2 ม.ค. 2022 เวลา 01:30 • ปรัชญา
#รวม ตรรกะวิบัติที่ควรสอนตั้งแต่เด็ก (ตอนต้น)
(เรียบเรียงโดย สัมโมทิก สวิชญาน)
เวลาอธิบายปรากฏการณ์การใช้เหตุผลเพี้ยนๆ ของคนในสังคม มักจะต้องพูดถึงแนวความคิดสองอย่างคือ logical fallacy กับ cognitive bias ทั้งสองวลีนี้เหมือนจะมีความหมายคล้ายๆ กัน อย่างแรกหมายถึง ข้อผิดพลาดในตรรกะ อย่างหลังหลังหมายถึง ความบิดเบี้ยวของระบบการคิดและวิจารณญาณ
2
อันที่จริง การคิดเหล่านี้ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่จะเกิดขึ้นกับใครก็ได้ ไม่นานมานี้เอง อีลอน มัสก์ ก็ทวิตว่าเรื่องพวกนี้ควรมีสอนกันตั้งแต่เด็กๆเพื่อให้เป็นการรู้เท่าทันจิตใจของเราเอง (และของคนอื่น) มาดูกันดีกว่าว่าความลำเอียงทางความคิดและตรรกะวิบัติเหล่านี้มีอะไรบ้าง (แบบสั้นๆ)
Fundamental Attribution Error
การตัดสินคนอื่นโดยไม่ดูสถานการณ์ควบคู่ไปด้วย เช่น “สมชาย เธอมาสาย ดังนั้นเธอเป็นคนขี้เกียจ” (ซึ่งจริงๆ แล้วความขี้เกียจอาจจะไม่ใช่สาเหตุหลักของการมาสาย หรืออาจจะไม่ใช่สาเหตุเลยก็ได้)
1
Self-Serving Bias
ถ้าตนเองล้มเหลวมักจะมองว่าเพราะสถานการณ์พาไป แต่ถ้าประสบความสำเร็จมักจะมองว่าเป็นเพราะความสามารถของตนเอง (ซึ่งจริงๆ แล้วอาจจะล้มเหลวเพราะไม่เก่งพอเองด้วย หรือสำเร็จเพราะโชคช่วยก็ได้)
2
In-Group Favoritism
เป็นการลำเอียงมาทางคนที่อยู่กลุ่มเดียวกับตัวเอง มากกว่าคนที่อยู่นอกกลุ่ม คำว่าลำเอียงในที่นี้เป็นคำกว้างๆ เช่น รู้สึกว่าคนในกลุ่มเดียวกันดีกว่าคนอื่น หรือให้ประโยชน์กับคนในกลุ่มเดียวกันเป็นพิเศษ เป็นต้นตัวอย่าง สมชายกากบาทเลือกประเทืองเพราะเคยเรียนห้องเดียวกันมาก่อน (ซึ่งจริงๆ แล้วควรพิจารณาจากคุณสมบัติอื่นๆ)
Bandwagon Effect ที่มา : https://www.wuaglobal.com/
Bandwagon Effect
คือการทำอะไรบางอย่างเพียงเพราะมีคนทำกันเยอะ เช่น สมชายกากบาทเลือกประเทืองเพราะแค่เห็นคนเลือกกันเยอะ
4
Groupthink
คือการทำอะไรบางอย่างเพียงเพราะคนในกลุ่มเดียวกันก็ทำเหมือนกัน และไม่กล้าฉีกแนวเพราะเกรงว่าจะเสียความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในกลุ่ม เช่น สมชายกากบาทเลือกประเทืองเพราะคนในบ้านก็เลือกกันหมด
1
Halo Effect:
คือการคิดว่าถ้าคนหรือสิ่งๆหนึ่งมีอะไรบางอย่างดี อย่างอื่นก็ต้องดีไปด้วย เช่น สมชายเห็นว่าประเทืองแสดงภาพยนตร์ได้สมบทบาท และคิดว่าประเทืองเป็นคนอัธยาศัยดีด้วย (ซึ่งจริงๆไม่เกี่ยวกัน)
3
Moral Luck
คือการคิดว่าผลลัพธ์ที่ดีกว่า (หรือแย่กว่า) มาจากการที่คนคนนั้นมีคุณธรรมที่ดีกว่า (หรือแย่กว่า) เช่น สมชายเล่นกีฬาเก่ง ชนะอยู่เรื่อย เพราะเขาเป็นคนดีมีคุณธรรมกว่าคนอื่นๆ
2
False Consensus
คือการคิดว่ามีคนจำนวนมากมีความคิดเห็นหรือพฤติกรรมบางอย่างตรงกับตนเอง แต่จริงๆ แล้วน้อยกว่านั้น เช่น สมชายคิดว่าใครๆ ก็เห็นว่ากัญชาเป็นสิ่งเลวร้าย โดยไม่รู้ตัวว่ามีคนจำนวนไม่น้อยแล้วที่มองว่ากัญชาเป็นสิ่งธรรมดาสามัญ
4
Curse of Knowledge
คือการไม่รู้ว่าคนอื่นไม่รู้ เช่น สมชายสอนจริยธรรมโดยอิงตัวอย่างจากหนังสือดอนกิโฆเต้ โดยทึกทักไปเองว่าทุกคนเคยอ่านหมดแล้ว
Spotlight Effect ที่มา : https://www.manipalthetalk.org/miscellaneous/psychology-series-the-spotlight-effect/
Spotlight Effect
คือการคิดว่าตนเองเป็นจุดสนใจ แต่จริงๆ แล้วไม่ได้มีใครสนใจขนาดนั้น เช่น สมชายถามคำถามโง่ๆ กลางงานสัมมนาครั้งหนึ่ง แล้วก็มานั่งวิตกกังวลว่าภาพลักษณ์ตัวเองเสียหายแล้ว ทั้งที่จริงๆ ไม่มีใครมานั่งจำว่าใครถามอะไร
15
Availability Heuristic
คือการให้ความสำคัญกับสิ่งที่นึกออกก่อน เช่น สมชายเพิ่งเห็นข่าวครึกโครมเรื่องเครื่องบินตก เลยไปเชียงใหม่ทางรถยนต์แทน (ซึ่งจริงๆ แล้วไปทางเครื่องบินเสี่ยงตายน้อยกว่า)
2
Defensive Attribution
เวลาเจอเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ มักโทษฝ่ายที่ไม่เหมือนตัวเอง เช่น สมชายชอบเล่นโทรศัพท์เวลาขับรถ ประเทืองก็ชอบเหมือนกัน พอสมชายเกิดอุบัติเหตุเพราะเล่นโทรศัพท์ ประเทืองแสดงความเห็นว่าคู่กรณีของสมชายเป็นเพราะฝ่ายผิด
4
Just-World Hypothesis
คิดว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว แน่ๆ ซึ่งเอาจริงๆแล้ว การได้ดีอาจจะไม่ได้เกี่ยวกับเพราะเคยทำดีมาก่อน และการได้อะไรไม่ดี (เช่นถูกรถชนจนขาขาด) อาจจะไม่ได้เกี่ยวกับเพราะเคยทำชั่วมาก่อน
8
Naïve Realism
มีความเชื่ออย่างไร้เดียงสาว่า ตนเองมองโลกและเข้าใจโลกได้อย่างถูกต้อง ส่วนคนอื่นๆนั้นมองโลกด้วยความลำเอียง ไร้เหตุผลและขาดข้อมูล
1
Naïve Cynicism
มีความเชื่ออย่างไร้เดียงสาว่า ตนเองมองโลกอย่างถูกต้อง เป็นกลาง ส่วนคนอื่นๆมองโลกโดยยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง
4
ที่มา : Tessa Portuese บน Dribbble
Forer Effect
เข้าใจผิดว่าคำพูดกว้างๆ เป็นคำพูดจำเพาะเกี่ยวกับตัวเองจริงๆ เช่น สมชายเพิ่งโดนมีดบาด และไปอ่านเจอว่าคนราศีธนูให้ระมัดระวังการใช้ของมีคมเป็นพิเศษในช่วงนี้ แล้วก็รู้สึกว่า คำทำนายดวงแม่นมาก (ซึ่งจริงๆ แล้วใครๆ ก็ต้องระมัดระวังการใช้ของมีคมอยู่แล้ว และไม่ว่าราศีไหนก็อาจจะโดนมีดบาดช่วงเดียวกันได้ทั้งนั้น)
4
Dunning–Kruger Effect
ยิ่งรู้น้อย ยิ่งรู้สึกว่าเก่ง ส่วนถ้ายิ่งรู้เยอะ ยิ่งรู้สึกไม่มั่นใจ
(เรื่องนี้น่าจะชัดเจนจนแทบไม่ต้องยกตัวอย่าง)
6
Dunning–Kruger Effect ที่มา : Wikipedia
Anchoring
คือการมี “จุดอ้างอิง” ให้เปรียบเทียบ จนเข้ามามีอิทธิพลอย่างมากต่อการตัดสินใจ เช่น สมชายเดินไปเห็นเสื้อกล้ามสีแดงราคา 8,000 บาท จากนั้นเหลือบไปเห็นเสื้อกล้ามสีเขียวราคา 800 บาทแล้วรู้สึกว่าเสื้อสีเขียวถูกมาก (ซึ่งถ้าไม่มีอะไรให้เปรียบเทียบข้างๆ กัน อาจจะรู้สึกว่า 800 ก็แพงมากแล้ว)
4
Automation Bias
เชื่อใจระบบอัตโนมัติมากจนเกินไป จนลืมนึกไปว่าระบบอาจจะทำงานผิดก็ได้ เช่น สมชายแก้คำผิดตามที่โปรแกรม Word แนะนำทั้งหมดโดยไม่เช็กให้รอบคอบอีกครั้ง
3
Google Effect: มักไม่จำข้อมูลที่ค้นหาได้ง่ายด้วย search engine เช่น สมชายต้อง search ทุกครั้งเวลาจะพิมพ์นามสกุลของ Benedict ที่เล่นเป็น Doctor Strange
1
ที่มา : Google
โปรดติดตามตอนต่อไป
โฆษณา