและเฝ้ามองความไม่มั่นคงที่ฝังรากอยู่ในคำสอนของสถาบันต่างๆ ที่พร่ำบอกให้เราจำต้องมีคุณค่าต่างๆ เราจึงจะถูกมองเห็นและได้รับการยอมรับ ถ้าเราทำหรือเป็นแบบนั้นแบบนี้ ฯลฯ เช่น ผู้หญิงหลายคนพยายามรักษาหุ่นและความเยาว์วัยเพื่อเอาชนะธรรมชาติแห่งการร่วงโรย ด้วยการหาวิตามิน การเสริมฮอร์โมน
เพราะสังคมยุคปัจจุบันให้คุณค่ากับคนหนุ่มสาวมากกว่าคนแก่ หรือ ผู้ชายที่ต้องการยากระตุ้นสมรรถทางเพศที่มากเกินไป ก็มาจากความเชื่อว่า ชายที่สมความเป็นชายชาตรีควรมีพลังที่แข็งแกร่ง หรือเราอาจจะกลายเป็นนักรบสายพลังพร้อมการปลุกปล้ำกับเครื่องเล่นเพาะกล้ามเนื้อให้งามโต หรือพยายามสร้างรายได้สะสมตัวเลขในบัญชีธนาคาร ซึ่งอาจนำพาเราให้ต้องเผชิญกับภาวะความเครียด การกดดันตัวเองในความพยายามต่างๆ ที่มากเกินไป และความพยายามท้าทายในช่วงวิกฤตวัยกลางคนนี้ เราจึงต้องเผชิญกับความรู้สึกที่ไม่สบายใจและรู้สึกขาดความปลอดภัยที่แท้จริง บางคนเลือกการเสพติดเสื้อผ้าอาภรณ์ที่ดูดี ติดการกิน ติดงาน ติดเซ็กส์ แอลกอฮอล์ การพนัน สื่อลามก หรือแม้แต่การออกกำลังกายที่มากเกินไป การอ่านที่มากเกินไป หรือการมีเวลาให้กับสังคมที่มากเกินไป
ประเด็นความสำคัญของช่วง “วิกฤตวัยกลางคน” นั้นคือการอนุญาติให้เราเป็นตัวของเราเอง ใช้ศักยภาพที่เคยมีมา “เปิดเผยในแบบของเรา” และปล่อยให้ความเป็นตัวเราซึ่งก็อาจนำไปสู่ความล้มเหลวได้ด้วย แม้เราจะพยายามหาวิธีรับมือกับสภาพอารมณ์หรือจัดการกับความต้องการในแบบเดิมก็ตามที มันอาจจะไม่ได้ผลอย่างที่เคยเป็นมา และนี้คือโอกาสที่เราจะได้ใช้ชีวิตที่แท้จริงสะที
เรามีตย.มากมายให้เห็น เช่น ผู้หญิงหลายคนลงทุนมอบร่างกายและเงินทองกับการถวายแด่มีดหมอศัลยกรรมเพื่อแลกกับความอ่อนวัย แต่ในเวลาเดียวกันเธอเหล่านั้นก็ต้องการใครสักคนที่จะมองเห็นตัวเธออย่างแท้จริงภายใต้เปลือกอันงดงาม หรือกับชายคนหนึ่งที่ต้องการจะเป็นสามีที่ดีให้ภรรยา และต้องการเป็นพ่อที่เพี้ยบพร้อมให้ลูกน้อย แต่แล้วเขาก็ต้องการมีพื้นที่เงียบๆ อยู่คนเดียวสักชั่วครู่หนึ่งเพื่อหายใจหายคอจากความพยายามต่างๆ
เรารู้ดีว่าความพยายามที่อยากตอบสนองทั้งสองด้านดั่งตัวอย่างด้านบนว่ามันดูจะไม่ค่อยมีความมั่นคงนักแต่มันก็เกิดขึ้นได้เสมอกับพวกเราทุกคน เพราะเราต้องการตอบรับคุณค่าในบทบาทต่างๆ ที่เราหามาแต่งเติมในชีวิต และเพราะเราก็มีความเป็นตัวเราที่แทบไม่เข้าเกณฑ์บทบาทต่างๆ เหล่านั้นเลย “ด้านหนึ่งเป็นตัวตนเรา” ส่วนอีก “ด้านหนึ่งคือสิ่งที่เราอยากจะเป็น” ซึ่งมักจะชัดเจนขึ้นในช่วงวัยกลางคนที่เราพบว่าเรากำลังถูกแรงดึงจากสองขั้ว นั้นคือ ด้านที่เรารู้จักดี กับ ด้านที่เราไม่รู้อะไรเลย และมันก็หลีกเลี่ยงได้ยากจากสิ่งที่เคยเกิดขึ้นกับสิ่งที่อาจจะเป็นไปได้ ในจุดนี้เองสิ่งที่เราทำได้ในเชิงอุดมคติคือ พยายามสร้างสมดุลให้กับเท้าข้างเดียวที่เหยียบลงบนผืนโลก
เมื่อเราเดินทางมาถึงวัยกลางคน และกำลังเจอความสับสน ความรู้สึกเหมือนถูกฉีกแยกให้ออกจากสิ่งที่เคยโยงใย เราจึงรู้สึกโดดเดี่ยว หมดพลังชีวิต รู้สึกได้เพียงว่าไร้สัมผัสการดูแลเอาใจใส่ และเราเริ่มหวาดกลัวต่อสิ่งที่เราไม่เข้าใจ รู้สึกไม่หลงเหลือพลังชีวิต ตัวตนที่เราเคยเป็นมา นิสัยด้านต่างๆ ที่เคยโดดเด่นดูเหมือนจะไม่มีอีกต่อไป เพราะว่าเราได้ใช้มันไปหมดแล้วในครึ่งแรกของชีวิต และจุดนี้เอง คือ “จุดเริ่มต้นใหม่” ที่ต้องการทิศทางใหม่ จุดกึ่งกลางชีวิตนี้เราจะได้รับสาส์นจากการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงพอ ซึ่งเราจะไม่สามารถใช้มุมมองเดิมที่เราเคยแก้ไขมาปรับแต่งสิ่งต่างๆ ในวิกฤตนี้ได้ เราต้องเริ่มต้นใหม่จากซากปรักหักพังที่กองเราอยู่ตรงพื้นดิน เพื่อลุกขึ้นยืนอีกครั้ง นี่ไม่โอกาสในการเริ่มต้นใหม่ แต่คือ “การเปลี่ยนผ่านที่ไร้เงื่อนไข”
คาร์ล จุง กล่าวไว้ว่า “เราก้าวเดินด้วยรองเท้าที่เล็กไปสำหรับเรา” ถ้าหากเราต่อต้านการเปลี่ยนผ่านนี้ด้วยการแต่งองค์ทรงเครื่อง เงินทอง หรือใช้ยาบรรเทาความกังวลต่างๆที่มีทั้งหมดในโลกนี้ ก็จะไม่ทำให้เราเศร้าโศกได้ แต่มันกลับจะฝังกลบความเป็นไปได้ที่จะใช้ชีวิตอย่างแท้จริง และมีแก่นกลางจิตใจที่ช่วยเอื้อเราค้นพบเจอเอกลักษณ์ของเราเอง
1
หากเราไม่เพิกเฉยต่อความจริงที่ว่า คนส่วนใหญ่มักมีชีวิตที่โดดเด่นก่อนวัยกลางคน แต่ในอีกมุมมองหนึ่ง ช่วงชีวิตวัยกลางคนนั้นเรามีโอกาสมากขึ้นที่จะใช้ “ชีวิตที่มีเงื่อนไขน้อยลง” เมื่อเราเข้าถึงกระบวนการวิกฤตวัยกลางคนเสร็จสมบูรณ์ เราจะสามารถเผยด้านความคิดสร้างสรรค์ที่เคยถูกซุกซ่อนไว้ด้วยเปลือกของตัวตนเดิมๆ นี้คือพรจากธรรมชาติที่เอื้อเราสู่การเปลี่ยนแปลงและเป็นการเติมเต็มโชคชะตาครั้งแรกของชีวิต
ส่วนผู้ที่ประสบความสำเร็จในช่วงวัยพัฒนาการจากวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่ และในช่วงวัยกลางคนก็ยังตระหนักได้ถึงการพัฒนาบุคลิกลักษณะต่างๆให้ดำเนินไปตลอดชีวิต สิ่งนี้ทำให้พวกเขาสามารถใช้ชีวิตบนความเป็นจริงได้ และสอดคล้องกับจิตใจส่วนลึกได้มากขึ้นเรื่อยๆ ถ้าเราสำรวจช่วงวัยกลางคนได้สำเร็จเราจะมีสติ มีชีวิตชีวา รักเป็น และปราศจากความตึงเครียดเมื่อเราปรับเปรียบทิศทางไปเป็นใครคนหนึ่งที่ต่างไปจากเดิม
ช้อค!! เมื่อเราไม่สามารถคว้าจับอะไรไว้ได้
เมื่อการเริ่มต้นของเส้นทางวัยกลางคนนั้นเปรียบเหมือนภาพ ที่เราได้มายืนที่ขอบของแม่น้ำสายใหญ่ และเริ่มเห็นว่า ยานพหนะที่พาเรามาถึงจุดนี้ไม่สามารถนำเราข้ามผืนน้ำนี้ไปได้ ตัวตนเดิมที่เราเป็นได้มาถึงจุดที่ไม่สามารถพาเราเดินทางชีวิตต่อไปได้ เราได้มาถึงจุดสิ้นสุดของการเป็นผู้ใหญ่คนแรก
เพราะตัวตนต่างๆ ที่เราเคยสร้างขึ้นมาจนเป็นตัวเรา “นี่แหละฉัน/ผม”, “ฉันเป็นคนที่ใช้เหตุผล" ฯลฯ ในช่วงชีวิตครึ่งแรกนั้นจะเน้นที่การตอบสนองความต้องการให้กับตัวเราเองและเพื่อการปรับตัวให้เข้ากับสังคมรอบข้าง นานเท่าไหรแล้วล่ะที่เรายึดว่า นี่แหละคือเรา นี่แหละคือตัวฉัน ฉันเป็นคนแบบนี้ แบบนั้น ถึงแม้เราจะได้รับคุณประโยชน์มากมายทั้งประสบการณ์ความรู้ต่างๆ ของนิสัยต่างๆในเราที่ได้เผยแสดงศักยภาพออกมา ทำให้เราเดินทางมาถึงวันนี้ได้ ทำให้เราถูกมองเห็นได้รับการยอมรับ และเป็นส่วนหนึ่งของการอยู่ร่วมกับกฎเกณฑ์ทางสังคม ซึ่งหลายคนสัมผัสผลลัพท์ที่สั่งสมมาผ่านความรู้สึกที่ว่านี้แหละเป็น “ชีวิตที่ดี”
ตอนนี้เรากำลังเข้าสู่ “วิกฤติวัยกลางคนด้วยความไม่รู้” แต่อีกส่วนหนึ่งของเรานั้นที่พร้อมออกเดินทางท่องไปในมหาสมุทรที่กว้างใหญ่ พาเราเข้าสู่ช่วงครึ่งหลังของการเป็นผู้ใหญ่อีกแบบหนึ่ง ส่วนใหญ่แล้วสิ่งที่เราเคยสั่งสมมาไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินเงินทอง การงานที่มั่นคง ชื่อเสียงและอื่นๆ นั้นล้วนแล้วเป็นสิ่งที่น่าพอใจ ซึ้งจะไม่ถูกทำลายจนแหลกสลายในคราวเดียว แต่เมื่อเวลาผ่านไปเราจะค่อยๆ มองเห็นจุดวิกฤตแต่ละด้านได้เอง
คนส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยได้เจอหายนะครั้งเดียว มันอาจจะมาในรูปแบบเป็นชุดเพ็กเกจ ในเรื่องเล็กเรื่องน้อย และวัตถุประสงค์ของวิกฤตเหล่านี้เพื่อมาช่วยขยายมุมมองและการรับรู้ของเราให้กว้างขึ้นและครอบคลุมมากขึ้น แต่ในช่วงแรกที่เราเจอวิกฤตเหล่านี้ มักทำให้เราถ้อยหลังเพื่อตั้งหลักเสมอ เพราะไม่มีใครสนุกนักหรอกกับการต้องเผชิญกับความเจ็บปวด ความสับสน ความทุกข์ที่แสนจะทนทาน ที่เหมือนมาล้วงพลังชีวิตของเราไป และมันก็ขึ้นอยู่กับมุมมองที่เราพอจะเห็นโจทย์ในอนาคตได้ชัดเจนระดับหนึ่ง และมองเห็นว่าโจทย์คราวนี้คลอบคลุมชีวิตตัวเราและคนรอบข้างเรา
คำถามที่ชวนถามตัวเอง
- คุณกำลังประสบปัญหาอะไรในชีวิตที่เป็นเสมือนวิกฤตบ้าง มันเป็นยังไงบ้าง และมันท้าทายคุณอย่างไร
-วิกฤตชีวิตหรือการดิ้นรนแต่ละครั้งสามารถนำคุณสู่การขยายการรับรู้ได้มากขึ้นไหม หรือเป็นอุปสรรค์ต่อชีวิตมากกว่า ?
คุณสามารถจินตนาการถึงการเพิ่มศักยภาพ และมีความเข้าใจซึ่งเป็นมุมมองเปิดกว้างต่อประสบการณ์ที่ท้าทายข้างต้น แต่คุณไม่ต้องเป็นกังวลนะ หากคุณยังไม่สามารถรับรู้ถึงความรู้ที่ซุกซ่อนอยู่นี้อย่างชัดแจ้ง เพียงแค่อยากชวนคุณลองขยายกรอบการมองเข้าไปที่ตัววิกฤตซึ่งคุณอาจจะค้นพบเบาะแสที่อยู่นอกเหนือขอบเขตที่คุณกำลังใส่ใจอยู่
เมื่อเรายังเป็นเด็กทารกที่ยังไม่สามารถดูแลตนเองได้ ยังไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ด้วยตนเอง ความต้องการๆ พึ่งพิง ต้องการความปลอดภัยเป็นสิ่งจำเป็น เรายังอลม่านกับความสับสนในภาวะอารมณ์ต่างๆ รวมถึงความกลัวที่อยู่ภายในเด็กเล็กที่เราเคยเป็น นับวันยิ่งเราโตขึ้นอารมณ์ความรู้สึกก็ยิ่งซับซ้อนมากขึ้นในเหตุการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความผิดหวัง, ความอิจฉา หรือความรู้สึกละอายใจ
และหน้าที่ของการสร้างตัวตนหรือบุคลิกภาพต่างๆในช่วงวัยพัฒนาการนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ช่วยให้เราอยู่รอด อยู่ร่วม มาจนถึงวัยผู้ใหญ่ เราจึงมีแนวโน้มที่จะยึดถือว่า ที่ผ่านมานั้นคือเราเป็นแบบนั้น แบบนี้ ซึ่งหากเรามองย้อนกลับไป ในช่วงวัยเด็กเรามีกระบวนการ “เล่น” หรือการสวมบทบาท (Role) ต่างๆ เป็นการซักซ้อมอย่างไม่รู้ตัวนัก เช่น เป็นบทลูกสาวที่น่ารักให้กับพ่อ หรือไม่ก็เป็นลูกชายที่สวมบทฮีโร่ให้แม่ชื่นชม เป็นบทตัวตลกสร้างเสียงหัวเราะให้กับเพื่อนฝูง หรือพอเริ่มเป็นหนุ่มเราสวมบทคนห่วงใยแก่คนรักคนแรกของเรา และถึงแม้เราจะเคยเป็นเด็กที่มีความดื้อดึง เป็นบทบาทของกบฎตัวน้อย นั้นเพราะเราถูกกระตุ้นให้มีปฎิกิริยาต่อระบบครอบครัวแรกของเรา
หาใช่เป็นแรงขับของตัวตนที่แท้จริงภายในแต่บท (Role) ต่างๆ ที่เราเคยเล่นมาในช่วงเป็นเด็ก ซึ่งบทบาทเหล่านั้นอาจย้อนกลับมาให้เราทำซ้ำๆ ต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งมันจำเป็นต่อการระบุว่าเราเคยเป็นใครมาก่อน เพราะในที่สุดเราจะไม่เห็นว่าเราเป็นใครถ้าไม่มีบทบาทเหล่านั้น
เราน้อมรับบทบาท (Role) ต่างๆ เพราะเราต้องการได้รับการตอบสนองจากคนรอบข้าง และเราเชื่อว่าจำเป็นต้องมีบทบาทเหล่านั้นเพื่อทำให้ได้มาซึ่งสิ่งที่เราต้องการ ในฐานะเด็ก เขาต่างต้องการได้รับการมองเห็นและหลีกเลี่ยงการถูกเพิกเฉย ซึ่งความเป็นจริงก็คือ ทุกสิ่งที่เด็กต้องการคือ “ความรัก” แต่เมื่อเราเติบโตขึ้น เราพยายามล้มเลิกการเรียกร้องความรัก และเริ่มหา “ตัวแทนแห่งความรัก”แทน เช่น การถูกยอมรับ, เป็นคนที่ถูกรัก, การมีชื่อเสียง, ต้องการความเคารพ, ดูเป็นคนที่มีพลัง, ต้องการคำชื่นชมฯลฯ ทั้งหมดนี้เพื่อทำให้เรารู้สึกปลอดภัย ได้รับการมองเห็น และถูกเห็นว่าเป็นคนที่มีคุณค่า หากความสามารถในการเล่นบทบาทหนึ่งใด ลดประสิทธิภาพลง เมื่อนั้นอัตตาของเราก็เริ่มพังทลายลงนั้นเอง
เราได้อาศัยตัวตนของเราเพื่อจัดการสิ่งต่างๆให้ราบรื่น แต่เมื่อกลไกการทำงานเหล่านั้นพังลง หรือลดประสิทธิภาพลง เมื่อมีใครทำให้เราผิดหวัง ในประสบการณ์หนแรกนั้นเราจึงตกตะลึง!! ยิ่งอัตลักษณ์ตัวตนของเรามีความยึดติดสูง เรายิ่งเกิดความรู้สึกตกใจมากยิ่งขึ้น แต่ถึงแม้ช่วงวัยกลางคนจะเป็นการเริ่มต้นของวิกฤต แต่มองลึกลงไปเราจะรับรู้ได้ว่ามันคือ
การท้าทายตัวตนต่างๆที่เรายึดไว้ว่าเป็นเรา เช่น การที่เรามีความมั่นคงทางสังคม มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อครอบครัวที่เราสร้างขึ้นหรือกับการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเพื่อนฝูง ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกปลอดภัย แต่เมื่อเข้าสู่วัยกลางคน วิกฤตชีวิตอาจจะมาในรูปแบบของการหย่าร้าง ทำให้ครอบครัวแตกแยกออกจากกัน มันคือการท้าทายตัวตนที่เธอคิดว่าเธอเป็น จะเป็นอย่างไรต่อจากนี้ เธอจะคือใคร? ถ้าเธอไม่ได้ทำหน้าที่ของแม่ได้อย่างเดิมเมื่อเธอจำต้องแยกออกจากลูก หรือเธอไม่ได้ทำบทบาทพ่อที่สมบูรณ์ดั่งที่เคยเป็น หรือเมื่อเธอไม่ได้รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเพื่อนฝูงแล้ว เธอจะกลายเป็นใครต่อล่ะ? หรืออีกตย. จากหญิงสาวพราวเสน่ห์ดูโดดเด่นต่อหน้าชายที่พบเจอ แต่กลับต้องมาเผชิญวิกฤตด้วยโรคมะเร็งเต้านม
หลายคนเมื่อเจอวิกฤตจะมีปฎิกิริยาตอบโต้ด้วยการหาคำตอบ และยังคงพยายามหาทางออกจากปัญหาด้วยวิธีการเดิม เติมความรู้ในสิ่งที่เราพร่อง ไปหาที่ปรึกษาเพื่อให้ได้คำตอบต่อความสงสัย เพื่อที่เราจะกลับคืนสู่ความปลอดภัยอีกครั้ง เรามักอึดอัดเมื่อต้องอยู่ในความไม่รู้นานๆ แต่แล้วมันอาจไม่ได้ช่วยให้เกิดการกู้คืนอะไรเลย เพราะสาระสำคัญของการพังทลายนั้นมาเพื่อจะให้เราตระหนักถึงการเปิดทางใหม่ หาใช่แก้ไขหรือซ่อมแซม สิ่งที่เราจะได้พบเจอ คือแต่ละจุดของความสูญเสีย ความยากต่ออุปสรรค์ แต่เมื่อเวลาผ่านไปเมื่อเราย้อนกลับมามอง เราจะพบคำตอบถึงคุณประโยชน์ของวิกฤตว่ามาเพื่อตอบสนองเป้าหมายที่มีคุณค่ากว่าเดิม เสมือนเป็นพลังงานของการทำให้เราหยุดชะงัก หรือไม่ก็เข้ามาช่วยชะลอให้เราช้าลง เพราะเรามีโอกาสที่จะเพลิดเพลินไปกับเสียงของสังคมที่คอยป้อนเป้าหมายที่ไม่ได้ตอบโจทย์ความต้องการภายในด้านลึกของเรา
แต่เมื่อเราสามารถข้ามผ่านจุดที่มืดหม่นไปได้ จุดนั้นจะนำพาเราไปสู่ที่การเป็นแรงบันดาลใจให้ตนเอง ซึ่งช่วยเราให้เกิดความมั่นคงในการดำเนินชีวิตช่วงที่เหลือ เพียงแค่เราให้คุณค่ากับจุดวิกฤตนี้เป็นดั่งเข้มทิศนำทางเราให้ผ่านช่วงเวลาที่ทุกข์ยาก และหลอมรวมกับการเติมเต็มชีวิตให้ชีวิตที่เหลือเป็นความอุดมสมบรูณ์ของวัยผู้ใหญ่เต็มตัวเป็น “กระบวนการรอการเกิดใหม่นั้นเอง”
ญาดา รออ่านต่อ แล้วจะกลับมาเขียนต่อคะ
โฆษณา