2 ม.ค. 2022 เวลา 12:41 • สุขภาพ
Omicron OMG! เมื่อเชื้อเปลี่ยน ทฤษฏีก็เปลี่ยน
เชื้อตัวจบวิกฤต Covid อาการไม่รุนแรง ติดๆไปจะได้จบมีภูมิต้านทาน
ชีวิตจะได้ Move on มันเป็นอย่างนั้นจริงๆหรือ
ล่าสุด สถานการณ์การระบาดCovid-19 ของโลก
กลับมาระบาดอย่างหนักอีกครั้ง
หลังจากที่โลกเราต้องรับมือกับเชื้อกลายพันธุ์ตัวใหม่
ที่ชื่อว่า " Omicron "
สายพันธุ์ที่ได้รับตำแหน่ง VOC เชื้อกลายพันธุ์ที่น่าเป็นกังวลเร็วที่สุด
แซงหน้ารุ่นพี่อย่าง Delta ขาดลอย
เนื่องจากมีคุณสมบัติเพียบพร้อม ครบถ้วน ทั้ง
- แพร่ง่าย ติดไว ใกล้เคียง ระดับAirborne ถ้าอยู่ในสภาวะที่เอื้อ
- หลบหนีภูมิระดับเทพ ทำให้ Monoclonal Ab ได้ผลดลง
- ดื้อวัคซีนขั้นสุด ในระดับที่ว่าวัคซีนGen 1 ครบ 2 เข็ม
ไม่ว่าสูตรไหนก็ตาม แทบจะไม่ได้ผลเป็นที่น่าพอใจเลย
จนเป็นที่มา คำแนะนำให้ Boost เข็ม3
ให้แก่ประชากรทุกคนไม่ว่า 2 เข็มแรกจะเป็นอะไร
เร็วขึ้นจาก 6 เดือน เป็น 3 เดือนใน UK
จากคุณสมบัติข้างต้น ร่วมกับ เข้าสู่หน้าหนาว
และมีเทศกาลฉลองประจำปี ทั้งคริสต์มาสและปีใหม่
ส่งผลให้เกิดการระบาดอย่างหนักใน Us+EU
ทำให้โลกเข้าสู่การระบาดระลอก ที่ 6 อย่างเต็มตัว
ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อรวมทั่วโลก ทำสถิติ All time high
New Case 1.9 ล้านคน /วัน
เรียกว่าทุบสถิติเดิมที่ทำไว้ที่ 9 แสนคน/วัน
สมัย wave ของ alpha ที่โลกเรายังไม่มีวัคซีน ลงอย่างราบคาบ
นอกจากความสามารถของตัวเชื้อเอง
ที่แพร่เร็ว ติดไว ดื้อภูมิ+วัคซีน
สิ่งหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนให้ Omicron แพร่ระบาดอย่างรวดเร็วก็คือ
ข้อมูลเบื้องต้นจาก south africa ที่พบเชื้อสายพันธุ์ omicron
เป็นประเทศแรก ที่ระบุข้อมูลว่า
เชื้อ omicron มีลักษณะอาการแตกต่างจากสายพันธุ์อื่น
กล่าวคือ อาการไม่รุนแรง ทำให้จำนวนผู้ป่วยต้องเข้ารับรักษาในโรงพยาบาล
มีปริมาณไม่มาก ไม่สัมพันธ์กับจำนวนยอดผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว
1
ทำให้หลายๆ ประเทศ
ไม่ได้มีมาตรการที่เข้มงวดในการป้องกันการแพร่ และ ติดเชื้อ
เพราะมองว่า สู้ให้ติดเชื้อ Omicron ดีกว่า Delta ป่วยน้อยกว่าตายน้อยกว่า
ให้กระตุ้นภูมิโดยการติดเชื้อตามธรรมชาติ
ภูมิจะอยู่ทนและนานกว่าการฉีดวัคซีน จริงหรือเนี้ยยย ????
https://www.independent.co.uk/news/world/europe/french-commentators-premier-league-masks-b1976753.html
เรามาดูข้อมูลหรือหลักฐานทางการแพทย์ว่า
สมมุติฐานข้างต้น มีโอกาสเป็นจริงมากน้อยขนาดไหน
โดยใช้ข้อมูล จาก 2 Registry หลัก ใน South Africa และ UK
1
South Africa มี 2 trial หลัก จาก
วาสารทางการแพทย์ระดับโลก ทั้ง JAMA กับ Lancet
1. JAMA
Characteristics and Outcomes of Hospitalized Patients in South Africa During the COVID-19 Omicron Wave Compared With Previous Waves
เป็น Registry ของNetcare เครือ รพ.เอกชน
ขนาดใหญ่มีเตียงรวมกัน >10,00 เตียง
เปรียบเทียบลักษณะผู้ป่วยและความรุนแรง ในแต่ละ Wave
ตั้งแต่ Alpha Beta Delta และ Omicron
โดยมี จำนวนของผู้ป่วยโอไมครอนอยู่ 2351 คน
เริ่มเก็บตั้งแต่วันที่เริ่มมีการรายงานว่าพบเชื้อ สายพันธุ์ใหม่
คือตั้งแต่ 15 พย ถึง 7 ธันวาคม
1
ผลการศึกษา มีผู้ป่วยโอไมครอน อยู่ประมาณ 2351 คน
ส่วนใหญ่เป็นคนวัยหนุ่ม อายุเฉลี่ย แค่ 36 ปี
77% ไม่มีโรคประจำตัว 76.7%
ฉีดวัคซีนแล้วแค่ 24.2%
ผลออกมา
- มีอาการทางระบบหายใจแค่ 31.6%
- แต่มี Hospitalization 971 คน สูงถึง 41.3%
ใน 971คน ที่ admit
- เข้า ICUไป 180 คน (8% จาก 2351)
- ใส่ท่อ 16 คน
- ตายไป 27 คน (1.15 % จาก 2351)
ดูเหมือนจะไม่เยอะ ไม่รุนแรง
โดยเฉพาะถ้าเทียบกับ Wave ของ Delta
เพราะ ทั้ง ใส่ท่อช่วยหายใจ + Dead ลดลง 8-10 เท่า
แต่ถ้าดูในรายละเอียดจะเห็นว่า Wave Delta ก่อนหน้านี้
คนไข้ อายุเยอะกว่า ถึง 25 ปี
โรคประจำตัวเยอะกว่า เกือบเท่าหนึ่ง
อาจจะมีผลทำให้ ผลการรักษาออกมาแย่กว่า
Data ใน Registry นี้ คือ
" ตัวแทน ของกลุ่มคน Low risk +No vaccinated "
เนื่องจาก เป็น คนหนุ่ม แข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว
วัยทำงาน เป็นหัวหน้าครอบครัว
แต่ความเสี่ยงต่ำ ขนาดนี้ ยัง
* เข้าICU 8 % ตาย 1% *
ท่านผู้อ่านคิดว่ารุนแรงไหมครับ
และช่วงที่สรุปผลการศึกษา ยังไม่ใช่ช่วง Peak สุด
ทำให้ข้อมูลความรุนแรงอาจจะไม่ครบถ้วย
1
โดยถ้าไปดูข้อมูลของ South africa จาก https://www.worldometers.info/coronavirus
วันที่มีคนไข้ใหม่ เยอะสุด คือ 12 ธค. หลังจากปิดวิจัยไปแล้ว
ซึ่งหลังจากนั้น 1-2 สัปดาห์ยอดผู้เสียชีวิต ก็เพิ่มจาก 30-50 คน
เป็นวันละ 80-100 กว่าตลอด
2. Pre-Print Lancet
Clinical Severity of COVID-19 Patients Admitted to Hospitals in Gauteng, South Africa During the Omicron-Dominant Fourth Wave
Registry ที่ 2 เก็บจากเมือง Guateng ศูนย์กลางการระบาดของOmicron
โดยใช้ฐานข้อมูลภาครัฐ
เทียบระหว่าง 4 wave เหมือน trial แรก
มีคนไข้ Omicron 133,551 คน เก็บข้อมูลจนถึง 18 ธันวา
จาก 133551 Admit 6531คน
และยังคงค้างใน รพ. ณ วันที่สรุปผลการศึกษา
อีกเกือบ 40% คือ 2072 คน
นำมาสรุป outcome ได้แค่ 60.1% คือ 4672 คน
ผลการศึกษา
-อัตราการติดเชื้อ ในประชากรต่อแสนคนในภาพรวม
Omicron > Delta มากขึ้น 4 เท่า (215-->862)
แต่ป่วยหนัก และเสียชีวิต ลดลง
1
แต่เมื่อไปดูในรายละเอียด พบว่า
คนอายุน้อย <20 ปี ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน ฉีดไปแค่ 5.8%
ไม่ได้รุนแรงลดลงเท่าไร
โดยเฉพาะ ผู้ป่วยเด็ก+วัยรุ้น ติดเชื้อจนต้องAdmit มากขึ้น 60 %
โอกาสป่วยหนัก ใกล้เคียงกับ เดลต้า
แต่มีโอกาสเสียชีวิต น้อยกว่า เชื้อ Delta เพียงเล็กน้อย
แต่ในกลุ่มที่อายุ >20 ปี ที่อัตราส่วนการฉีดวัคซีนสูงขึ้นคือ 31-58.4%
พบว่า กลุ่มผู้สูงอายุ > 60 ปี ฉีดวัคซีนได้ครอบคลุมที่สุด
กลับติดเพิ่มแค่ 1.73 เท่า
และ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ Omicron รุนแรงน้อยกว่า Delta ในแทบทุกด้าน
- อัตรา admit โอกาสลดลงไป 35% (14-->5 )เมื่อเทียบกับ Delta
- ICU ลดลง 30-50%
- ป่วยหนัก ลดลง 30-50% แล้วแต่กลุ่มอายุ
1
เปรียบเทียบให้เห็นภาพง่ายๆ จากตาราง
ผู้ติดเชื้อ admit 3500 คน Delta Vs Omicron
ใช้ O2 = 48.5% VS 17.5% (ลดลง 64%)
เข้า ICU = 26.7% VS 6.3% (ลดลง 76%)
ป่วยหนัก = 67% VS 26.6 %(ลดลง 60%)
Dead = 24.3 % Vs 5 % (ลดลง 79%)
ตัวเลขดูเหมือนจะดีใช่ไหมครับ
แต่อย่าลืมว่า โอกาสติดเชื้อในภาพรวม สูงขึ้น 4 เท่า
Absolute Number = จำนวนผู้ป่วย * โอกาสที่จะเกิด Event นั้น
ดังนั้น parameter อะไร ที่ลดลง ไม่ถึง 3ใน4 (75%)
ยอดคนไข้รวมทั้ง Wave จะไม่ลด
แสดงว่า
จำนวนคนไข้จริงทั้งหมดที่จะ ใช้ O2 ,เข้า ICU,ป่วยหนัก,Dead
แทบจะไม่แตกต่างจาก Delta เลย
แถมคนไข้ทั้งหมด จะมาพร้อมกันภายใน 1 เดือน
ไม่ใช่ 3 เดือน เหมือน Delta
รวมทั้งงานวิจัยฉบับนี้ สรุป จบตั้งแต่ 18 ธค
แต่หลังจากนั้น ยอดผู้เสียชีวิตของSouth africa
ก็เพิ่มจาก 30-50 คน
เป็นวันละ 80-120 กว่าตลอด
นั้นหมายความว่า อีก 2 พัน ที่ตัดออก
อาจจะoutcome ไม่ดีเหมือนที่นำมาสรุปก่อน
โดยเฉพาะเรื่องของ อัตราเสียชีวิต
จากทั้ง 2 งานวิจัยนี้ บอกอะไรกับเรา
ใน ความเห็นของผู้เขียน คิดว่า
Wave Omicron
ถ้าเราติดโควิด โอกาสป่วยหนักและเสียชีวิตอาจจะลดลง
แต่ด้วยคนไข้จำนวนปริมาณมาก
เหมือน ยกคนไข้ทั้ง 3 เดือน มาไว้ใน 1 เดือน
ทำให้จำนวนคนไข้จริง ที่ป่วยหนัก เข้าICU และเสียชีวิต ทั้งหมด
อาจจะไม่ได้ลดลงมากอย่างที่คิด
หนำซ้ำ ด้วยปริมาณคนไข้ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
อาจจะเหมือน Tsunami ที่ถาโถมเข้าอย่างรวดเร็วและรุนแรง
เหมือนที่ WHO บอกไว้
ดังนั้น ถ้าจำนวนคนไข้ถาโถม มากเกินกำลังของระบบสาธารณสุข จะรับไหว
อาจจะปังปุริเย่ ไม่ต่างจาก เดลต้าได้
และจากข้อมูลใน South africa
South africa ทำได้ดีตรง
สามารถป้องกันไม่ให้เชื้อเข้าถึงกลุ่มเสี่ยง อายุ >60 ปี ได้
เพราะโอกาส Infect น้อยกว่า คนหนุ่มสาว ถึง 60%
หรืออาจจะเป็นเพราะงานวิจัยนี้
เป็นข้อมูลการระบาด กลุ่มแรกแรกที่สัมผัสโดยตรง
ยังไม่มีการระบาด ไปวง 2 วง 3 วง 4
ทำให้เชื้อจะยังเข้าถึง กลุ่มผู้สูงอายุ ได้น้อยลง
จึงอาจจะส่งผลให้ Outcome ออกมาดีด้วย
สรุปแล้ว เป็นการเร็วเกินไป ที่จะบอกว่า Omicron ไม่รุนแรง
ควรรอข้อมูลจาก US +UK ที่มีประชากรที่เยอะกว่า
ซึ่งน่าจะผ่าน Peak แล้ว ใน2-4 สัปดาห์
น่าจะสรุปได้ว่า Omicron รุนแรงน้อยลงจริงหรือไม่
2
และจากทั้ง 2 Trial บอกเราอีกว่าเป็
Omicron ไม่ได้รุนแรงลดลงเพราะเชื้อปรานีเรา
หรือ รุนแรงลดลง เพื่อปรับตัวอยู่กับเรา
เพราะลักษณะเด่นของโควิด คือแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ไม่มีอาการ หรืออาการน้อย
ตอนที่ป่วยหนัก ปริมาณเชื้อ มักจะเริ่มลดลงด้วยซ้ำ
เชื้อไม่จำเป็นต้องลดความรุนแรง
เพราะไม่ช่วยเพิ่มโอกาสในการอยู่รอดของเชื้อ
ความรุนแรงของโรคที่ลดลง
จึงน่าจะเป็นผลจากการฉีดวัคซีน มากกว่า ตัวเชื้อรุนแรงลดลง
โดยจะเห็นได้จาก
Trial แรก ที่เป็นตัวแทนของกลุ่ม Unvaccinated
ในคนหนุ่ม แข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว
เสี่ยงต่ำ ขนาดนี้ ยัง Mortality rate 1.15 %
Trial ที่ 2 ก็ยืนยันตรงกัน
ในกลุ่ม Unvaccinated Age<20 ปี
Hard outcome ดีกว่าเดลต้าเพียงเล็กน้อย
ดังนั้น เชื้อโรคไม่ได้ปรานีเรา ไม่ได้ปรับตัวเข้าหาเรา
แต่เราเรียนรู้ที่จะอยู่กับมันโดยการฉีดวัคซีน
เพื่อลดความรุนแรงของโรค ต่างหาก
1
และจากลักษณะการแพร่เชื้อที่รวดเร็ว ร้อนแรงเหมือนไฟลามทุ่ง ของ Omicron
กลยุทธ์ที่น่าจะเหมาะสมที่สุดในการรับมือ Omicron
คือ Migrating ยื้อเวลา ค่อยๆทยอยติด
เพราะความน่ากลัวOmicron คือ Tsunami ของคนไข้ covid
ถ้าเรา ยื้อทัพ Omicron ให้ไม่ระบาดวงกว้าง
จากTsunami จะเหลือเป็นแค่ คลื่นกระทบชายฝั่ง
ความรุนแรงและจำนวนผู้ป่วยน่าจะลดลงมากๆ
จนไม่เกินขีดจำกัดของระบบสธ.
และถ้าสามารถระดมฉีดวัคซีนในเด็ก 5-11 ปี ที่เสี่ยงต่อการติด Omicron
เนื่องจาก ยังไม่ได้เริ่มฉีดวัคซีน ก็น่าจะลดความรุนแรงลงไม่มากก็น้อย
เพราะ ใน USA พบว่า ผู้ป่วยเด็ก admit สูงขึ้น 4-5 เท่า จาก Omicron
1
https://www.reuters.com/world/us/covid-19-hospitalization-surge-among-us-children-spurs-new-omicron-concerns-2021-12-30
สรุป Omicron อาจจะเป็นเชื้อตัวจบเกมอย่างที่เราหวัง หรือไม่
คงอยู่ที่ ทางรัฐบาลจะวางกลยุทธ์ให้เหมาะสม
กับสถานการณ์และบริบทของประเทศ
มองโรคและโลกตามจริง ไม่ประมาท หรือ มองในแง่ดีเกินไป
สิ่งที่น่าจะเป็นตัวชี้ชะตา ก็คือ ความครอบคลุมของการฉีดวัคซีน
ซึ่งน่าจะเป็นตัวตัดสินว่า Omicron จะเป็น ตัวช่วย หรือ ตัวร้าย
ดังนั้นสิ่งที่ รัฐบาลควรต้องรีบสื่อสารคือถ้าใครยังไม่ได้รับวัคซีน
หรือได้รับวัคซีนไม่ครบ หรือยังไม่ได้รับการกระตุ้นเข็ม 3
ควรที่จะต้องรีบไปฉีดวัคซีนทันที
เพราะด้วยความสามารถในการแพร่ระบาดที่มากกว่า Delta ถึง 4-5 เท่า
รอบนี้ถ้าใครยังไม่ได้รับ Vaccine
คุณอาจจะรอดมาทุก Wave ตั้งแต่ Wuhan Myanmar Alpha Delta
แต่สำหรับ Omicron แล้ว ผมไม่แน่ใจ
สำหรับคนที่ได้รับวัคซีนครบแล้ว
ก็ควรใช้ชีวิตอย่างมีสติและด้วยความระมัดระวัง
เพราะถ้าท่านติดเชื้อท่านอาจจะป่วยไม่หนัก
แต่ท่านอาจจะนำเชื้อไปติดให้แก่
ลูกหลานของท่านที่บ้าน ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน
จนอาจจะทำให้ป่วยหนักหรือเสียชีวิตได้
โฆษณา