Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
โรงงานน้ำตาลแห่งประเทศไทย
•
ติดตาม
30 ธ.ค. 2021 เวลา 12:49 • ธุรกิจ
ช่วงตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2564 ถึง 2 มกราคม 2565 โรงงานน้ำตาลเกือบทุกแห่ง จะหยุดการหีบอ้อย เพื่อบำรุงรักษาและปรับปรุงเครื่องจักร มีประเด็นและกรณีศึกษา อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการได้รักษาชีวิตและทรัพย์สินของ โรงงานน้ำตาลและเพื่อนร่วมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล
1)การใช้ลวดเชื่อมไฟฟ้าหรือการเชื่อมด้วยแก๊ซ ที่มีสะเก็ดไฟกระเด็น ต้องป้องกันไม่ให้เกิดไฟไหม้สายพานยาง ฝุ่นกากอ้อยและฝุ่นน้ำตาลในที่อับอากาศ อาจเกิดระเบิด น้ำมันหรือสารเคมีที่ติดไฟง่าย ต้องเตรียมน้ำใส่ถัง สายฉีดน้ำให้พร้อมในขณะปฏิบัติงาน
2)การทำงานในที่อับอากาศหรืออากาศถ่ายเทไม่สะดวก เช่น งานล้างหม้อต้ม งานล้างถังขนาดใหญ่ งานล้างหม้อกรอง เป็นต้น ต้องมีพัดลมอัดอากาศให้ถ่ายเท เปิดช่องระบายอากาศหมุนเวียน ห้ามพนักงานทำงานคนเดียว
3)การฉีดล้างด้วยเครื่องอัดน้ำแรงดันสูง ห้ามไม่ให้พนักงานที่ไม่เคยอบรมการใช้เครื่องทำงาน ห้ามฉีดใส่ในจุดที่มีคนอยู่ ต้องตรวจอุปกรณ์ป้องกันอันตราย PPE เช่น แว่นตา เป็นต้น สวมใส่ให้ครบถ้วนจึงจะทำงานได้
4)การ Start up หม้อต้มชุดท้าย ต้องตรวจสอบระดับสูญญากาศ เพื่อไม่ให้มีความรุนแรงมาก เพราะจะทำให้หม้อต้มยุบ หรือต้องมั่นใจว่าเซ็นเซอร์วัดระดับน้ำเชื่อมทำงานถูกต้อง เมื่อระดับสูญญากาศผิดปรกติระบบต้องตัดการทำงานทันที
5)ในช่วงที่หยุดเดินหม้อไอน้ำ อาจมีน้ำที่เกิดจากการกลั่นตัวตกค้างในท่อไอน้ำและท่อไอเสีย หรือตามข้องอตัว Omega หรือตัว U ต้องมั่นใจว่ามีการ Drain น้ำที่กลั่นตัวนี้ ออกอย่างถูกต้อง ลดความเสี่ยง Water Hammer
6)การหยุดใช้ Bagasses Dryer (ถ้ามีใช้งานอบกากอ้อยให้แห้ง) ต้องมั่นใจว่า ไม่มีกากอ้อยตกค้างหรือมีฝุ่นกากอ้อยที่ยังร้อนตกค้าง เพราะอาจการเกิดสะสมความร้อน เกิดลุกไหม้หลังจากหยุดใช้งานเป็นอันตรายมาก
7)ระบบ Interlock ของลูกหีบ ต้องมั่นใจว่ามีการตรวจครบทุกๆ Loop ก่อน Start up รอบใหม่ เพื่อป้องกันการสั่งข้าม หรือปลดบางระบบในช่วงที่ซ่อมลูกหีบไว้แล้วลืมใส่กลับ เพราะอาจทำให้เกิดกากอ้อยอัดแน่นเนื่องจาก Interlock ไม่ทำงานได้
8)การยกชิ้นงานขึ้นที่สูง ห้ามมีคนงานยืนอยู่ใต้สิ่งของที่ถูกยกอย่างเด็ดขาด ต้องมีการตรวจจุดยึดของลวดสลิงไม่ให้ขยับ ลวดที่พันมีครบทุกเส้น พนักงานที่ไม่ได้รับการอบรมการใช้เครน ห้ามให้ทำงานควบคุมเครน
9)พื้นที่ทำงานหากมีน้ำขัง (น้ำจากการฉีดล้างหรือน้ำจากฝนตก) ห้ามมีสายไฟฟ้าพาดผ่านบนน้ำ สายไฟฟ้าและการเสียบปลั๊กต้องแน่น ไม่มีประกายไฟที่ขั้วต่อสาย สายไฟฟ้าที่แตกเห็นลวดทองแดงเป็นภัยมืดที่มองไม่เห็น
10)หากพื้นที่มีกลิ่นเหม็นเปรี้ยวหรือกลิ่นน้ำเสีย ให้ตั้งข้อสงสัยว่าอาจเกิดก๊าซมีเทนหรือก๊าซที่เป็นอันตราน ซึ่งจะมีความไวไฟมาก ต้องรีบระบายอากาศออก และห้ามมีประกายไฟ หาสาเหตุของกลิ่นให้เจอแล้วกำจัดสาเหตุออก เพราะอาจเกิดระเบิดที่รุนแรงได้
11)ในพื้นที่มีฝุ่นกากอ้อยละเอียดหรือฝุ่นน้ำตาลในที่อับ เช่น พื้นที่ตะแกรงโยก พื้นที่หม้ออบ Conditioning Silo เป็นต้น ห้ามไม่ให้มีประกายไฟ เพราะจะเกิดการระเบิดขั้นรุนแรงจากฝุ่นกากอ้อยและฝุ่นน้ำตาลได้
12)เครื่องจักรที่มีรอบการหมุนสูง เช่น เทอร์ไบย์ พัดลมขนาดใหญ่ หม้อปั่น เป็นต้น ต้องตรวจสอบ Balance แบบ 100% และระบบตรวจจับการสั่นสะเทือนต้องทำงาน 100% หากมีเสียงผิดปรกติ ต้องหยุดทำงานทันที ป้องกันการเหวี่ยงจนปลิว
13)การรักษาเสถียรภาพหม้อไอน้ำ รักษาระดับน้ำใน Drum หากมองระดับน้ำ ค่าแรงดัน ค่าอุณหภูมิ และอื่นๆ หากอ่านผลลัพธ์ไม่ชัดเจนหรือมีค่าแปลกๆ ต้องอย่าประมาทคิดว่าเครื่อง Error ต้องแก้ไขโดยผู้เชี่ยวชาญทันที
14)กองเก็บกากอ้อย กองเก็บใบอ้อย จะมีความเสี่ยงเกิดไฟไหม้ สาเหตุเกิดจากประกายไฟจากปล่องท่อไอเสียหรือความร้อนของเครื่องยนต์รถแทร็กเตอร์ที่ใช้ดัน ต้องมีการบำรุงรักษาเป่าลมทำความสะอาด ห้ามสูบบุหรี่ในพื้น 100%
15)การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล หรือ PPE เช่น รองเท้าและหมวก Safety อุดหูในพื้นที่เสียงดัง ใช้ผ้ากันฝุ่นปิดจมูก ใส่แว่น Safety สวมถุงมือหนัง แต่งกายรัดกุม จะมีส่วนสำคัญต่อความปลอดภัยและถูกสุขลักษณะต่อตัวท่าน
16)บุคคลที่จะเข้ามาในพื้นที่ เช่น พนักงานแผนกอื่นมาช่วยงาน ผู้รับเหมาเข้ามาซ่อมงาน พนักงานที่ต้องเดินผ่านพื้นที่ทำงาน เป็นต้น ต้องมีความรู้ด้านความปลอดภัยพื้นฐานและทราบความเสี่ยง ถ้าไม่เกี่ยวข้องต้องไม่ให้เข้ามาในพื้นที่อย่างเด็ดขาด
17)การเดินทางไปกลับของพนักงาน ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน ให้ตรวจสอบระบบเบรค ไฟท้าย ไฟเลี้ยว สวมใส่หมวกกันน๊อค ถ้ามีเสื้อสะท้อนแสงก็จะยิ่งช่วยทำให้ง่ายต่อการสังเกตของผู้สัญจร ทำให้การเดินทางปลอดภัยมากขึ้น
18)หัวหน้างานต้องเป็นแบบอย่าง ก่อนที่จะเข้าทำงานและระหว่างทำงานต้องคอยสังเกตว่าลูกน้องในสังกัดมีอาการมึนเมา นอนหลับไม่เพียงพอ บ้างหรือไม่ ถ้าเจอต้องไม่ปล่อยให้เข้าทำงาน เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดอุบัติเหตุ
19)เครื่องจักรที่หมุน รวมถึงโซ่ขับเครื่องจักร ต้องใส่การ์ดครอบ ขันน๊อตต้องแน่น เมื่อมีการซ่อมแก้ไขเครื่องจักรเสร็จแล้ว ห้ามลิมใส่การ์ดกลับเข้าที่ ต้องให้พนักงานตรวจสอบความแข็งแรงและทราบอันตรายจากการถอดการ์ดออก
20)ในสถานการณ์โควิต การนำบุคคลภายนอก เช่น ผู้รับเหมา ช่างผู้ชำนาญ คนงานจากภายนอก เป็นต้น เข้ามาทำงานในพื้นที่ มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการแพร่กระจายเชื้อโควิต ต้องเข้มงวดทำตามมาตรการฉีดวัคซีน ตรวจ ATK
21)อื่นๆ (ถ้าท่านมีข้อมูลหรือมีประสพการณ์ ก็กรุณาช่วยเขียนต่อยอดเพื่อให้เกิดเป็นองค์ความรู้ให้กับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล รวมถึงอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้เกิดความตระหนักและเกิดถ่ายทอดส่งต่อรุ่นต่อรุ่น)
โรงงานน้ำตาลแห่งประเทศไทย
Date : Dec 31, 2021 Rev : 04
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย