4 ม.ค. 2022 เวลา 17:13 • การศึกษา
ว่าด้วยเรื่อง “ปวดเข่า” ตอนที่ 1 😩
เคสนี้ ได้รับปรึกษาจากแพทย์ท่านหนึ่ง ด้วยเรื่องสงสัย Knee OA (osteoarthritis)
หญิง อายุ 66 ปี มีอาการปวดเข่า 2 ข้าง เป็นมา 3 ปี ตอนที่มาหาคือ ลุกเดินไม่ได้ต้องนั่งรถเข็น
ถ้าดูจากอายุ และน้ำหนัก ก็คงคิดว่า เป็น primary OA นั่นแหละ แต่…
จะรู้ได้อย่างไรว่า เป็น primary OA หรือ secondary OA (มีสาเหตุอื่นทำให้เป็น) 🤣
🌟คำถามที่พอจะช่วยแยกได้ใน OPD คือ อาการปวดนั้น เป็นแบบ mechanical หรือ inflammatory process
📌mechanical process —> ยิ่งใช้ ยิ่งปวด พักแล้วดี
เจอใน primary OA ซึ่งอาจมีข้อฝืดตึงตอนเช้าได้ แต่จะไม่เกิน 30 นาที หรืออาจมีอากาฝืดข้อหลังจากพักสักระยะ ที่เรียกว่า gelling phenomenon
📌inflammatory process —>ยิ่งใช้ ยิ่งดี พักแล้วปวด กว่าจะขยับข้อได้นานนนนน เป็น ชั่วโมงเลย
นอกจากนี้
🌟การตรวจร่างกาย เป็นสิ่งที่สำคัญ ✨ที่พลาดไม่ได้เลยที่จะช่วยแยก primary OA ออกจาก secondary OA
🎯ดู คลำ ขยับ วัด
ดู —> ลักษณะการยืน bow legs/ knock knee
ดู —> การบวม การแดง การผิดรูป กล้ามเนื้อลีบ
คลำ —> ร้อน ให้เอา หลังมือสัมผัสเทียบระหว่าง medial หรือ lateral knee กับต้นขา หรือหน้าแข้ง หากอุณหภูมิเท่ากับ หรือสูงกว่า แสดงว่า ร้อน (ปกติที่เข่าจะเย็นกว่า)
คลำ —> synovial hypertrophy หรือ bony prominence คลำ—> จุดกดเจ็บรอบๆข้อ หรือ เจ็บตาม joint line
คลำ —> joint effusion
ขยับ —> joint crepitation range of motion
📚 keys ที่สำคัญอื่นๆ คือ การตรวจข้ออื่นร่วมด้วย พร้อมๆกับดูๆคลำๆตำแหน่งอื่นด้วย เช่น จุดเกาะเอ็น extensor area
✨Primary OA เด่น bony prominence joint crepitation
✨Secondary OA เด่น inflammation บวม แดง ร้อน
สรุปเคสนี่ ไม่ว่าจะซักประวัติ หรือตรวจร่างกาย ก็บ่งชี้เป็น “secondary OA”
พรุ่งนี้เรามาต่อกันนะคะว่า สาเหตุ secondary OA มีอะไรบ้าง และ ฟิล์มระหว่าง primary OA และ seconday OA ต่างกันอย่างไร แล้วเคสนี้ เป็นอะไรกันแน่ 😁
โฆษณา