4 ม.ค. 2022 เวลา 04:16 • การศึกษา
ก่อนอื่นขอชมก่อนว่าเป็นการตั้งคำถามที่ท้าทายต่อจิตสำนึก และความเข้าถึงแก่นในบรรดาจริยธรรมคำสอนต่างๆ ที่เราได้รับการปลูกฝังมาโดยตลอด
3
เรื่องการดูแลและเคารพต่อผู้อาวุโส เป็นลักษณะเด่นทางวัฒนธรรมสังคมจีนค่ะ ซึ่งก็มีอิทธิพลมาจากหลักคิดตามปรัชญาขงจื้อ โดยที่ชีวิตท่านไต่เต้าจากการเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อย เป็นคนในชนชั้นปัญญาชน บิดาเสียชีวิตตอนท่านวัยเพียง 3 ขวบ และมารดาก็กัดฟันส่งเสริมให้ท่านได้เล่าเรียนอย่างที่สุด แม่ท่านรักพ่อท่านมาก จึงฝักใฝ่ในการอบรมบ่มนิสัยผู้บุตร จนเมื่อคนจีนอพยพมาไทยแนวคิดนี้ก็มาปลูกฝังในสังคมไทย และคนจีนเมื่อแรกอพยพ ก็พร่ำสอนลูกหลานให้รู้จักแสดงความกตัญญูไปจนถึงบรรพบุรุษจีนแผ่นดินใหญ่ ผ่านการกราบไหว้บูชาในเทศกาลตรุษฯ สารทฯ และต่อแผ่นดินไทยที่มาขออาศัยทำกินด้วย
1
หากพิจารณาที่มา ก็จะพบว่าท่านขงจื้อนั้น แม้บิดาจะเสียชีวิต แต่มารดาท่านนั้น สร้างบุตรจนยิ่งใหญ่ ดังนั้น ท่านจึงนำประสบการณ์ชีวิตที่มี "แม่" เป็นผู้สร้างท่าน มาพร่ำสอนบรรดาศิษย์ทั้งหลาย
1
คำว่า "ความกตัญญู" มันอยู่เฉยๆ สวยๆ งามๆ ของมัน และมันก็มีเรื่องราวที่มา เฉพาะตัว เฉพาะกลุ่ม เฉพาะบุคคล หากเราไม่ศึกษาให้ลึกซึ้ง ซ้ำยังหยิบเอาไปใช้ฟาดฟัน กระแนะกระแหน ประชดประชัน ก็เป็นได้แต่เพียงความคิดความอ่านของคนเขลาเบาปัญญาเท่านั้นเองค่ะ
1
สำหรับเรา เราขอกตัญญูต่อบรรพบุรุษผู้ถางทางทำมาหากินให้ลูกหลาน บิดามารดา และครูอาจารย์สืบต่อไปค่ะ เพราะเราได้ทุกอย่าง เป็นทุกอย่าง ก็เพราะพวกเขาค่ะ
1
โฆษณา