29 ธ.ค. 2021 เวลา 10:00 • สุขภาพ
อยากเปลี่ยนนิสัยใหม่ อยากมีชีวิตที่ดีขึ้น ลองอ่านบทความนี้
📌เปลี่ยนกิจกรรม ปรับนิสัยดี ปีใหม่ 2022
--
บทความโดย ผศ.ดร.ก.บ.ศุภลักษณ์ เข็มทอง
อาจารย์ประจำสาขาวิชากิจกรรมบำบัด
คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล
--
คุณกำลังขอพรอันใดในวันปีใหม่ คุณเคยขอพรแบบนักกิจกรรมบำบัดกันไหม เราขอแนะนำวิธีการขอพรที่เรียกว่า "โปรแกรมรักษาคนดี" หรือ "Virtue Maintenance Program, VMP" โดยปรับเปลี่ยนกิจกรรมการดำเนินชีวิต คิดปรับปรุงนิสัยแย่ ๆ ในปีเก่า
เพราะจากการสำรวจสุขภาพสู้โควิดของคนไทยวัยรุ่น วัยทำงาน และสูงวัย พบความเหนื่อยล้าจากนิสัยแย่ ๆ รวม 706 จาก 731 ราย (ตั้งแต่วันที่ 8-15 พฤษภาคม 2564) และตั้งเป้าหมายในปีใหม่ให้เป็นคนมีนิสัยดี มีสมองคิดบวก จิตใจเข้มแข็ง และร่างกายแข็งแรง แบ่งเป็น 3 กลุ่มได้แก่:-
📌กลุ่มแรก: ประเมินนิสัยตัวเองว่า “บ้างานจนร่างกายเหนื่อยล้าหรือไม่” มีปัญหานอนไม่หลับ 29% และเครียดจนปวดหัว 9.7% เพราะกลัวทำงานไม่สมบูรณ์แบบ ทำงานหวังผลการประเมิน ทำงานง่าย ๆ หลายอย่างในเวลาพร้อมกันไม่ได้ นอนหลับน้อยกว่า 6 ชั่วโมง รวม 3 วันต่อ 1 สัปดาห์ ชอบตัดสินคนอื่นจนโมโห ไม่รับฟังข้อเท็จจริงให้ลึกซึ้ง พูดไม่อ่อนโยน ใช้คำพูดตรง คิดลบ จนไม่น่าฟัง ไม่ใส่ใจ
กิจกรรมบำบัดกลุ่มแรก ได้แก่ การอ่านหนังสือเล่มโปรด การตั้งวงรับฟังปัญหาทุกข์สุขของเพื่อนร่วมงาน การอบรมเรียนรู้สิ่งใหม่ในสถานที่ที่ไม่เป็นที่ทำงานประจำ การวาดรูปสีน้ำ/สีโปสเตอร์เป็นหมู่คณะ การทำงานประดิษฐ์แบบ DIY การทำความสะอาดบ้าน จัดระเบียบสิ่งของในห้องนอน การเล่นกีฬา/เกมส์แข่งขันเป็นทีม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับต้นแบบการใช้ชีวิตสมดุลระหว่างการทำงานและการออมเงิน อย่างน้อย 2 วันต่อ 1 สัปดาห์
📌กลุ่มสอง: ประเมินนิสัยตัวเองว่า “บ้าเรียนจนสมองเหนื่อยล้าหรือไม่” มีปัญหาหงุดหงิดง่าย 26.5% และความจำสั้น 18.7%
เพราะใช้เหตุผลทุกเรื่อง มั่นใจว่าคิดถูก ภูมิใจที่ตนเองฉลาด นั่งติดคอมพิวเตอร์/มือถือ รวม 3-16 ชั่วโมงต่อวันกระหายความรู้ใหม่ ชอบบ่นว่าไม่มีเวลาประยุกต์ความรู้ในชีวิตจริง รู้สึกหงุดหงิดง่ายถ้าผลการเรียนไม่เป็นไปตามที่ตนคาดหวัง ไม่ชอบการบ้านที่ท้าทายให้คิดแก้ปัญหา ชอบตรวจสอบเปรียบเทียบประวัติการศึกษาตำแหน่งงานในคู่สนทนา
กิจกรรมบำบัดกลุ่มสอง ได้แก่ การยืน/เดินทำสมาธิด้วยการเปล่งเสียงสวดมนต์ การยืนเขียนคัดลายมือ “คติชีวิตคิดบวก” บนกระดานที่ลบได้ การเต้นรำให้ได้เหงื่ออย่างน้อย 15 นาทีต่อวัน การสูดอากาศดีขณะเดินเล่นถ่ายรูปภาพธรรมชาติ การดูหนังตลกให้หัวเราะดัง ๆ การร้องเพลงคาราโอเกะโดยไม่ดูเนื้อ อย่างน้อย 2 วันต่อ 1 สัปดาห์
1
📌กลุ่มสาม: ประเมินนิสัยตัวเองว่า “เบื่องานการเรียนจนจิตใจเหนื่อยล้าหรือไม่” มีปัญหาคิดช้าลง 9.1% และวิตกกังวล/ซึมเศร้า 7%
เพราะชอบพูด “ทำไม่ได้” ผลัดวันปะกันพรุ่ง มีเรื่องเยอะยุ่งตลอด คิดยึดติดมาตรฐานมากเกินไป ไม่ยอมรับจุดอ่อนของตนเอง รู้สึกเสียใจถ้ามีคนมาตำหนิพฤติกรรมของตนเอง
กิจกรรมบำบัดกลุ่มสาม ได้แก่ การจ่ายตลาดเพื่อทำอาหารโปรดกับคนไว้ใจ/คนที่เค้ารัก การทำจิตอาสาสมัคร/ช่วยเหลือคนการทำบุญตักบาตรให้อาหารปลา การว่ายน้ำทะเล การเดินสลับวิ่งเล่นในสวนสาธารณะ การฝึกโยคะกลางแจ้ง การรับผิดชอบงานบ้านอย่างง่าย อย่างน้อย 3 วันต่อ 1 สัปดาห์
#กิจกรรมบำบัด
#MahidolChannel
โฆษณา