31 ธ.ค. 2021 เวลา 03:45 • ปรัชญา
Global Series
🇹🇭นิทานสยาม​🇹🇭
🐘คนตาบอดคลำช้าง🐘
ณ​ อาณาจักรแห่งหนึ่งในทวีปตะวันออกเฉียงใต้​ ผู้ปกครองประเทศกำลังปวดเศียรเวียนเกล้ากับการทะเลาะเบาะแว้งกันของเหล่าเสนาบดี​
เสนาบดีทุกคนมีความรู้ความสามารถเป็นอย่างดี​ ไม่มีใครที่ผู้ปกครองประเทศไม่เคยสนทนาด้วย​ เพราะพวกเขาล้วนต้องผ่านการสอบเข้าโดยการตอบคำถามสุดหิน​ ทั้งยังเป็นการสอบปากเปล่า​
ในวันหนึ่งที่ฝนไม่ตก เสนาบดีมาประชุม​กันเรื่องปัญหาบ้านเมือง​ ต่างฝ่ายต่างเสนอความคิดของตนเองอย่างไม่มีใครยอมใคร​
วันนี้ผู้ปกครองประเทศเตรียมบทเรียนพิเศษไว้ให้เหล่าเสนาบดี​ ผู้ปกครอง​ประเทศ​สั่งให้เสนาบดีใช้ผ้าผูกตาตนเองทุกคน​ และเลือกเสนาบดีออกมา 6 คน​
วันนี้พวกเขาประชุมกันในลานกว้าง​ ตอนนี้ทุกคนปิดตากันหมด ผู้ปกครองประเทศบอกคำสั่ง
" พวกเจ้าทุกคนลองสัมผัสสิ่งที่อยู่ตรงหน้าเจ้า​ แล้วบอกข้าทีละคนว่าสิ่งที่จับได้​ เหมือนอะไร​"
" เหมือนสากขอรับ​"
" เหมือนใบพัดขอรับ"
" เหมือนเชือกเจ้าค่ะ​"
" เหมือนกระด้งเจ้าค่ะ"
" เหมือนตอไม้ขอรับ​"
" เหมือนท่อนซุงเจ้าค่ะ​"
ผู้ปกครองประเทศรู้สึกบันเทิงใจกับบทเรียนพิเศษนี้เสียจริง​
" ทั้ง​ 6 คน​ เปิดตาเสีย"
เสนาบดีทั้ง​ 6 แกะผ้าผูกตาก่อนจะเห็น​ 'ช้าง'
" อีก​ 6 คน​ เข้ามาแทน​ พวกที่ทำ​แล้ว​ ไปยืนดูเงียบๆตรงนั้น​ "
ผู้ปกครองประเทศ​ให้เสนาบดีทุกคนผลัดกันมาเรียนบทเรียนพิเศษนี้​ จนครบทุกคน​ ก่อนจะกล่าวว่า
" พวกเจ้ามีความสามารถ​กันทุกคน​ เพียงแต่ต้องรับฟังมุมมองจากผู้อื่น​ด้วย​ ถึงจะดีขึ้นไปอีก​ ข้าไม่ปฏิเสธความสามารถของพวกเจ้า แต่โลกนี้กว้างใหญ่​ เปรียบได้กับช้างตัวนี้​ บางที​ สิ่งที่พวกเจ้ารู้อาจจะเป็นเพียงแค่มุมมองหนึ่งที่ยังมีมุมมองอื่นอีกนับสิบนับร้อยก็ได้​ "
ตั้งแต่วันนั้นมา​ เสนาบดีก็ตั้งใจฟังคนอื่น​มากขึ้นตามลำดับ​ ผู้ปกครองประเทศไม่ปวดหัวกับเรื่องนี้อีกต่อไป
❄️✨
👉สำนวนสุภาษิตไทยที่กล่าวว่า “ตาบอดคลำช้าง” นั้นหมายถึง คนที่รู้อะไรด้านเดียวหรือนัยเดียวแล้วเข้าใจว่าสิ่งนั้นเป็นอย่างนั้น. อ้างอิงจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔
เล่ากันมาว่า​ นิทานเรื่องนี้ มีที่มาจากศาสนาเชนในชมพูทวีป​ นิทานเรื่องนี้ยังได้รับการดัดแปลงหลากหลาย แต่ยังคงเค้าโครงเรื่องและแก่นเอาไว้ดังเดิม​
โฆษณา