6 ม.ค. 2022 เวลา 10:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เพราะไม้ใหญ่จะยืนอยู่และเติบโตได้อย่างยั่งยืน ไม่ได้วัดกันที่ความสูงของลำต้น ปริมาณดอกผล หรือการแผ่กิ่งก้านสาขาเพียงเท่านั้น เพราะในขณะที่ลำต้นทะยานสูงใหญ่ขึ้นสู่ฟ้า โคนรากก็ต้องแผ่ขยายหยั่งลึกลงสู่ผืนดิน และยืนอยู่ได้อย่างมั่นคง
เช่นเดียวกับการเติบโตของธนาคารเกียรตินาคินภัทรที่ไม่ได้มองแค่ดอกผลของความสำเร็จในวันนี้เท่านั้น หากแต่ยังมองลึกไปถึงความสามารถและความต้องการที่แท้จริงของคู่ค้า ลูกค้า และพนักงานทุกคน ให้พร้อมก้าวสู่การเติบโตไปด้วยกันได้อย่างแท้จริง
โดยในครั้งนี้ คุณฟิลิป เชียง ชอง แทน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) หนึ่งในแม่ทัพคนสำคัญของธนาคารเกียรตินาคินภัทร ได้ให้เกียรติมาร่วมแชร์แนวคิดการบริหาร การออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการ ให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุดท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 ด้วยการใช้หลัก Customer Centric ที่ไม่ใช่แค่เข้าใจ แต่เน้นสัมผัสให้ลึก และเข้าให้ถึงใจลูกค้า
พลังแห่งการเปลี่ยนและพลิกชีวิตผู้คน... เมื่อธนาคารทำให้ดีกว่า เร็วกว่า ถูกกว่า
แม้ว่าสถานการณ์โควิดจะเป็นชนวนสำคัญที่ทำให้ธนาคารและเกือบทุกอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบจนต้องเร่งปรับตัว
แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า... ก่อนเข้าสู่ยุคโควิดก็มีอีกหนึ่งชนวนที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ไม่แพ้กันนั่นก็คือ Digital Transformation
โดยคุณฟิลิปได้เล่าถึงการเปลี่ยนแปลงอันเป็นผลมาจากโลกดิจิทัลไว้ว่า
"Digital Transformation ได้มีส่วนช่วยให้ผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งในมุมของธนาคารก็คือช่วยให้ธนาคารทำหน้าที่พื้นฐานได้ดีกว่า เร็วกว่า และถูกกว่า
ทั้งในเรื่อง
1. การรักษามูลค่าทรัพย์สินให้ลูกค้า
2. การมีระบบจ่ายเงินและโอนเงิน และ
3. การบริหารจัดการกับความเสี่ยงหรือการให้สินเชื่อกับลูกค้า
โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญหรือ Big Change เกิดขึ้นกับทั้ง 3 ส่วนดังกล่าวเยอะมาก และเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นทั้งนั้น เช่น
• NDID หรือ National Digital ID ที่มีระบบการยืนยันตัวตนง่ายขึ้น แม่นขึ้น ปลอดภัยมากขึ้น และที่สำคัญคือเป็นที่ยอมรับและมีผลบังคับใช้ได้ตามกฎหมาย ช่วยให้ชีวิตสะดวกสบาย รวดเร็ว ในขณะเดียวกันต้นทุนก็ถูกลง ทำให้ e-Saving เกิดขึ้นได้จริง ด้วยต้นทุนที่ต่ำลงก็ทำให้ลูกค้าได้รับดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์ที่มากขึ้นตามไปด้วย
• Promptpay เป็นอีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงที่ดีมากสำหรับประเทศไทยซึ่งน่าจะเป็นประเทศต้นๆ ในโลกที่ทำให้การโอนเงินและจ่ายเงินไม่มีค่าใช้จ่ายหรือฟรีค่าธรรมเนียมผ่านระบบ Promptpay
ถ้าเป็นเมื่อ 10 ปีที่แล้วที่ผมยังผ่อนรถอยู่ เมื่อถึงกำหนดก็ต้องไปเข้าคิวจ่ายค่างวดรถที่ธนาคาร หรือไม่ก็ไปจ่ายที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มอีก 25 บาท แต่เดี๋ยวนี้ไม่ต้องเข้าคิว ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
แค่ตั้งเตือนไว้ล่วงหน้า ผ่าน Mobile App แล้วกดจ่ายเมื่อถึงกำหนด ไม่ค้างชำระ ไม่ต้องเดินทาง ต้นทุนทุกอย่างเป็นศูนย์ ผลประโยชน์ทั้งหมดกลับคืนไปหาลูกค้า และลดความเสี่ยงจากการบริหารเงินสดมาเป็นการบริหารเงินดิจิทัลแทน"
Customer Centric ไม่ใช่แค่เข้าใจ แต่ต้องสัมผัสให้ลึกและเข้าให้ถึงใจลูกค้า
ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีจะนำการเปลี่ยนแปลงมาสู่โลกยุคปัจจุบันมากเพียงใดก็ตาม แต่ศูนย์กลางที่สำคัญที่สุดที่ธนาคารยังต้องให้ความสำคัญคือความต้องการของลูกค้า และนั่นทำให้ธนาคารเกียรตินาคินภัทรยึดถือหลัก Customer Centric ในการคิดค้นพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ
" Customer Centric เป็นคอนเซ็ปท์ที่มีมานานแล้ว ซึ่งจากข้อมูลจำนวนมากพบว่าลูกค้าจะมีความ Loyalty อยู่กับแบรนด์หรือองค์กรที่ใช้หลัก Customer Centric นานกว่า
ส่งผลให้แบรนด์หรือองค์กรนั้นมีมูลค่าทางธุรกิจสูงขึ้นด้วย เพราะลูกค้าไม่ได้ใช้บริการเพียงแค่ครั้งเดียว แต่อาจจะอยู่กับแบรนด์นั้นไปตลอดชีวิต เช่น ลูกค้าที่ขอสินเชื่อก็ไม่ได้ขอสินเชื่อแค่ครั้งเดียว หรือแม้กระทั่งสินเชื่อรถยนต์ก็ไม่ได้มีแค่คันเดียวในชีวิต
เปรียบเทียบง่าย ๆ คือองค์กรที่เป็น Product Centric จะเน้นขายผลิตภัณฑ์ กำไรขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์นั้นเพียงอย่างเดียว เมื่อมีผลิตภัณฑ์ใหม่ก็ต้องหาลูกค้าใหม่
แต่หลัก Customer Centric เรามองที่คุณค่าและความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก ทำอย่างไรให้ลูกค้านึกถึงเรา และกลับมาหาเราตลอดเวลา
1
ซึ่งในยุคดิจิทัล ลูกค้าจะเป็นฝ่ายเลือก ไม่ได้อยู่ที่เราเลือกลูกค้า
ดังนั้น เราจึงต้องสร้าง Value Proposition ส่งมอบคุณค่าให้ลูกค้าได้ตามที่เขาต้องการ ถ้าเราไม่เข้าใจลูกค้าจริง ไม่ได้เป็น Customer Centric ที่แท้จริง โอกาสที่ลูกค้าจะเลือกเราก็ลดน้อยลง
สำหรับการใช้ Customer Centric ของธนาคารเกียรตินาคินภัทร ยังมีเรื่องที่ต้องทำอีกเยอะมาก
เริ่มต้นจากการทำความเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนไป วิธีการที่ลูกค้าสัมผัสกับบริการของเรา วิธีใช้จ่ายของลูกค้า ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ช่องทางดิจิทัลมากขึ้น
1
ดังนั้น เพื่อให้ธนาคารเกียรตินาคินภัทรอยู่ในตลาดได้ แข่งกับคู่แข่งได้ และให้สิ่งที่ลูกค้าต้องการได้มากขึ้น เราก็ต้อง Transform ให้ได้หมดทั้งองค์กร
ผสานเทคโนโลยีกับหลัก Customer Centric และ KKP DNA เพื่อการ Transform ที่ตอบโจทย์ลูกค้า
ไม่เพียงแค่หลัก Customer Centric เท่านั้น แต่ธนาคารเกียรตินาคินภัทร ยังขับเคลื่อนธุรกิจด้วยการผสานใช้ความทันสมัยของเทคโนโลยีต่าง ๆ ร่วมกับหลักองค์กรหรือที่เรียกว่า KKP Principles เพื่อสร้างให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรที่ดีและแข็งแกร่งจนกลายเป็น KKP DNA ฝังลึกอยู่ในพนักงานทุกคน
1
สำหรับการทำ Digital Transformation ให้ตอบโจทย์ Customer Centric ก็ต้องนึกถึงความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นสิ่งที่ธนาคารทำมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน และเราก็ยังไม่หยุด แต่ทำมากขึ้นเรื่อย ๆ นั่นคือ
การลงทุนกับเทคโนโลยีเพื่อระบบที่ดีขึ้น ช่วยให้พนักงานทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ลงทุนพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อให้ลูกค้าสัมผัสกับบริการต่าง ๆ ได้ง่ายและดีขึ้น เช่น NDID, e-Contract, e-Statement รวมทั้งการสร้าง Customer Intelligence หรือกระบวนการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าที่ลึกมากพอ
เพื่อช่วยให้เราเข้าใจความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าทุกกลุ่ม ขณะเดียวกันก็ต้องดูว่าภายในองค์กรของเรามีความสามารถมากพอที่จะเสนอสิ่งที่ลูกค้าต้องการได้หรือไม่
เมื่อเราเข้าใจ Value Proposition ที่ต้องการนำเสนอแล้ว เราก็ต้องนำเอา Customer Experience เป็นตัวนำเพื่อค้นหาว่าจะใช้เทคโนโลยีตัวไหนช่วยตอบสนองลูกค้าได้ตามที่ต้องการ
ซึ่งธนาคารมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา เรียกว่าเป็น กระบวนการ Launch & Learn โดยเริ่มตั้งแต่การพัฒนาระบบหรือผลิตภัณฑ์ แล้วนำไปทดลองในวงจำกัดเพื่อเก็บข้อมูล Feed Back
และดูพฤติกรรมของผู้ใช้งานว่าเป็นอย่างไร แล้วนำข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงต่อเพื่อเก็บข้อมูลและทดลองใช้ ทำซ้ำวนไปเรื่อย ๆ ให้ทันตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า เพื่อทำให้ธนาคารก้าวสู่การ Transform ได้อย่างแท้จริง
เรื่องสุดท้ายที่ธนาคารต้องทำก็คือคน ซึ่งเป็นความโชคดีที่ธนาคารเรามีทีมผู้นำที่มีทั้งประสบการณ์ชีวิต การทำงาน การสร้างธุรกิจ และการสร้างทีมที่ดีมาก ทุกอย่างถูกส่งต่อจนกลายเป็น KKP DNA ที่ทำให้ธนาคารของเราเติบโตได้อย่างยั่งยืน
KKP DNA เริ่มมีความชัดเจนมากขึ้นตั้งแต่มีการประกาศใช้หลักองค์กรหรือ KKP Principles เมื่อ 2 ปีที่แล้ว
นั่นคือ กระหายชัยชนะ ไม่ละความเพียร เรียนรู้สามัคคี เชื่อเสรีระบบตลาด ซึ่งเป็นเรื่องที่เราพยายามปลูกฝังให้พนักงานทุกคน ไม่ใช่แค่ท่องได้ แต่ต้องเข้าใจและปฏิบัติตามได้ ถ้าทำได้จริง ผมเชื่อว่านี่คือวัฒนธรรมยุคใหม่ของชาว KKP
นอกจากนี้ ธนาคารยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน เราใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยคน ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีเข้ามาแทนคน ผมเชื่อว่างานบริการต่าง ๆ ยังมีความเป็น Emotional Service โดยเฉพาะด้านการลงทุน
ดังนั้น ทำอย่างไรจึงจะเพิ่มทักษะและความสามารถให้พนักงาน โดยเฉพาะความสามารถในการใช้อุปกรณ์ดิจิทัลเพื่อช่วยให้พนักงานตัดสินใจ คิดวิเคราะห์ ค้นหาวิธีการที่จะช่วยเหลือลูกค้า และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างแม่นยำ
ธนาคารแห่งอนาคต คือเชื่อมต่อระบบให้เข้ากับทุกความต้องการได้ดี
จากแนวทางการพัฒนาและเติบโตข้างต้นจะเห็นได้ว่า มุมมองธนาคารแห่งอนาคตสำหรับธนาคารเกียรตินาคินภัทร อาจไม่ใช่ธนาคารที่ทันสมัยที่สุด แต่ต้องเป็นธนาคารที่สามารถเชื่อมต่อระบบเข้ากับทุกความต้องการได้ลงล็อกมากที่สุด
ธนาคารของเราไม่มีการคิดผลิตภัณฑ์และบริการขึ้นมาเพื่อทดลองลูกค้า แต่เราเน้นทำความเข้าใจกับความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า
เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการไปให้ลูกค้าทดลองใช้ว่า สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ตรงจุดหรือไม่ และแม้ว่าจะมีการใช้เทคโนโลยีกับธุรกิจธนาคารมานานหลายปี
แต่ผมเชื่อว่าเราก็ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น เช่น e-Saving ในปัจจุบันก็ยังเป็น e-Saving ทั่วไป แค่ย้ายมาไว้ใน Mobile Application
เช่นเดียวกับ Loan ก็ยังเป็นเพียงแค่การนำเอาบัตรเครดิตใส่เข้าไปใน Mobile Application เช่นกัน ยังไม่มีอะไรที่เป็นนวัตกรรมทางการเงินอย่างแท้จริง
ในอนาคตผมเชื่อว่า นวัตกรรมถัดไปของธนาคาร คือการหาวิธีเชื่อมต่อสินค้าและบริการต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกันมากขึ้น เช่น การนำเงินฝากมาเชื่อมต่อกับสินเชื่อเงินกู้
เพื่อช่วยลดความเสี่ยงให้ธนาคาร เพิ่มเครดิตและช่วยลดต้นทุนให้ลูกค้า
นอกจากนี้ อาจมีการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่ใช้ข้อมูลพฤติกรรมการเชื่อมต่อกับระบบธนาคารของลูกค้ามาเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาขอสินเชื่อได้ดียิ่งขึ้น
หนึ่งในหลักองค์กรของเราก็คือเชื่อเสรีระบบตลาด การแข่งขันถือเป็นสัญญาณที่ดีที่บังคับให้เราต้องปรับปรุงและพัฒนา เพื่อสร้างวัฒนธรรมใหม่ให้สามารถแข่งกับคู่แข่งได้
เช่น การแข่งขันกับฟินเทค ผมเชื่อว่า บางฟินเทคมีโอกาสชนะเรา แต่ในขณะเดียวกัน เราก็มีโอกาสที่จะชนะบางฟินเทคได้ เพราะไม่ใช่ว่าเราไม่มีของดี เพียงแค่เราต้องพัฒนาเพื่อทำให้ลูกค้าเลือกเรามากกว่า อยู่กับเราเยอะกว่า เราก็มีโอกาสชนะได้ นี่แหละคือตลาดแห่งการแข่งขันที่แท้จริง
ข้อได้เปรียบของฟินเทคคือใช้เทคโนโลยีสูง มาพร้อมคนหรือทีมที่เลือกและเทรนมาโดยเฉพาะ แต่ผมเชื่อว่าฝั่งฟินเทคเองก็ยังต้องลองผิดลองถูกอยู่เหมือนกัน
ที่สำคัญการ Transform นี้ผมมองว่าต้องประกอบไปด้วย 3 ขา ขาแรกคือ Technology Maturity หรือขีดความสามารถด้านเทคโนโลยี เช่น Mobile Application, Data Warehouse และ Analytics Teams เป็นอย่างไร
ส่วนขาที่สองก็คือ Digital Maturity ขององค์กร หรือขีดความสามารถด้านดิจิทัลขององค์กร ซึ่งต่อให้มีเครื่องมือดิจิทัลเยอะแยะมากมาย แต่ถ้าองค์กรยังไม่พร้อม คนในองค์กรยังใช้ไม่เป็น ก็ไปต่อไม่ได้เหมือนกัน
และขาที่สามที่สำคัญมากก็คือ ลูกค้า ซึ่งฐานลูกค้าของเรากับของฟินเทคเป็นฐานลูกค้าเดียวกัน คำถามก็คือ Digital Maturity หรือขีดความสามารถด้านดิจิทัลของฐานลูกค้าเราพร้อมแล้วหรือยัง
1
ถ้าเรามีเครื่องมือใหม่ ๆ มีเทคโนโลยี AI แล้วลูกค้าจะใช้เป็นหรือไม่
ดังนั้น ต้องพัฒนาและบาลานซ์ทั้ง 3 ขาให้ดี เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ วัฒนธรรมใหม่ นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการให้ลูกค้าได้เร็วและดีที่สุด และนั่นจะช่วยให้เราเอาชนะคู่แข่งได้นั่นเอง
พร้อมเคียงข้างฝ่าทุกวิกฤต และสร้างการเติบโตในทุกโอกาส
ในขณะที่ธนาคารเกียรตินาคินภัทรกำลังเตรียมความพร้อมเพื่อสร้างการเติบโตในอนาคต... อีกหนึ่งทีมทำงานก็ยังคงเกาะติดพร้อมรับมือกับสถานการณ์โควิดที่ยังมีความไม่แน่นอนอยู่ รวมทั้งทุกวิกฤตเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้น
ในปี 2564 ที่ผ่านมา ยังคงเป็นปีที่ประเทศไทยและทั่วโลกต่างได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด ซึ่งเป็นเรื่องที่เราไม่เคยเจอกันมาก่อน
สิ่งที่ทำได้ก็คือเรียนรู้ปรับตัวไปเรื่อย ๆ ที่เห็นได้ชัดที่สุดคือเราได้เรียนรู้ว่าการล็อกดาวน์ช่วยไม่ได้เยอะ
จึงเริ่มปรับกลยุทธ์หาวิธีอยู่ร่วมกับโควิดให้ได้ ด้วยการฉีดวัคซีนให้มากที่สุด ลดจำนวนคนติดเชื้อ เพื่อไม่ให้เกินขีดความสามารถของระบบสาธารณสุขในประเทศ ซึ่งทำให้การล็อกดาวน์ลดน้อยลง
สำหรับธนาคารก็ถือว่าเป็นปีที่ค่อนข้างยาก เพราะได้รับผลกระทบจากโควิดทำให้ต้นทุนการปล่อยสินเชื่อสูงกว่าปกติ เกิดปัญหาหนี้ค้างชำระ หนี้เสีย เพราะลูกค้ามีรายได้น้อยลงหรือไม่มีเลย
ซึ่งธนาคารก็ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้สอดคล้องกับ Cash Flow ของลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ
แต่ต้นทุนการปล่อยสินเชื่อที่สูงขึ้นก็ยังอยู่ในการคาดการณ์ของธนาคาร
นอกจากนี้ พนักงานธนาคารก็ยังร่วมมือร่วมใจลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และบริหารรายจ่ายได้ค่อนข้างดี ช่วยให้ธนาคารยังสร้างการเติบโตได้ดีในปีที่ผ่านมา
ผมเชื่อว่าภายใน 1-2 ปี สถานการณ์ต่าง ๆ จะค่อย ๆ ดีขึ้น เมื่อการล็อกดาวน์น้อยลงก็จะช่วยให้ปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดจากโควิดลดลง
ปัญหาลูกค้าขาดรายได้หรือทำธุรกิจไม่ได้ก็ลดน้อยลงตามไปด้วย และไม่ได้มีแค่โควิดเท่านั้นที่ทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ
แต่ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจได้อีกเช่นกัน
ซึ่งธนาคารเกียรตินาคินภัทรก็ได้เตรียมพร้อมรับมือไว้ตลอดเวลา
เพราะไม่ว่าจะมีวิกฤตหรือไม่มีวิกฤต หน้าที่ของธนาคารก็คือดูแลลูกค้าเมื่อได้รับผลกระทบ ในขณะเดียวกัน ถ้าลูกค้าเจอโอกาส เราก็ต้องช่วยลูกค้าให้สามารถได้ประโยชน์จากโอกาสนั้นได้มากที่สุด
ติดตามบทความอื่น ๆ ได้ เพียง คลิก >>>
โฆษณา