1 ม.ค. 2022 เวลา 08:47 • สุขภาพ
ไวรัสกลายพันธุ์ตัวแรกของปี 2565 ยืนยันการพบในฝรั่งเศส ยังไม่พบการแพร่ระบาดที่กว้างขวาง
2
หลังจากในช่วงปลายปี 2564 สถานการณ์โควิดในระดับโลกกล่าวขวัญกันถึงแต่ไวรัส Omicron
1
ซึ่งเพียงเดือนเดียว แพร่ระบาดไปกว้างขวางกว่า 100 ประเทศ แม้กระทั่งในประเทศไทย ก็พบผู้ติดเชื้อ Omicron มากกว่า 1000 ราย
3
และในขณะนี้กำลังพบการแพร่ระบาดในประเทศมากขึ้นเป็นลำดับ กำลังจะมีมากกว่าจำนวนผู้ติดเชื้อจากต่างประเทศด้วย
1
อย่างไรก็ดี เราจะพบการรายงานไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์ใหม่ ของโคโรนาลำดับที่ 7 ซึ่งก่อโรคโควิด -19 มาเป็นลำดับ นับถึงปัจจุบัน พบการ
กลายพันธุ์ไปแล้วมากกว่า1000 สายพันธุ์
2
เพียงแต่ส่วนใหญ่ มักจะไม่มีผลกระทบทางด้านระบาดวิทยา ทั้งการแพร่เชื้อ ความรุนแรง หรือการดื้อวัคซีนมากนัก
3
อย่างไรก็ตาม วันนี้ (1มค.2565) ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ B.1.640.2 ที่พบทางตอนใต้ของฝรั่งเศสตั้งแต่ปลายปี 2564 (ประมาณเดือนพฤศจิกายน) ก็ได้รับการยืนยันในรายละเอียด และรอการตีพิมพ์ในวารสารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
2
โดยเคสเริ่มต้น (Index case) เป็นชาวฝรั่งเศสซึ่งเดินทางกลับมาจากประเทศแคมเมอรูน และเมื่อตรวจ PCR ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส พบว่ามีลักษณะที่แตกต่างไปจากไวรัสเดลต้า ร่วมกับผู้ติดเชื้ออีก 7 ราย ซึ่งต่อมาพบรวมเป็น 67 ราย
1
ที่น่าสงสัยคือ แถบฝรั่งเศสตอนใต้มีไวรัสเดลต้าเป็นสายพันธุ์หลัก เมื่อตรวจพบไวรัสที่มีลักษณะที่ต่างกับเดลต้า จึงต้องเร่งตรวจว่า เป็นสายพันธุ์อะไรกันแน่
2
ซึ่งก็พบรายละเอียดว่า ไวรัสใหม่ตัวนี้ มีการเปลี่ยนแปลงในตำแหน่งหนามมากถึง 14 ตำแหน่ง ซึ่งมากกว่าเดลต้า ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงเพียง 9 ตำแหน่ง แต่ยังน้อยกว่า Omicron ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงมากถึง 32 ตำแหน่ง
2
โดยการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว คาดว่าน่าจะมีผล
กระทบ ทั้งเรื่องการแพร่ระบาด ความรุนแรงของโรค และการดื้อต่อวัคซีน
4
ตำแหน่งที่เปลี่ยนแปลงนั้น ไปซ้อนทับกับไวรัสสายพันธุ์ เบต้า แกมมาและแลมป์ด้าด้วย
1
โดยตำแหน่งที่ 501 และ 484 จะซ้ำกับ เบต้า แกมมา และโอมมิครอน
2
ตำแหน่งที่ 490 ซ้ำกับแลมป์ด้า
และตำแหน่งที่ 681 ซ้ำกับแลมป์ด้าและ
โอมมิครอน
2
ในขณะที่จากการติดตามมาตลอดสองเดือน มีความกังวลว่า สายพันธุ์ดังกล่าวที่พบในตอนใต้ของฝรั่งเศส อาจจะกลายเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่สร้างปัญหาให้กับโลกได้
3
แต่ในที่สุด สายพันธุ์โอมมิครอนก็ปรากฏขึ้น พร้อมกับมีการเปลี่ยนแปลงในตำแหน่งที่หนามมากกว่าถึง 2 เท่าตัว
2
จึงทำให้ Omicron มีความสามารถ ในการแพร่ระบาดมากกว่า จนกระทั่งกลบสายพันธุ์ B.1.640.2 ได้ อย่างน้อยก็ในช่วงนี้
1
อย่างไรก็ตาม เราคงต้องติดตามกันต่อไป เพราะถ้าไวรัสสายพันธุ์นี้ เกิดมีการเปลี่ยนแปลงกลายพันธุ์ในตำแหน่งหนามที่มากกว่าโอมมิครอนขึ้นมา
1
ก็จะมีความสามารถในการแพร่ระบาด และอาจกลายเป็นสายพันธุ์ใหม่ของปี 2565 ที่อาจเอาชนะโอมมิครอนได้ ซึ่งจะสร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าให้ผู้กับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการระบาดของโควิด-19 อีกครั้งหนึ่ง
3
Reference
โฆษณา