4 ม.ค. 2022 เวลา 15:24 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ทำไมต้องลดการคุ้มครองเงินฝากเหลือ 1 ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป
ก่อนที่จะมีกฎหมายคุ้มครองเงินฝาก คือ พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ.2551
ช่วงประมาณปี พ.ศ.2540 ได้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย หรือที่เราเรียกว่า ต้มยำกุ้ง ในขณะนั้นเอง ประเทศไทยก็ไม่ได้มีกฎหมายคุ้มครองเงินฝาก แต่อาศัยอำนาจของคณะรัฐมนตรีในการประกาศให้ความคุ้มครองผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้เต็มจำนวน
ในปี พ.ศ. 2546 ระบบเศรษฐกิจและระบบสถาบันการเงินของประเทศไทยเริ่มฟื้นตัว ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้นำเสนอกระทรวงการคลังว่าตั้งแต่กลางปี พ.ศ.2547 เป็นต้นไป เป็นเวลาที่เหมาะสมในการบังคับใช้ และในที่สุดร่างพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝากได้ผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ.2550 และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 โดยมีผลใช้บังคับ 180 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งตรงกับวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2551
การที่เราฝากเงินไว้กับธนาคาร เราจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายคือ พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ.2551
สถาบันการเงินที่ได้รับความคุ้มครอง ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
เงินฝากที่ได้รับการคุ้มครอง ได้แก่ เงินฝากทุกประเภทของสถาบันการเงิน รวมถึงดอกเบี้ยค้างจ่าย
โดยได้รับความคุ้มครอง 1 ราย ต่อ 1 สถาบันการเงิน (ไม่ใช่ 1 บัญชี) จำนวน 1 ล้านบาท ตามมาตรา 53 ของพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ.2551 ส่วนการกำหนดวงเงินคุ้มครองเงินฝากที่สูงกว่า 1 ล้านบาทก็สามารถทำได้ โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา (มาตรา 54) ดังเช่น พระราชกฤษฎีกากำหนดจำนวนเงินฝากที่ได้รับการคุ้มครองเป็นการทั่วไป พ.ศ.2563 ซึ่งกำหนดไว้เป็นเงิน 5 ล้านบาท มีผลตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2563 ถึงวันที่ 10 สิงหาคม 2564
ตามกฎหมายนั้น การคุ้มครองเงินฝากจำนวน 1 ล้านบาท ไปเป็นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเงินฝากอยู่แล้ว แต่สามารถกำหนดให้สูงกว่า 1 ล้านบาทได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
ขอบคุณข้อมูลจาก สถาบันคุ้มครองเงินฝาก www.dpa.or.th
โฆษณา