2 ม.ค. 2022 เวลา 07:10 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เข้าใจ RSI อย่างละเอียดใน 5 นาที
RSI คืออะไร ?
RSI เป็นเครื่องมือชี้วัด (indicator)ทางเทคนิคประเภท Momentum ที่ใช้วัดการแกว่งตัวของราคาว่า ตอนนี้ราคา มีภาวะซื้อมากเกินไป (overbought) หรือ มีภาวะขายมากเกินไป (oversold)
ใช้อะไรคำนวณ ?
ใช้ อัตราเฉลี่ยการ “ปิดบวก” หารด้วย อัตราการ”ปิดลบ” ของราคาหุ้น ตามระยะเวลาที่กำหนด มาคำนวณ
เช่น RSI ที่ใช้ระยะเวลาย้อนหลัง 14 วัน เป็นตัวคำนวณ
ก็จะหมายถึง การเอาอัตราการปิดบวก (ราคาปิดเป็นแท่งเขียว) หารด้วย อัตราการปิดลบ (ราคาปิดเป็นแท่งสีแดง) ภายใน14 วัน แล้วคำนวณออกมาเป็น “ค่าของ RSI”
หรือเข้าใจง่าย ๆ ว่า มันคือการต่อสู้กันของ อัตราการปิดบวก และ อัตราการปิดลบ ในกรอบ 14 วันย้อนหลังนั่นเอง
แล้วค่าของ RSI คืออะไร ?
เมื่อคำนวณ อัตราการปิดบวก หารด้วย อัตราการปิดลบ ใน14 วันย้อนหลังแล้ว ก็จะได้ค่า RSI ออกมา โดยก็จะมีค่าตั้งแต่ 0 จนถึง 100
ซึ่งถ้า อัตราราคาปิดบวก (แท่งเขียว) มีมากว่าอัตราการปิดลบ (แท่งแดง )
▶️ RSI ก็จะมีค่ามากขึ้น
และยิ่งอัตราการ”ปิดบวก”มีมากว่าเท่าไหร่ RSI ก็จะมีค่ามากขึ้นเท่านั้น
มากสุดก็คือ 100
และในทางกลับกัน ถ้าอัตราปิดลบ(แท่งแดง) มีมากว่า อัตราการปิดบวก(แท่งเขียว) ▶️ RSI ก็จะมีค่าน้อยลง
และยิ่งอัตราการ”ปิดลบ”มีมากกว่าเท่าไหร่ RSI ก็จะมีค่าน้อยมากเท่านั้น ซึ่งน้อยสุดก็คือ 0
นำค่า RSI ไปใช้งานยังไง ?
การใช้งานขั้นเบสิกของค่า RSI คือเอาไว้บอกว่า “ราคาหุ้น”
➡️เข้าสู่ภาวะ overbought (ซื้อมากเกินไป)
หรือ
➡️oversold (ขายมากเกินไป) แล้วหรือยัง
RSI มีค่ามากกว่า 70 = หมายถึง ภาวะ overbought = ให้ขาย เพราะราคามีการถูกซื้อมากไปแล้ว ราคาอาจจะลง
RSI มีค่าน้อยกว่า 30 =จะหมายถึง ภาวะ oversold = ให้ซื้อ เพราะราคาถูกขายมากไปแล้ว อาจจะเด้ง
ซึ่งนั่นคือหลักการขั้น “เบสิก”ในการใช้ RSI
ตัวอย่าง overbought oversold
Cr.https://knowledge.bualuang.co.th/knowledge-base/rsi/
ข้อควรระวังในการใช้วิธีนี้
RSI คือการเอาข้องมูลราคาในอดีตมาคำนวณ ซึ่งมันไม่ได้บ่งบอกถึงอนาคต
เช่น คนที่ถือหุ้นมาเรื่อย ๆ พอRSI มีค่ามากกว่า 70 (overbought) ก็ขายทิ้งทันที
ในกรณีนี้จะมี 2 เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น คือ
1. ราคาร่วงลง (RSI จะมีค่าลดลง) = ok
2.ราคาไปต่อ (RSI ก็ยังเป็น ภาวะ overbought ต่อ) = ขายหมู
เหตุการณ์ที่ 2 บอกอะไร
บอกถึงว่า ในอนาคตราคาก็ยังสามารถปิดบวก หรือ ขึ้นต่อไปได้เรื่อย ๆ (เป็นภาวะ overbought ได้เรื่อย ๆ ) ราคาไม่จำเป็นต้องลงเสมอเมื่อ RSI มากกว่า 70
จบวิธีการใช้งาน RSI วิธีแรก
ต่อไปคือวิธีการใช้งานยอดฮิตอีกหนึ่งวิธีของ RSI
นั่นก็คือ การเล่น “Divergence “
หรือเรียกง่าย ๆ ว่า “ความไม่สัมพันธ์กันระหว่าง ราคา และ RSI”
วิธีการดูง่าย ๆ เลยคือ ดูว่ากราฟราคาขึ้น RSI ขึ้นด้วยมั้ย หรือ กราฟราคาลง RSI ลงด้วยหรือเปล่า เป็นต้น
ตัวอย่างเพื่อความเข้าใจ
Cr.Google
จากภาพจะเห็นได้ว่า กราฟราคาเป็นขาลง ที่ทำ new low new high
แต่ RSI กลับไม่ทำ new low ➡️ เกิดเป็น Divergence (หรือความไม่สัมพันธ์กันของราคา และ RSI )ขึ้น
โดย Divergence มี 2 ประเภทคือ
1. Bearish divergence = กราฟขึ้น RSI ลง
2. Bullish divergence = กราฟลง แต่ RSI ขึ้น
ซึ่งทั้ง 2 ประเภทจะนำเอาไปใช้งานเพื่อ เป็นสัญญาณเตือนว่า ราคา “อาจจะ” มีการกลับตัวในอนาคต
ในกรณีแรก Bearish Divergence จะเกิดขึ้นเมื่อ กราฟราคาเป็นขาขึ้น แต่ RSI กลับต่ำลง คือ RSI ไม่วิ่งขึ้นเหมือนกับ กราฟราคา
Cr.Google
จะเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงว่า “ในกราฟราคาขาขึ้น อัตราการปิดลบ มีมากกว่า อัตราปิดบวก “
ซึ่งในกราฟขาขึ้นที่แข็งแรงปกติ ควรจะมี อัตราการปิดบวก มากกว่า อัตราการปิดลบ
เมื่อเกิดสัญญาณดังกล่าว ก็จะเป็นสัญญาณให้เทรดเดอร์ระมัดระวังในการเทรดมากขึ้น เพราะมีความไม่ปกติเกิดขึ้นในแนวโน้มขาขึ้น
แต่ Bearish divergence ก็ยังไม่ใช่ สัญญาณขาย ที่พอเห็นแล้วก็ขายทันที เป็นแต่เพียงสัญญาณเตือนเท่านั้น
Bullish divergence ก็มีหลักใช้งานเหมือนกับ Bearish
เพียงแต่ Bullish เกิดขึ้นในกราฟขาลง ที่กราฟราคาเป็นขาลง แต่ RSI ไม่ได้ลงตาม
Cr.Google
ซึ่งบอกถึงความไม่ปกติของแนวโน้มขาลง
และ Bullish ก็ยังไม่ใช่สัญญาณซื้อ เพราะราคาก็ยังสามารถลงได้อีก แม้จะเกิด bullish divergence ก็ตาม
ทำไมเกิด bearish divergence แล้วราคายังขึ้นต่อ
หรือ เกิด bullish divergence แล้วราคายังลงต่อได้ ?
ตรงนี้ต้องไปดูการหาค่า RSI
RSI = คือ การต่อสู้ของอัตราการปิดลบ และ อัตราการปิดบวก
ซึ่งหมายถึง ใช้ข้อมูลอดีตมาคำนวณ ไม่ได้หมายถึงความเป็นอนาคต และอนาคตจะเกิดขึ้น
แบบไหนก็ได้
ดังนั้นเมื่อเกิด bearish divergence (กราฟขึ้น RSI ลง) ซึ่งเหตุผลที่เกิดเพราะมีอัตราการปิดลบ มากกว่า ปิดบวก
แต่ในอนาคตที่ไม่แน่นอน ราคาก็ยังสามารถกลับมามีอัตราการปิดบวก มากกว่า อัตราการปิดลบ ได้เหมือนเดิม
ทำให้ bearish divergence ตรงนี้ ถูกทลายลงไปโดยปริยาย นั่นเอง
แล้วต้อง Action กับ divergence ยังไง ?
เฝ้าระวังการเทรดหุ้นตัวนั้นให้มากขึ้น ในกรณีที่เทรดตัวนั้นอยู่ เพราะอาจจะเกิดการกลับตัว
และในกรณีที่ไม่ได้เทรด ก็ให้จับตาหุ้นตัวนั้นอย่างใกล้ชิด เพราะอาจจะเกิดการกลับตัว และหาจังหวะเข้าเทรดจากการกลับตัวนั้น
ขอให้สนุกกับการเทรดทุกท่านครับ
#เม่าอยากรวย
1
โฆษณา